วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

มัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส P. 3: Multiple sclerosis : How does multiple Sclerosis progress ?

April 13, 2014

คนเป็นโรคมัลติเปิ้ลสะเกลอโรซิส...
ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อโรคเกิดขึ้น มันมีแนวโน้มที่จะเกิด
ได้ 4 รูปแบบด้วยกัน ดังนี

รูปแบบที่ 1: Relapsing-remitting form of MS
ประมาณ 9 ใน 10 ของคนที่เป็นโรค MS จะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ
(relaspsing-remitting)

ในระหว่างที่มีอาการ (relapsing) อาจกินเวลานานหลายวัน และ
ส่วนมากจะกินเวลา 2 – 6 อาทิตย์ บางครั้งนานถึงหลายเดือนก็มี
ต่อจากนั้น อาการจะบรรเทาลง หรือหายไปเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้
เขาเรียกว่า remission หลังจากนั้น  อาการจะกลับคืนมาอีกเป็นระยะ ๆ

ชนิด และจำนวนของอาการที่เกิดขึ้น จะมีความแตกต่างกันในแต่
ละคน โดยขึ้นกับตำแหน่งของรอยโรคว่าอยู่ตรงตำแหน่งใด
และจำนวนครั้งที่เกิดในช่วงเวลาที่กำหนดก้แตกต่างกันไป 
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นหนึ่งถึงสองครั้งในทุก ๆ สองปี

คนที่เป็น MS รูปแบบนี้ มีแนวโน้มที่จะเป็นหลายปี...
ในระยะแรก ๆ โรคอาจหายเป็นปกติ ปราศจากอาการ (full recovery)
ในบางครั้ง ไม่เพียงแต่มีการทำลายเยื่อหุ้ม myelin sheath เท่านั้น
แต่ใยประสาทก็ปรากฏว่าถูกทำลายไปด้วย

สุดท้าย...
หลังจากเวลาผ่านไปได้ 5 – 15 ปี อาการบางอย่างจะปรากฏอยูตลอดไป
ทั้งนี้เพราะปรากกว่า เกิดมี่รอยแผลเป็นเป็นหย่อมๆ พร้อมๆ กับการทำ
ลายประสาทขึ้นอย่างช้า ๆ  ซึ่งเรียกว่า secondary progressive MS

รูปแบบที่ 2: Secondary progressive form of MS
คนที่เป็นโรค MS ในกลุ่มนี้จะเลงลงอย่างต่อเนื่อง โดยอาจมี หรือไม่มี
การเกิดอาการเลวลง (relapsing) และมีคนไข้ที่เป็นโรคในรูปผแบบ
Relapsing-remitting) ซึ่งมาตอนหลังได้กลายเป็น secondary \
Progressive form of MS

รูปแบบที่ 3: Primary progressive form of MS
ประมาณหนึ่งในสิบของคนเป็นโรค “มัลติเปิ้ลสเกลอโรซิส” จะไม่เป็น
รูปแบบเป็นๆ หายๆ (relapsing-remitting course)
แต่อาการจะเลวตั้งแรกเริ่ม และเล็วลงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีทางจะ
ฟื้นตัวเป็นปกติ จึงเรียกว่า primary progressive MS

รูปแบที่ 4 : Benign MS
มีเพียง 1 ใน 19 คนที่เป็นโรค MS ที่อยู่ในกลุ่มนี้ โดยมีอาการเกิดขึ้น
มาใหม่ได้น้อยครั้งในชีวิต และไม่มีอาการตลอดไป
เป็นโรค MS ที่มีความรุนแรงเบาที่สุด เขาจึงเรียกว่า benign MS

<< BACK P. 2: Multiple sclerosis - Causes

NEXT >> P. 4 : Who gets multiple sclerosis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น