วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

กระดูกต้นคอตีบแคบ P.5 – Guide for Cervical Spinal Stenosis: Symptoms

March 30, 2014

ถามว่า...
ถ้าใครสักคนเกิดเป็นโรคกระดูกต้นคอตีบแคบ (cervical spine stenosis)
เขาจะรู้สึกอย่างไร ?

ส่วนมากแล้วเราจะพบว่า โรคกระดูกต้นคอตีบแคบจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ
กินเวลานานกว่าจะมีอาการปรากฏให้รู้สึกได้   ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะการ
สึกหรอของกระดุูกต้นคอ จะเกิดในช่วงหลังของชีวิต
ซึ่งเป็นสาเหตหลักที่ทำให้เกิดโรคกระดูกต้นคอตีบแคบในคนสูงอายุเสีย
เป็นส่วนใหญ่

แม้ว่าการสึกหรอของกระดูกคอ (degeneration) ได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นแล้ว 
แต่อาการทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันทันทีหรอก  มียกเว้นเฉพาะใน
กรณีที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง (severe injury) หรือ หมอนกระดูกแตก 
และมีส่วนที่แตกยื่นเข้าไปกดไขประสาท... ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการทันที

โดยทั่วไป  อาการแรกที่ปรากฏในบางคนที่กระดูกคอตีบแคบ    คือ 
มีการเปลี่ยนแปลงในวิถีการเดิน (pattern of walking)
โดยเขาไม่ทราบว่า  ปัญหาที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว คือกระดูกคอ
เกิดการตียแคบนั้นเอง  

แรงกด (pressure)ที่เกิดขึ้นกับไขประสาทในระดับต้นคอ   อาจกระทบ
กับเส้นประสาท และกล้ามเนื้อของขาได้...เป็นเหตุทำให้เขาเดินผิดปกติ
ไปจากเดิม   ซึ่งในระยะสุดท้าย   จะพบรูปแบบของการเดินกระตุก (jerky) 
และกล้ามเนื้อของขาไร้เรี่ยวแรงไป
รูปแบบการเดินกระตุกนั้น เขาเรียกว่า spasticity

คนส่วนใหญ่ืั้เป็นโรคดังกล่าว  ยังมีปัญหาที่มือทั้งสองข้าง...
โดยคนไข้จะบอกให้เราทราบว่า  เขาจะมีอาการชาที่บริเวณมือ (numb) 
บางคนอาจรู้สึกการใช้มือของเขาจะไม่คล่องเหมือนก่อน...ไม่สามารถ
ทำงานที่ละเอียดประณิต เช่น งานเขียนหนังสือ หรือพิมพ์ดิด  ...
การจับ และการปล่อยวัตถุสิ่งของกระทำด้วยความลำบาก  ทั้งนี้เพราะ
กล้ามเนื้อทางด้านในของฝ่ามือและของนิ้วมือเกิดอ่อนแรงไป

มีคนไข้จำนวนไม่น้อยเกิดกล้ามเนื้อไหล่อ่อนแรง
ซึ่งมักจะเกิดในรายที่ไขประสาทส่วนบนของต้นคอถูกกด  ทำให้กล้ามเนื้อ
ของกระดูกสะบัก (shoulder blade muscle)  และกล้ามเนื้อ deltoid ลีบฝ่อไป 
(atrophy)

การกดไขประสาท (spinal cord) ในบริเวณกระดูกต้นคอแคบ 
 ซึ่งใกล้กับรากประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อต้นแขน และมือ สามารถทำ
ให้เกิดอาการปวดร้าวจากต้นคอไปยังไหล่,  หลังส่วนบน, 
หรือบางทีลงไปยังแขนทั้งสอง

นอกจากอาการปวดแล้ว   เมื่อรากประสาทถูกกดยังสามารถทำให้เกิดอาการ
ชาที่ผิวหนังของแขน และมือ   และสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรง
ได้ด้วย

การกดไขประสาท (spinal cord) ยังก่อให้เกิดปัญหาทางลำไส้   และกระเพาะ
ปัสสาวะอีกด้วย

ในกรณีที่เป็นน้อย อาจทำให้คนไข้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
และบางครั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการเริ่มต้นถ่ายปัสสาวะ (urinary hesitancy)

ในรายที่ไขประสาทกดในระดับพอประมาณ อาจทำให้แรงปัสสาวะอ่อนลง
(urinary flow)... ถึงปัสสาวะหยุดติง ๆ   และอาจทำให้ถ่ายอุจจารลำบากถึงขั้น
ต้องออกแรงเบ่ง...

ในรายที่ไขประสาทถูกกดอย่างรุนแรง (severe case)...
คนไข้อาจไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ   และถ่ายอุจจาระได้เลย
เรียกภาวะดังกล่าวว่า incontinence

<< BACK  P. 4 :  Cervical spinal stenosis :  Causes

 NEXT >>  P. 6 : Cervical spinal stenosis:  Dianosis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น