วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยสำหรับพิจารณาการหยุดยา P5 : Factors to considering whch medicine can be stopped – Clinical indication


June 26, 2014

ในคนสูงอายุผู้มีหลายโรค มีโอกาสได้พบแพทย์หลายคน และได้กินยา
หลายขนานนั้น  ปรากฏว่า มีคนไข้เป็นจำนวนหนึ่งต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง
โดยไม่เคยได้รับการตรวจสอบว่า เขาควรกินยาต่อไปหรือไม่ ?

แนวทางสำหรับผู้สูงอายุควรพิจาณา  และนำไปปฏิบัติ...
เขาควรได้รับการตรวจเช็คดูให้แน่ว่า  ยาที่กำลังกินอยู่นั้นยังมีประโยชน์
หรือไม่  ด้วยการทบทวนดูว่า  มีข้อบ่งชี้ในการใช้ย่าในตอนเริ่มต้นเป็นอย่างไร? 
บรรลุตามเป้าหมายแล้วหรือไม่ ? หรือมีอาการของคนไข้ได้เปลี่ยนแปลงไป
จากเดิม ?

ยกตัวอย่าง:

o คนไข้เลิกกินยากลุ่ม NSAIDs ไปแล้ว    จึงไม่มีความจำเป็นต้องกันยาป้องกัน
กระเพาะ (gastroprotective agent) อีกต่อไป

o คนไข้ผู้ซึ่งได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว อาจไม่จำเป็นต้อง
ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือสามารถลดขนาดของยาลงได้

o คนไข้ซึ่งประสบความสำเร็จในด้านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (lifestyle modifications) 
เช่น รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ,  ลดน้ำหนักตัว, และหยุดสูบบุหรี่....
อาจทำให้เขาไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคความดัน (antihypertensive) อีกต่อไป

o คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า โรคที่กำลังเป็นนั้นเป็นระยะสุดท้าย (terminal illness) 
เป็นเหตุให้มีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน... จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาป้องกันโรคในระยะยาวอีกต่อ
ไป  เช่น  ยาป้องกันโรคกระดุกพรุน (bisphosphonates)  หรือยาลดไขมันในเลือด 
(statins) เป็นต้น


<< BACK         NEXT >> P. 6: Factors to considering whch medicine can be stopped – 
                                            Appropriateness

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น