วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

เมื่อเธอเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร ซินโดรม” P. 8 : Guillain-Barre syndrome- Coping and support

April 14, 2014

จะว่าไปแล้ว....
ชีวิตของแพทย์นั้นไม่ใช้ชีวิตที่น่าชื่นชมแม้แต่น้อย แต่จะเต็มไปด้วย
ความวิตกกังวลเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเมื่อใดที่เจอคนไข้ที่รอความ
ตาย หรือเป็นโรคที่ทรมานจากความเจ็บปวด ไม่สามารถเดินเหิน
หรือช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่มีทางรักษาให้หายได้ จัดเป็นเหตุ
การณ์ที่น่าเป็นห่วง

ไม่เพียงแต่แพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น   เพื่อนๆ และญาติพี่น้องทุกคน
ต่างมีส่วนช่วยทำให้คนไข้สบายใจขึ้นได้  โดยเฉพาะในด้านจิตใจ 
ส่วนร่างกายก็ไม่ควรมองข้าม   หรือละเลย  เพราะคนที่เป็นโรคดังกล่าว
จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้

โรค ”กิลแลง-บาร์เร” เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว เราจะพบว่า
มีผลกระทบทางด้านอารมณ์ได้สูงมาก  และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเห็นจะ
เป็น  อาการซึมเศร้า....บางรายถึงขั้นทำร้ายชีวิตตนเอง

ในรายที่มีความรุนแรง มันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน โดยมีการ
เปลี่ยนจากสภาพที่มีสุขภาพดี (healthy) กลายเป็นคนที่ไร้สมรรภภาพทันที่ 
ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยไม่อาการเตือนล่วงหน้าแม้แต่น้อย

แม้ว่า คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรค”กิลแลง-บาร์เร” สามารถฟื้นตัวสู่สภาพเดิมได้
ในที่สุดก็ตาม   แต่การวินิจฉัยว่าใครเป็นโรคดังกล่าว ย่อมหมาย
ความว่า เราสามารถคาดได้ว่า  เขาคนนั้นอาจกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่
ลำบากในระยะยาว  หรืออาจเผชิญกับการเป็นอัมพาต...

คนที่เป็นโรคดังกล่าวมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย
โดยเฉพาะาคนไข้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 
จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ

จิตบำบัดจากจิตแพทย์ก็เป็นเรื่องสำคัญ...
โดยจิตแพทย์มีบทบาทต่อการจัดการกับอารมณ์...ความวิตกกังวล รวมถึง
ภาวะซึมเศร้า อันเกิดจากโรคดังกล่าว

คนไข้อาจได้รับประโยชน์จากการพูดคุยกับคนอื่นๆ
ซึงเคยเป็นโรค “กิลแลง-บาร์เร” มาก่อน  ปละจากการพูดคุยสามารถช่วยทำ
ให้คนเป็นโรคสบายใจขึ้น  อย่างน้อยๆ จะทำให้เขาได้รู้สึกกว่า...
ไม่ใช้เขาคนเดี่ยวที่เป็นโรคดังกล่าว

<< BACK

Sources:
o Mayoclinic
o Healthline

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น