ในการตรวจสอบการรักษาของคนสูงอายุ
ซึ่งจำเป็นต้องกินยาหลายขนานนั้น นับเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน
และกินเวลา และหากต้องการที่จะหยุดยา นับเป็นการยากที่จะบอกได้ว่า
ควรหยุดยาตัวใด ในบางสถานการณ์ เราอาจต้องหยุดยาตัวที่สงสัย
แล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น
มีวิธีหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อพิจารณา ว่ามียาตัวใดบ้างที่สามารถหยุดได้
โดยการแบ่งยารักษาของคนไข้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ :
กลุ่มแรก -เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์เพือทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
กลุ่มที่สอง - เป็นกลุ่มยาทำหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันโรค
การแบ่งงยาออกเป็นสองกลุ่มดังกล่าว...
อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพูดคุยระหว่างแพทย์ และคนไข้เกี่ยวกับยา
แต่ละขนานว่า ยาแต่ละตัวมีความสำคัญ และมีเป้าหมายในการใช้อย่างไร ?
ที่สำคัญ อาจมียาบางขนาน มีความสำคัญเฉพาะคนไข้คนนั้น ๆ หรือไม่ ?
ตัวอย่างการหยุดยาโดยอาศัยการแบ่งยาเป็นกลุ่ม:
กลุ่มยาที่ทำให้คนไข้รู้สึกดี และทำให้คุณภาพชีวิตในแต่ละวันดีขึ้น
เช่น ยาแก้ปวด (analgesics), ยารักษาต่อไทรอยด์ทำงานน้อย ( thyroxine)
หรือยารักษาอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( anti-anginals)
จากการหยุดยาดังกล่าว มีคนไข้บางรายมีอาการเลวลง หรือไม่สามารถ
ทำงานได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตาม มียาบางขนานสามารถหยุดยา (stopped)ได้ หรือลดขนาดลง
(stepped down) หรือใช้เมื่อจำเป็น เช่นยารักษากรดในกระเพาะอาหาร PPI
(proton pump inhibitor)
กลุ่มยาที่ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคต เช่น ยากลุ่มลดไขมันใน
กระแสเลือด (statins), ยาป้องกันการจัดตัวของเกล็ดเลือด(aspirin) และ ยา
ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด (warfarin) หรือยาป้องกันไม่ให้สูญเสียความหนา
แน่นมวลกระดูก (bisphosphonates)
ในการพิจารณาว่า จะหยุดยาเหล่านี้ดีหรือไม่ เราควรพิจารณาในประเด็น
ที่เป็นประโยชน์ และอันตรายที่พึงจะเกิดขึ้นกับคนไข้บางรายเป็นการเฉพาะ,
และระยะเวลาที่ต้องเสียไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการใช้ยา รวมถึงอายุที่
เหลือของคนไข้ ซึ่งคาดว่าจะเหลืออยูอีกเท่าใด (life expectancy)
เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า คนไข้ที่เรากำลังได้รับการรักษาอยู่นั้นจะมี
อายุยืนยาวอีกนานแค่ใหน จะใช้อายุเพียงอย่างเดียวมาตัดสินก็ไม่พอแน่
เราจำเป็นต้องนำเอาโรคที่เขากำลังเป็นมาพิจาณาด้วยว่า โรคที่เป็นรุนแรง
มากแค่ใหน ? ยังสามารถทำงานได้ดีหรือไม่ ?....
หากการวินิจฉัยได้ว่า...โรคที่คนไข้กำลังเป็นอยู่นั้น ท ำให้เขามีชีวิตไม่ยืน
ยาวแน่ การตัดสินใจหยุดยาที่ใช้ในระยะยาวก็เป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่
ตามความเป็นจริง ในการปฏิบัติจะแตกต่างกันไป เช่น การหยุดยาทุกตัว
ยกเว้นเฉพาะยาบรรเทาอาการ หรือให้ใช้ยาเดิมทุกตัวไปจนกว่าคนไข้ไม่
สามารถจะกินยาได้
<<BACK NEXT>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น