วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปัจจัยสำหรับพิจารณาการหยุดยา P6 : Factors to considering whch medicine can be stopped – Appropriateness

June 26, 2014

ในการให้ยาแก่คนสูงอายุ...
มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม   นั้นคือความเหมาะสมของการใช้ยา
ผลจากการศึกษา...พบว่า คนสูงอายุใช้ยาไม่เหมาะสมมีประมาณ  21 % 
โดยมียาบางตัวไม่ปลอดภัยต่อคนสูงวัย หรือเมื่อใช้แล้ว
มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (medicine interactions)

มีตัวอย่างของการใช้ยาที่อาจไม่เหมาะสมกับคนสูงอายุ เช่น:

o Amitriptyline (โดยเฉพาะการใช้ขนาดสูงเกิน 50 มิลลิกรัม)
เพราะยาดังกล่าวจะทำให้ประสาทถูกกด  เกิดอาการง่วงนอน  ทำให้เกิด
ความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย   นอกจากนั้นยังพบว่า 
ยา amitriptyline   เป็นสารที่ออกฤทธิ์ anticholinergic

o Benzodiazepines: เป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้คนไข้สูงอายุเกิดอาการง่วง
ได้มาก ๆ   ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกแตกหักได้

o Dextropropoxyphene: เป็นยาแก้ปวดชนิดหนึ่ง  ทำให้เกิดอาการสับสน 
และเกิดอาการง่วงนอนได้อย่างมาก

จากหลักฐานรายงานเอาไว้ว่า คุณค่าของยา dextropropoxyphene ไม่ได้
เหนือกว่ายา พาราเซท,มอลเลย.. ด้วยเหตุผลดังกล่าว บางประเทศจึงได้
กำจัดยาตัวนี้ออกจากท้องตลาดไป (New Zealsnd)

“มีทางเดียวที่เราไม่ต้องหยุดยา คือไม่เรื่มใช้ยาตั้งแต่แรก”

ในการสั่งยาให้แก่คนสูงอายุหลายขนาน  อาจกระทำได้ด้วยความลำบาก
โดยเฉพาะการพิจารณายาใหม่ให้แก่เขา 
 เรามีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า   ยาที่ให้นั้นเหมาะสมหรือไม่ 
 โดยพิจารณาจากคำถามดังต่อไปนี้:

 การใช้ยามีข้อชี้บ่งหรือไม่ ?
 ยาที่ใช้นั้นมีประสิทธิภาพสำหรับโรคของคนไข้จริงหรือ ?
 ยาหลายตัวที่ใช้มีโอกาสทำปฏิกิริยาต่อกันหรือไม่ ?
 มีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ซ้ำกัน โดยการได้รับยาจากแพทย์คนอื่นหรือไม่ ?
 ระยะเวลาของการใช้ยาเป็นที่ทราบกันทั้งแพทย์ และคนไข้หรือไม่ ?
 เมื่อคนไข้จะใช้ (กิน) ยา...มีผลข้างเคียงใหม ? ขนาดของยาถูกต้องหรือไม่ ?, 
    มีคำอธิบายวิธีใช้หรือไม่ ?
 ยาที่ใช้เป็นยาที่ราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบกับยาตัวอื่นๆ ซึ่งมีประ
    สิทธิภาพเท่ากัน ?

<< BACK   NEXT >> P.7: Factors to considering whch medicine can be stopped – 
                                             Duration of use

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น