วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 5 : Guillain-Barre syndrome- Complications

April 12, 2014

โรค “กิลแลง-บาร์เร” จะทำลายเส้นประสาท และอาจก่อให้เกิด
ปรากฏการณ์ “โดมิโน” กับระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น การทำงาน
ของของระบบหายใจ และระบบการไหลเวียนของเลือด, และอืน ๆ

ภาวะแทรกซ้อนของ Guillain-Barre syndrome ได้แก่:

 Breathing difficulties:
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวของโรค “กิลแลง-บาร์เร”
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอัมพาติของกล้ามเนื้อการหายใจ
ซึ่งท่านอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องหายใจ และรักษาในโรงพยาบาล

 Residual numbness or other sensations:
คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” มักฟื้นตัวสู่สภาพปกติ 
แต่มีส่วนน้อยที่มีอาการบางอย่างหลงเหลือ  เช่น อาการอ่อนแรง
หรือมีความรู้สึกผิดปกติ  เช่น อาการชา, เป็นเหน็บ   อย่างไรก็ตาม
การฟื้นตัวสู่ระดับปกติอาจดำเนินไปได้ช้า   ซึ่งอาจจำเป็นต้องกิน
เวลานานเป็นปี  หรือนานกว่านั้น โดย 20 – 30 % ของคนไข้
จะไม่สามารถฟื้นตัวสู่สภาพปกติ

 Cardiovascular problems:
คนที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” ที่มีผลกระทบต่อระบบหัวใจ และเส้นเลือด
ทำให้ระดับของความดันเลือดขึ้นๆ ลงๆ  ซึ่งควรได้รับการตรวจวัด
ความดันโลหิตกันบ่อยๆ

 Pain:
ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้โรค “กิลแลง-บาร์เร” จะรู้สึกมีอาการปวดเส้น
ประสาท (neuropathic pain)  ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยยาแก้ปวด (analgesics) หรือ
ยาทำลายอาการปวด (painkillers)

 Bowel and bladder function problems:
การทำงานของลำไส้ลดลง และมีปัสสาวะถูกกักขังในประเพาะ
ปัสสาวะ (urine retention)

 Blood clots:
คนไข้ที่เป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร”  ซึ่งอยู่นิ่งๆ ไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้
จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด จำเป็นต้องได้รับยา
ป้องกันการจัดตัวของเม็ดเลือด (blood thiners)

 Pressure sores:
การนอนนิ่งๆ จากการเป็นอัมพาติ จะเป็นเหตุทำให้เกิดแผลกดทับ(bedsores)
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ อาจช่วยได้ด้วยการพลิกตัวบ่อย ๆ

 Relapse:
ประมาณ 10 % ของคนเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” จะเกิดเป็นอีก  และมีความ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง  และมีเพียงน้อยรายที่ลงเอย
ด้วยการเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว  และกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
(Heart attack)

<< BACK  P. 4 : Guillain-Barre syndrome - Symptoms
NEXT >> P.6: Guillain-Barre syndrome-Tests and diagnosis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น