วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

นิ้วล๊อก P. 6: Trigger finger - Treatments and drugs

April 4, 2014

ภายหลังจากแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยโรคของท่าน
ว่า   ท่านเป็นโรคนิ้วล๊อกแล้ว  อันดับต่อไปท่านจะได้เห็นวิธีการ
รักษา   และสิ่งที่ท่านอาจได้เห็น  มีดังนี้:

ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง (mild) หรืออาการไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก
การรักษาต่อไปนี้ ก็น่าจะเพียงพอ:

o  ดามนิ้วมือ (Splinting):
แพทย์อาจให้ท่านดามนิ้วที่ติดล๊อกให้อยู่ในท่าเหยียดตรง โดย
ให้อยู่ในลักษณะดังกล่าวอาจนานถึง 6 อาทิตย์
      
ในการดามนิ้วมือดังกล่าว จุดมุ่งหมายเพื่อให้นิ้วได้พักผ่อน  และเป็น
การป้องกันไม่ให้นิ้วเคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่ติดล๊อก

ในการดามนิ้วมือในเวลานตอนกลางคืน  สามารถป้องกันไม่ให้เกิดมี
อาการปวดในช่วงเช้าได้

o  บริหารนิ้วมือ ( Finger exercise) :

แพทย์อาจแนะนำให้ท่านทำการบริหารนิ้วมือ (affected finger)
อย่างนุ่มนวล ด้วยจุดมุ่งหมายให้นิ้วมือสามารถเคลื่อนไหวได้
ตามปกติ

o  ให้หลีกเลี่ยงจากการใช้มือด้วยการกำอย่างซ้ำ ๆ (Avoiding
Repetitive gripping):
ในการรักษาโรคนิ้วล๊อก (trigger finger) ให้หลีกเลี่ยงการใช้มือในรูป
แบบซ้ำ ๆ กัน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 – 4 อาทิตย์  เช่น การกำมือ (gripping),
การจับสิ่งของซ้ำ (grasping)  หรือการใช้อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดการ
สั่นสะเทือนเป็นเวลานาน

<< BACK P. 5 : Trigger finger - Tests and Diagnosis

NEXT >> P. 7 : Trigger finger - Treatment of serious cases

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น