April 26,2014
อาการปวดที่บริเวณเชิงกรานมีหลายประการ เป็นต้นว่า โรคใน
ระบบอยวะเพศของสตรี (gynecologic), ทางเดินกระเพาะลำไส้,
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ, ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และระบบอื่น ๆ
ต่างสามารถก่อให้เกิดอาการปวดในบริเวณเชิงกรานได้แทบทั้งน
Gynecologic causes:
โด้มีรายงานเอาว่า อาการปวดเรื้อรังในบริเวณอุ้งเชิงกรานของสตรี
ประมาณ 20 % เป็นผลเนื่องมาจาก:
o Endometriosis...เยื่อบุมดลูกมีชื่อว่า endometrium การมี
เยื่อมดลูกอยู่นอกมดลูกมีชื่อเรียกว่า endometriosis สามารถ
ทำให้เกิดมีอาการปวดในบริเวณท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกรานได้
และบางรายที่เป็น endometriosis โดยไม่อาการแต่อย่างใดฃ
o Pelvic inflammatory disease... การอักเสบในบริเวณช่องท้อง
จากใส้ติ่งอักเสบ...แตก สามารถทำให้เกิดอักเสบของอวัยวะ
และเนื้อเยื้อในบริเวรอุ้งเชิงกรานได้
มีประมาณหนึ่งในสามของคนไข้อังกล่าว มักจะลงเอยด้วยการ
เกิดอาการปวดเรื้อรังในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้
o Pelvic adhesion disease... เป็นภาวะที่อวัยวะ และเนื้อเยื่อในอุ้ง
เชิลกรานเกิดติดกัน (adhesion) โดยเป็นผลตามหลังการผ่าตัดใน
บริเวณช่องท้อง, หรือหลังการอักเสบในช่องท้อง
ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้
Other causes:
นอกเหนือจากอวัยวะในระบบสืบพันธ์ของสุภาพสตรีแล้ว ยังมีสาเหตุ
อย่างอื่น ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดในอุ้งเชิงกรานได้ เป็นต้นว่า
โรคของระบบกระเพาะ-ลำไส้, ทางเดินปัสสาวะ, รวมถึงปัญหาที่เกิด
จากกล้ามเนื้อ, และเส้นประสาทในบริเวรอุ้งเชิงกราน ที่ควรทราบได้
แก่:
o Irritable bowel syndrome- เป็นโรคของระบบกระเพาะ-ลำไส้
ซึ่งมีลักษณะอาการปวดท้อง และมีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม
ต่างๆ เช่น มีการถ่ายอุจจาระเหลว, ถ่ายบ่อยร่วมกับอาการปวด
ท้อง ซึ่งเมื่อได้ถ่ายอุจจาระเป็นทีเรียบร้อย อาการปวดท้องจะ
หายไป จัดเป็นโรคที่ไม่ทราบต้นเหตุ
o Painful bladder syndrome and interstitial cystitis-
เป็นคำที่ใชเรียกภาวะที่มีอากรปวดกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่มี
สาเหตุจากการอักเสบ โดยอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย,
มีความรู้สึกต้องการถ่ายปัสสาวะทันที
มีสุภาพสตรีบางราย มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย หรือบริเวณ
อุ้งกราน โดยมีการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ
o Diverticulitis – เป็นส่วนของลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนถุงยื่น
ออกนอกผนังลำไส้เกิดอักเสบขึ้น ทำให้เกิดมีอาการปวดท้อง;
คลื่นไส้ และอาเจียน, ท้องผูก, ท้องล่วง, และมีอาการทางระบบ
ขับถ่ายปัสสาวะ
Diverticulitis จะทำให้เกิดอาการปวดท้องอบย่างเฉียบพลัน
ไม่ใช้ปวดท้องเรื้อรัง
o Pelvic floor pain – ความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้ออุ้ง
เชิงกราน ประกอบด้วยอาการปวดบริเวณเชิงกราน, ปวดเวลาถ่าย
ปัสสาวะ, ปัสสาวะลำบาก, ท้องผูก, เจ็บปวดระหว่างร่วมเพศ,
ปัสสาวะบ่อย, อาการปวดปัสสาวะแบบฉับพลัน (urgent urination)
การวินิจฉัยการทำงานอุ้งเชิงกรานผิดปกติ (pelvic floor dysfucntion):
กระทำได้ด้วยการตรวจกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ซึ่งทำหน้าที่รองรับ หรือ support อวัยวะในบริเวณอุ้งเชิงกราน และ
หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะตรวจพบมีกล้ามเนื้อแข็งตึง, กดเจ็บ
และมีลักษณะเป็นแถบแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด
ที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
o Abdominal myofascial pain (trigger points)- เป็นอาการปวด
ในบณเวณกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง มีชื่อเรียกว่า myofascial
Pain ซึ่งมีลักษณะพิเศษ โดยมีบริเวณเจ็บปวดหลายๆ จุดใน
กล้ามเนื้อหน้าท้อง เวลาแพทย์ตรวจเขาจะตรวจพบว่า กล้าม
เนื้อมักจะแน่นตึงกว่าปกติ และมีอาการกดเจ็บ
ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรค
o Fibromyalgia – เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเนื่อเยื่อที่มีพังผืดเป็นส่วน
ประกอบ เช่น กล้ามเนื้อ, และเอ็น ซึ่งมีลักษณะเฉพาะโดยมี
อาการปวด และกดเจ็บกระจายไปตามกล้ามเนื้อของกาย
ในสุภาพสตรีที่เป็นโรคดังกล่าว มักจะมีอาการอย่างอื่น เป็นต้น
ว่า มีอาการปวดศีรษะ, อารมณ์แปรปรวน – มี่วิตกจริต และซีมเศร้า
<< BACK NEXT >>