วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

การกลั้นปัสสสาวะไม่อยู่... P. 8 : Urinary incontinence- Treatments & Drugs (1)

April 24, 2014

ในการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะขึ้นกับชนิดของความผิดปกติ
ว่า เป็นการกลั้นปัสสาวะชนิดใด,  มีความรุนแรงมากน้อยแค่ใหน   และ
มีสาเหตุจากอะไร  ซึ่งแพทยืเขาจะเป็นผู้แนะนำให้เองว่า 
ท่านควรได้รับการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสมกับสภาพของท่าน

ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้รับการรักษา ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความบาด
เจ็บปวด (less invasive) เป็นต้นว่า  ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม,  และกายภาพ
บำบัดเป็นเบื้องแรก  หากไม่ประสบผลค่อเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นทีหลัง

พฤติกรรมบำบัด (Behavioral technique):

พฤตกรรมบำบัด และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถช่วย
ทำให้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่บางชนิดได้ เช่น:

 Bladder training.

การฝึกการทำงานของกระเพาะปัสสาวะเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยมีคนอยาก
จะพูดถึงมากนัก แต่เป็นวิธีการที่สามารถช่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยุู่ได้ 
โดยท่านจะต้องรียนรู้วิธีจะชะลอการถ่ายปัสสาวะเมื่อมีความรู้สึก
อยากจะถ่ายปัสสาวะ   เช่น  ในทุกครั้งที่ท่านรู้สึกอยากถ่าย...  ให้พยายาม
อั้นปัสสาวะเอาไว้นาน 10 นาที  โดยมีเป้าหมายว่า  ท่านสามารถชะลอ
ได้นานเพิ่มขึ้น จนกระทั้งท่านสามารถขับถ่ายปัสสาวะทุกๆ 2 – 4 ชั่วโมง

ในการฝึกการทำงานกระเพาะปัสสาวะ อาจกระทำได้ในอีกลักษณะ
นั้นคือ ในการถ่ายปัสสาวะในละครั้ง ให้ทำการถ่ายเป็นสองช่วง
พอท่านถ่ายปัสสาวะไปได้สักระยะหนึ่งให้หยุดประมาณ 2 – 3 นาที
แล้วถ่ายเป็นช่วงที่สอง...

ในการบริหารกระเพาะปัสสาวะอย่างนี้ สามารถช่วยให้ท่านเรียนรู้ที่
จะทำให้ถ่ายน้ำปัสสาวะออกหมด  สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะไหลลาด
ชนิด overflow incontinence ได้

นอกจากนั้น การฝึกกระเพาะปัสสาวะอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งท่านสามารถท่าน
สามารถกระทำได้....นั้นคือ  ในทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกอยากถ่าย   ให้เรียนรู้
การผ่อนคลายด้วยการหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ และลึก
เป็นการดึงงความสนใจออกไปจากความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ

 Scheduled toilet trips.

เป็นการกำหนดเวลาสำหรับการถ่ายปัสสาวะ โดยใช้นาฬิการเป็นตัวตั้ง
เพื่อบอกว่า  จะไปขับถ่ายปัสสาวะเมื่อใด เป็นการวางแผนว่าจะไปถ่าย
ปัสสาวะทุกๆ 2 – 4 ชั่วโมง

 Fluid and diet management.

ในบางราย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดจำนวนแอลกอฮอล, กาแฟ,
อาหารที่เป็นกรด  สามารถแก้ไขอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ลงได้

นอกจากนั้น  ยังพบอีกว่า  การลดน้ำหนักตัว, ออกกำลังการเพิ่มขึ้น ก็เป็น
อีกทางหนึ่งที่สามารถควบคุมการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้


<< BACK

NEXT >> Urinary incontinence : Physical therapy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น