วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557
กระดูกต้นคอตีบแคบ P.7 –Guide for Cervical Spinal Stenosis: Nonsurgical Treatment
March 31, 2014
ในกลุ่มคนที่เป็นโรคเรื้อรังทั้งหลาย...
มีคนเป็นจำนวนหนึ่งไม่พอใจต่อผลของการรักษาทีตนได้รับ
และนั้นคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด “ดอกเตอร์ทัว” เป็นการเปลี่ยนหมอ
ผู้รักษาจากคนสู่คนไม่จบสิ้น เพื่อค้นหาผลของการรักษาที่ดีกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม การเข้าใจความเป็นไปของโรค ถือเป็นหนทางหนึ่ง
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการควบคุมโรคจากรุนแรงอันเกิดจาก
โรค ให้ทุเลาเบาบางลง หรือหายขาดได้
เมื่อปัญหาได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่สามารถกระทำได้ ได้แก่:
การรักษาโดยไม่ต้องพึงพาการผ่าตัด
(Nonsurgical Treatment)
ภาวะไขประสาทถูกกด หรือที่เรียกว่า myelopathy ถือเป็นเรื่องที่มีความรุนแรง
ถ้าโรคของท่านก่อให้เกิดปัญหาอย่างชัดเจน หรือเลวลงอย่างรวดเร็ว
แพทย์อาจกระโดดข้ามวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด non-surgical treatment)
สู่การผ่าตัด (surgical treatment) ทันที
สำหรับกรณีที่ไม่รุนแรง การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด (nonsurgical treatment)
อาจถูกนำมาใช้ก่อน ซึ่งอาจได้ผล หรือเพื่อรอดูว่า อาการจะดีขึ้นหรือไม่ ?
ในตอนเริ่มแรก...
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรึงกระดูกต้นคอให้อยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลาสั้น ๆ ซึ่ง
สามารถทำให้อาการอักเสบลดลง และบรรเทาอาการปวดลงได้
ในขณะเเดียวกัน ท่านจะได้รับคำแนะนำให้ลดการทำงานในชีวิตประจำวันลง
การหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก และหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ กัน
ของแขน, ลำตัว, และต้นคอ ท่านอาจต้องใส่คอลล่ารประคับประคองต้นคอ
ในขณะทำงานหนัก อาจนานถึง 3 เดือน
หลังจากนั้น ท่านจะได้รับอนุญาติให้ค่อยๆ ลดระยะเวลาการใช้ประคับต้นคอ
ลง
ในกรณีที่กระดูกต้นคอเป็นไม่รุนแรง (mild case)...แพทย์บางท่านจะแนะนำ
ให้รักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด (physical Therapy)
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการปวด และการอักเสบลง
การรักษาด้วยการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า สามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลาย
การหดเกร็ง (spasm) และลดอาการปวดลงได้
การดึงคอ ( cervical Traction) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้ข้อกระดูกคอ
และกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อคอคลายการหดเกร็งลง
ซึ่งอาจใช้อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องพิเศษดึงคอ หรือนักกายภาพบำบัดสามารถ
ใช้มือในการดึงกระดูกคอได้
คนไข้บางรายอาจได้รับการฉีดยาเข้าทางช่องกระดูกสันหลัง (epudural
Steroid injection- ESI) โดยการฉีดยาเข้าไปในบริเวณระหว่างเยื่อหุ้มไข
ประสาท (dura) และคอลัมน์ของกระดูกสันหลัง
การกระทำดังกล่าว สามารถทำให้การอักเสบรอบ ๆ เส้นประส่าท และหมอน
กระดูกสันหลังลงได้
<< BACK P. 6 : Cervical spinal stenosis: Diagnosis
NEXT >> P. 8 : Cervical spinal stenosis: Surgical Treatment
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น