วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

กระดูกต้นคอตีบแคบ P.6 –Guide for Cervical Spinal Stenosis : Diagnosis

March 30, 2014

คำถามมีว่า...
จะทราบได้อย่างไรว่า   เราเป็นโรคกระดูดต้นคอนีบแคบ (Cervical spine Stenosis) ?

ในการวินิจฉัยโรค  จะเริ่มต้นด้วยซักประวัติของคนไข้  เกี่ยวกับอาการ
อย่างละเอียด  รวมถึงการตรวจร่างกาย โดยแพทย์เขาจะซักถามถึง
อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ซึ่งรวมถึง
อาการปวด, ชา หรืออาการอ่อนแรง,  การเปลี่ยนแปลงในการขับถ่าย
ทั้งปัสสาวะ  และอุจจาระอาจรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการเดิน

ต่อจากนั้น...
แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจดูการเคลื่อนไหวของต้นคอว่า
ในการเคลื่อนไหวนั้น  ก่อให้เกิดอาการปวดหรือ มีอาการอย่างใดเกิดหรือไม่ ?

มีการตรวจความรู้สึก (skin sensation), ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
 (muscle strength), ตรวจสอบปฏิกิริยาสท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (relexes) มีการ
สังเกตุรูปแบบการเดินว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดหรือไม่ ?

หลังการตรวจร่างกาย...
แพทย์จะทำการตรวจพิเศษต่างๆ  เช่น ตรวจภาพเอกซเรย์ (X-rays)
เพื่อมองหาต้นเหตุที่กดไขประสาท เช่น ภาพสึกหรอของกระดูก มีการเสื่อมทรุด
ของกระดูกคอ   และอาจเห็นกระดูกงอก (spurs) กดไขประสาทสันหลัง

หากจำเป็นต้องทราบข้อมูลเพิ่มเติม...
แพทย์อาจสั่งตรวจกระดูกคอด้วยคลื่นแม่เหล็ก – magnetic resonance Imaging
 (MRI) scan...  เป็นการตรวจด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็ก เพื่อดูเนื้อเยื่อของกระดูกคอ 
ซึ่งสามารถทำให้เราเห็นภาพของไขประสาทถูกกด

แพทย์อาจสั่งให้ทำการตรวจ computed tomography (CT) scan
ซึ่งอาจเห็นกระดูกงอก (spurs)ยื่นเข้าไปกดไขประสาทสันหลัง

นอกจากนั้น...
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้า (electrical tests)
ของเส้นประสาทของแขน และมือ  ว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ?
การตรวจดังกล่าว เรียกว่า electromyography (EMG)

สุดท้าย...
แพทย์อาจสั่งให้ทำการตรวจ somatosensory evoked potential (SSEP) test 
ซึ่งเป็นการตรวจที่สามารถบอกตำแหน่งของการกดของไขประสาท
ได้อย่างแม่นยำมาก

การตรวจ SSEP ถูกนำมาตรวจดูว่า  เส้นประสาทสามารถ “รับ” หรือ “ส่ง”
คลื่นประสาทเกี่ยวกับความรู้สึก  เช่น ความเจ็บปวด (pain), อุณหภูมิ, และ
การสัมผัส ได้หรือไม่ ?

การตรวจการทำงานของเส้นประสาทดังกล่าว...
อาจวัดได้ด้วยการวางขั้วไฟฟ้า (electrode) บนผิวหนัง หรือใช้เข็มแทงเข้า
ไปในผิวหนังเข้าสู่เส้นประสาท หรือศูนย์กลางของความรู้สึกในสมอง


<< BACK  P. 5 : Cervical spinal stenosis : Symptoms

NEXT  >>  P. 7 : Cervical spinal stenosis : Nonsurgical treatment

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น