วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Foods and Kidney Failure :Five Diet Tips for Patients with Chronic Kidney Failure

May 29, 2014

ในคนที่เป็นโรคไตวาย (Chronic kidney disease)...
เราจะพบว่า  เรื่องอาหารการกิน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนเป็นโรคดังกล่าว
โดยมีสองประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณา  ประการแรก คือ เรื่องโภชการ
ของคนไข้เอง  และสารพิษต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากอาหารที่คนไข้รับประทาน
เข้าไป และเพื่อจัดการกับปัญหาอันอาจเกิดจากประเด็นทั้งสองในคน
ไข้ที่เป็นโรคไตวาย    เรามีคำแนะนำ 5 ประการสำหรับคนไข้ที่
เป็นโรคไตวาย ดังนี้:

http://renux.dmed.ed.ac.uk/EdREN/EdRENINFObits/dietimages/pot-freeQuaife.gif

        Credit: www.jothedev.com

คำแนะนำข้อแรก: Low potassium.
ในคนไข้โรคไตวาย  ซึ่งมีความสามารถในการทำงานได้ไม่เกิน 15 %
จะไม่สามารถขจัดเอาธาตุ “โปแตสเซี่ยม” ส่วนเกินออกทิ้งทางไตได้ 
และการมีสารโปแตสเซี่ยมในระดับสูง จะนำไปสู้ผลเสียอย่างรุนแรง 
เช่น หัวใจล้มเหลว (heart failure) หรือแม้กระทั้งเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้

ดังนั้น คนไข้ที่เป็นโรคไตดังกล่าว  ในชีวิตประจำวันควรหลีกเลี่ยงอาหาร
ที่มีปริมาณโปรแตสเซี่ยมสูงให้ได้

อาหารที่มีปริมาณโปแตสเซี่ยมสูงได้แก่ :
Potato, cauliflower, spinach, banana, pineapple, mango และอื่น ๆ

คำแนะนำข้อสอง : Low sodium .
เราทุกคนต่างรู้ดีว่า...
การรับประทานอาหารที่มีความเค็มจัด (high sodium) จะก่อให้เกิดผลเสีย
ต่อร่างกายได้สูง   โดยเฉพาะเกิดขึ้นกับไตที่เป็นโรค (kidney disease)
เพราะความเค็มจัด สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูง, บวม, น้ำในช่องท้อง,
ปอดบวม และแม้กระทั้งหัวใจล้มเหลว

อาหารต่อไปนี้ จะมีความเค็ม  หรือปริมาณโซเดียมสูง เช่น: salt, soy,
Souce ทุกชนิด, soda crackers และอื่น ๆ
ดังนั้น ท่านจะต้องไม่กินอาหารเหล่านี้

คำแนะนำข้อสาม: : low phosphorus.
ในคนไข้โรคไตเรื้อรัง...
เราจะพบว่า  ไตไม่สามารถกำจัดเอาธาตุ “ฟอสฟอรัส” ส่วนเกินออกจากกาย
ได้ตามปกติ   เป็นเหตุให้มีฟอสฟอรัสสะสมในกระแสเลือดในปริมาณสูงขึ้น 
ยังผลให้เกิดอาการคันที่ผิวหนัง  และทำให้เกิดโรคกระดูกได้

ดังนั้น คนไข้ที่เป็นโรคไตวายทั้งหลาย (CKD) ควรเลือกอาหารที่มีระดับ
ฟอสฟอรัสต่ำ และไม่ควรรับประทานอาหารที่มี “โปแตสเซี่ยม” สูงดังต่อไปนี้: 
 ผลิตภัณฑ์ที่มีถั่ว (bean products), อาหารทเล (sea foods), ไส้กรอก (sausage), 
แฮม (ham) และอื่น ๆ

คำแนะนำข้อสี่ : low fat.
คนที่เป็นโรคไตวายไม่ควรรับประทานอาหารที่เป็นมันสัตว์เป็นอันขาด   เพราะ
มันสัตย์จะนำไปสูการเกิดมีไขมัมในเลือดสูง (hyperlidemia) ได้ง่าย
ที่ถูกต้อง นักโภชนาการจะแนะนำให้กินน้ำพืช (vegetable oil) แทน  เพื่อป้องกัน
ไมให้ไตถูกทลายเพิ่มขึ้น และสิ่งที่ควรรับประทานคือน้ำมันพืช  เช่น  corn oil,
ซึ่งมี unsaturated fatty acid ในปริมาณสูง

คำแนะนำข้อห้า: Low protein.
อาหารโปรตีนไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่มีจำเป็นทางด้านโภชการเท่านั้น
มันยังก่อให้เกิดของเสีย เช่น urea nitrogen ในร่างกาย  หากปล่อยให้สะสมใน
กระแสเลือดในปริมาณสูง มันจะทำให้ไตถูกทำลายได้มากขึ้น  ดังนั้นในกรณี
ที่ท่านเป็นโรคไต  ท่านจำเป็นต้องจำกัดปริมาณอาหารโ)รตีนให้น้อยลง

ในวันหนึ่งๆ ท่านควรจำกัดอาหารโปรตีนให้เหลือ 0.6 กรัม ต่อน้ำหนัก
ตัวหนึ่งกิโลกรัม นอกจากนั้น ท่านจะต้องรับประทานอาหารประเภท
โปรตีนที่คุณภาพดีด้วย เช่น ไข่ (eggs), น้ำนม (milk), เนื้อสัน
(lean meat), ปลา (fish) เนื้อไก่ (chicken) และอื่น ๆ

Source:

  • www.kidneyfailureweb.com


วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Foods and Kidney Failure , P 2 : How much sodium should I eat with stage 4 kidney failure?

May 29, 2014

ได้กล่าวมาก่อนแล้วว่า...
ในคนไข้โรคไตเรื้อรัง หรือโรคไตวายระยะ 4 แม้ว่าจะไม่มีอาการต่างๆ
ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า ภายในกายจะมีน้ำถูกกักเก็บ (water retention)
มากกว่าคนธรรมดาอยู่แล้ว


     Credit: www.bcmj.org

ดังนั้น การควบคุมการกินอาหารที่มีความเค็ม (sodium) จึงเป็นเรื่อง
สำคัญ เพราะมันสามารถลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้

ผลจากการศึกษา แสดงให้เห็นว่า การจำกัดความเค็ม (sodium intake)
สามารถลดความดันโลหิต,  ลดการสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria)
และชะลอการการเสื่อมทรุดของโรคไตลงได้

วิธีควบคุมปริมาณ “โซเดี่ยม” ได้ดีที่สุด คือการควบคุมความเค็มใน
อาหารที่เรารับประทานนั้นเอง



                  Credit: www.foodnavigator-asia.com

ส่วนประกอบหลักของความเค็ม คือ Sodium...
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต แนะนำให้คนไข้โรคไตเรื้อรังรับประทาน
Sodium หรือความเค็มไม่ให้เกิน 5 – 6 กรัม ต่อวัน  และหากท่านมีโรค
ความดันโลหิตสูง, หรือมีน้ำ-โซเดียมถุกกักเก็บในร่างกาย
ท่าน ควรกินโซเดียมไม่เกิน 2 กรัม ต่อวัน

เพื่อให้การควบคุมความเค็มได้ดีขึ้น...
ท่านควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทปรุงสำเร็จ, ซุพกระป๋อง, Fast foods,
อาหารจากเหลา และที่สำคัญ ท่านต้องรับประทานอาหารที่ให้สุข
ภาพ (healthy diet) เพื่อต่อสู้เอาชนะโรคของท่าน

<<BACK

http://www.kidneyfailureweb.com/kidney-failure-diet/1791.html

Foods and Kidney Failure , P 1 :How Much Sodium Should I Eat in Stage 4 Kidney Failure ?

May 29, 2014

คนไข้รายหนึ่งเป็นโรคไต้เรื้อรังระยะที่ 4 (CKD Stage 4)...
ได้ตั้งประเด็นเพื่อการเรียนรู้สร่วมกันว่า...
ตัวเขาสามารถกินอาหารเค็ม (sodium) ได้มากน้อยเท่าใด ?

คนเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 4 ( Stage 4 kidney failure) จะถูกแนะนำ
ให้กินอาหารที่มีรสเค็มต่ำ (sodium)  เพื่อป้องกันไม่ให้ไตถูกทำลาย
เพิ่มขึ้นไปอีก



  Credit: www.kidney-treatment.org

เพื่อความเข้าใจตรงกัน ลองมาพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ดู:

Why should people limit sodium in stage 4 kidney failure?

ในคนไข้โรคไตเรื้อรังระยะ 4 ...
เราจะพบว่า การทำงานของไตถูกทำลายลงไปอย่างมาก เป็นเหตุให้ไต
ไม่สามารถทำงานกำจัดของเสียออกจากร่ายได้สำเร็จ  โดยเฉพาะน้ำ 
และธาตุ“โซเดี่ยม” เป็นเหตุให้มี “น้ำ-โซเดียม” ถูกกักเก็บ (retention)
ในร่างกาย



              Credit: www.swollenkidney.com

ในคนที่เป็นโรคไตระยะ 4...
แม้ว่าคนไข้จะไม่มีอาการใดๆ  เป็นต้นว่า  ไม่บวม (swelling), หัวใจล้มเหลว
(heart failure) ก็ตาม  แต่ก็ยังปรากฏว่า คนไข้โรคไตระยะที่ 4 มีน้ำในร่างกาย
มากกว่าคนปกติ  และการที่มีน้ำ และโซเดียมในร่างกายมากอย่างเรื้อรัง 
จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหลายประการ เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น, 
มีสารโปรตีนถูกขับทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น และ
ที่สำคัญ  กระบวนการณ์ทำลายไตจะเพิ่มขึ้น

NEXT >> P. 2: How much sodium should
I eat with stage 4 kidney failure?

Foods and Kidney Failure, P 2 : How to follow a low potassium diet?

May 29, 2014

ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย ไตย่อมไม่สามารถทำงานตามปกติ
ซึ่งกรณีดังกล่าว จะมีปริมาณของ “โปแตสเซี่ยม”  ถูกสะสมในร่างกายใน
ปริมาณสูงกว่าปกติม   เป็นเหตุทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติ 
(irregular heart beat), กระตุ้นกล้ามเนื้อ และระบบประสาท และอื่น ๆ




            Credit: www.medindia.net

ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคไตบ่งชี้ให้เห็นว่า...
คนเป็นโรคไตวายสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการตามทีกล่าวได้
โดยการจำกัดปริมาณของ “โปแตสเซี่ยม” ที่ปรากฏในอาหาร
โดยการจำกัดอาหารดังต่อไปนี้:

 กลุ่มผัก (Vegetables):
ได้แก่ spinach, potato, yam, carrot, bamboo shoot, broccoli,
tomato และอื่น ๆ

 กลุ่มผลไม้ (Fruits):
ได้แก่Papaya, grape, orange, banana, mango, coconut,
Pomegranate และอื่น ๆ

 กลุ่มอื่น ๆ (Others):
ได้แก่ chocolate, beans, yogurt, nut และอื่น ๆ

<< BACK

http://www.kidneyfailureweb.com/kidney-failure-diet/1729.html

Foods and Kidney Failure, P 1 : Low Potassium Diet for Kidney Failure Patients

May 29, 2014

แม้ว่าท่านจะเป็นโรคไตวาย (chronic kidney disease)...
ท่านสามารถทำให้ร่างกายของท่านอยู่ในสภาพที่ดีได้ (healthy)
และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ท่านจำเป็นต้องยึดมั่นในตำแนะนำ
ที่แพทย์กำหนดให้อย่างเคร่งคัด...



      Credit: www.pixgood.com

โดยปกติ...
ธาตุ “โปแตสเซี่ยม” เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย
ซึ่งเราสามารถหาได้จากอาหารชนิดต่าง ๆ จำนวนมาก โดยมีส่วน
เกี่ยวข้องกับการทำงานต่างๆ ในร่างกาย เป็นต้นว่า รักษาดุลของ
กรด-ด่างภายในร่างกาย, คงสภาพความตื่นตัวของประบบกล้าม
เนื้อ และประสาท (neuromuscular excitability) และมีประโยชน์
ต่ออัตราการเต้นของหัวใจให้เต้นเป็นปกติ

คำถาม...
ทำไมคนที่เป็นโรคไตวาย จึงต้องรับประทานอาหารที่มีโปรแตสเซี่ยมต่ำ ?

ไตที่อยู่ในสภาพปกติ เป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับทำความสะอาดเลือด
ให้ปราศจากของเสีย พร้อมๆ กับคงสภาพความสมดุลของน้ำ และอีเล็กโตไลท์
 ด้วยการกำจัดของเสีย (waste), สารพิษ (toxins) และน้ำส่วนเกินออกทิ้งไป

อย่างไรก็ตาม...
ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย ไตย่อมไม่สามารถทำงานตามที่กล่าวได้เพียงพอ
ซึ่งกรณีดังกล่าว จะมีปริมาณของ “โปแตสเซี่ยม” ถูกสะสมในร่างกายใน
ปริมาณมากกว่าปกติ   จนเป็นเหตุทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติ ,
กระตุ้นกล้ามเนื้อ และระบบประสาท และอื่น ๆ

นั้นคือเหตุผลที่บอกให้ทราบว่า...
อาหารที่มีปริมาณของ “โปแตสเซ่ยม” ต่ำ เป็นสิ่งจำเป็นต่อคนที่เป็น
โรคไตวาย

>> NEXT   P 2 : How to follow a low potassium diet ?

Food and Kidney Failure : P2: How to control the intake of phosphorus?

May 29,2014

คนเราสามารถรับ “ฟอสฟอรัส” ได้จากอาหารที่เรารับทาน
ในแต่ละวัน โดยเราจะพบได้ในอาหารประเภท ถั่ว (nuts), พืชจำพวก
ถัว (beans), น้ำนม (milk) และอาหารประเภทโปรตีนสูง และอื่น ๆ
นอกจากนั้น เรายังสามารถพบฟอสฟอรัสได้ในอาหารต่อไปนี้:

o Dairy product: milk, cheese, yogurt, ice cream
o Fish
o Beef
o Seafood
o Animal offal (เครื่องในสัตว์ )
o Nuts and Beans: soy bean, sunflower seed, walnut,
Pumpikn seed, peanut
o Beavages: beer, chocolate drinks, soy milk, cocoa
o Others: egg york, coconut ...




            Credit: www.nyas.org


Tips to avoid high phosphorus diet:



        Credit: www.medicastore.com

 จำกัดปริมาณ หรือหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆ ที่มีฟอสฟอรัสใน
ปริมารณสูง

 เมื่อท่านกินยาประเภท phosphorus binders ให้เรียนรู้เรื่อง
ผลข้างเคียงอันอาจเกิดจากยาตัวดังกล่าวด้วย
       
 ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือนักโภชนาการอย่าง
เคร่งคัด และเลือกกินอาหารที่เหมาะสม...เพราะอาหารที่
ท่านกินนั้น อาจมีปริมาณฟอสฟอรัสสูงได้

<< BACK
http://www.kidneyfailureweb.com/kidney-failure-diet/1733.html

Food and Kidney Failure : P1 : Why Renal Failure Patients should Avoid High Phosphorous Foods ?

May 29, 2014

โดยทั่วไป คนที่เป็นโรคไตวาย หรือไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)
จะได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มี “ฟอสฟอรัส” สูงเสมอ
คำถามที่ตามมา....ทำไมต้องหลีกเลี่ยงละ ?



       Credit: http://www.frieslandcampinainstitute.com/


ร่างกายของคนเราต้องการเหลือแร่ธาตุหลายตัว...
ฟอสฟอรัส ก็เป็นธาตุตัวหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเรา
ประการแรก ฟอสฟอรัสมีส่วนในการช่วยทำให้กระดูกอยู่ในสภาพแข็งแรงดึ
ประการต่อมา ฟอสฟอรัสมีความสำคัญต่อต่อร่างกายในการใช้พลังงาน
รวมไปถึงบทบาทในการการทำงานของไตทั้งสอง

Why renal failure patients should avoid high phosphorus
foods?

ในคนที่มีสุขภาพดี   ไตสามารถทำงานเป็นปกติ...
โดยไตทั้งสองสามารถขจัดเอา “ฟอสฟอรัส” ส่วนเกินออกจากร่างกายได้
ส่วนคนที่เป็นโรคไตวาย (CKD) ด้วยเหตุใดก็ตาม  มันไม่สามารถทำงานด้าน
ขจัดเอาของเสีย  และเอาเกลือแร่ส่วนเกินออกทิ้งได้



               Credit: www.cmedicastore.com

ภายใต้ภาวะมีระดับ “ฟอสฟอรัส” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นั้น จะเป็นเหตุให้มีการดึง
เอาแร่ธาตุ “แคลเซี่ยม” จากกระดูก  ยังผลให้เกิดอาการปวดกระดูก  และทำ
ให้กระดุูกเกิการแตกหักได้ง่าย

ไม่เพียงเท่านั้น การมีระดับฟอสฟอรัสในกระแสเลือดสูง ยังทำให้เกิดมีอาการ
คันที่ผิวหนัง, ความผิดปกติของระบบเส้นเลือด และหัวใจได้อีกด้วย (
cardiovascular disorder)


 << BACK                         NEXT >> How to control the intake
                                                                               of phosphorus?

กล้ามเนื้อปั้นในโรคไตเรื้อรังระยะ 4 (Muscle cramps in CKD stage 4)

May 26,2014

เมื่อท่านที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 4...
ท่านมีโอกาสเกิดมีกล้ามเนื้อปั้น  โดยเฉพาะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อที่บริเวณ
น่อง  (calf) ของท่าน  ซึ่งเป็นอาการที่เกิดได้บ่อย



Credit : www.kidneyfailureweb.com

จากการที่มีกล้ามเนื้อปั้นนี้เอง ได้เป็นเหตุก่อให้เกิดปัญหาในการนอนหลับ
ด้วยเหตุนี้เอง เราจำเป็นต้องทราบสาหตุ  รวมไปถึงการรักษา
ได้อย่างทันท่วงที และเหมาะสม

สาเหตุ:

สาเหตุที่ทำใหเกิดกล้ามเนื้อปั้นในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 4 พบว่า
มีสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เป็นต้นว่า:

การไหลเลือดไม่ดี:
ในคนเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 4 ไตไม่สามารถสร้างฮอร์โมน EPO
ได้ในปริมาณที่เพียงพอ เป็นเหตุให้มีปริมาณของเม็ดเลือดแดงลดน้อยลง 
จึงยังผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อน้อยตาม ...
และนั้นคือสาเหตุของกล้ามเนื้อปั้น

เกิดการเสียดุลใน “เกลือแร่” และ “น้ำ” ภายในร่างกาย:
ในคนไข้โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4  จะพบความผิดปกติหลายอย่าง
ข้อแรก, ระดับ “แคลเซี่ยม” และ “แมกนีเซี่ยม” ลดต่ำ สามารถ
ทำให้เกิดกล้ามเนื้อปั้นได้ และข้อสอง คนไข้ที่เป็นโรคตดังกล่าว
มักจะมีอาการคลื่นไส้, อาเจียน หรือท้องร่วง...เป็นเหตุให้เกิดการ
สูญเสียน้ำ และอีเลกโตรไลท์ได้ ซึ่งทำให้เกิดกล้ามเนื้อปั้นได้

เส้นประสาทถูกทำลาย (Nerve damage):
ในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 4...เมื่อมีสารพิษถูกสะสมในร่างกาย
มากเข้า สารพิษเหล่านั้นอาจทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย  ไม่เพียงเท่านั้น 
คนที่เป็นโรคไตมักมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน
ซึ่งเราจะพบว่า เส้นประสาทถูกทำลายได้บ่อยที่สุด

การรักษา :
ในการรักษากล้ามเนื้อปั้น ย่อมขึ้นกับสาเหตุเป็นสำคัญ
สาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อปั้นตามที่กล่าว มีข้อแนะนำที่ควรนำไป
พิจารณา...

 ให้ตรวจสอบดูระดับ “อีเลกโตรไลท์”: ท่านที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
ควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และจากการตรวจ
เลือดทางห้องปฏิบัติการณ์ ท่านสามารถทราบได้ว่า เกลือแรตัวใด
มีระดับผิดปติ  ซึ่งท่านสามารถได้รับการแก้ไขได้

 ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยยาเพื่อ
เพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง ตลดรวมไปถึงการอาบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำอุ่น

 ให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากโรคไตเรื้อรังอย่างสม่ำเสมอ:
ไม่ว่าท่านจะมีอาการอย่างใดเกิดขึ้น ท่านต้องรายงานให้แพทย์ได้ทราบ
 ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้อาการเลวลงได้


www.kidneyfailureweb.com

Foods and Kiney Failure P. 2: Is low protein diet suitable for all patients with kidney failure?

May 29, 2014

มีนักวิจัยจำนวนไม่น้อย ได้พิสูจน์ว่า...
อาหารที่มีโปรตีนต่ำ จะมีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง คือ มีคุณสมบัติ
ในการปกป้อง (protective effect) การทำงานของไต
นอกจากนั้น มันยังสามารถบรรเทาอาการต่างๆ และสามารถชะลอ
โรคไตไม่ให้เลวลงได้



   Credit: www.kidneycare.org


คำถามมีว่า:
“อาหารที่มีโปรตีนต่ำ จะเหมาะกับคนไข้โรคไตทุกคนหรือ ?”

ได้กล่าวมากล้วว่า โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้คนไข้โรคไต ได้จำกัด
อาหารประเภทโปรตีนลง แต่สำหรับคนไขโรคไตวายระยะสุดท้าย (ESRD)
ซึ่งได้รับการฟอกเลือด จะไม่แนะนำให้จำกัดอาหารประเภทโปรตีน
ที่ถูกต้องแล้ว เขาควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นตามสภาพการณ์

ในรายที่ต้องรับประทานอาหารโปรตีนต่ำ...
สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ อย่าให้เกิดภาวะ “ทุพโภชนาการ” ซึ่งสามารถ
กระทำได้ด้วยการเสริมอาหารประเภท “คาร์โยฮัยเดรต” เพื่อชดเชยพลัง
งาน (calories) ที่ขาดหายจากการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนต่ำ

โดยสรุป อาหารที่มีโปรตีนต่ำ สามารถควบคุมภาวะโรคไต้เรื้อรังได้
แต่ท่านจำเป็นต้องมีมีการปรับเปลี่ยนบางอย่างให้เหมาะกับสภาพของ
โรค

<< BACK

http://www.kidneyfailureweb.com/kidney-failure-diet/1843.html

Foods and Kiney Failure P. 1: Low Protein Diet Help Kidney failure

May 29, 2014

ปัญหาอย่างหนัึ่งทีคนเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) ต้องเผชิญ...
คือเรื่องอาหารการกิน โดยเฉพาะพวกโปรตีน หากไม่ระมัดระวัง
อันตรายย่อมเกิดขึ้นได้

Why should kidney failure patients eat low protein diet?



              Credit: www.uremicfrost.com

โปรตีนที่อยู่ในอาหารที่เรารับทานเข้าไป...
มันจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และเมื่ออยุู่ในกระแสโลหิตแล้ว ส่วนหนึ่งมัน
จะถูกสลายตัวกลายเป็นของเสีย (nitrogen waste) เช่น urea nitrgen
ซึ่งจะต้องถูกไตขจัดออกจากร่างกายไป

ในกรณีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตวาย (chronic kidney disease)...
สมรรถภาพในการขจัดเอาของเสียออกจากร่างกายจะลดตามระยะของ
โรคไตเรื้อรัง (stage 1 to 5) เป็นเหตุให้มีของเสีย (waste) ถูกสะสม
ในกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการหลายอย่าง เป็นต้นว่า เกิดอาการคัน
ตามผิวหนัง, มีรสแอมโมเนียในปาก

ถ้าคนไข้โรคไตรับประทานอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณสูง   จะเป็นเหตุให้
มีของเสียถูกสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น   ทำให้การทำงานของไตที่อยู่
ในสภาพที่แย่อยู่แล้ว ถูกทำลายเพิ่มขึ้น อีก


NEXT >> P 2 : Is low protein diet suitable for all patients
with kidney failure?

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Chronic Kidney Disease Stage 3 - P 7: Which nutgrients do I focus On ? - Sodium

May 23, 2014

ท่านคงเคยได้ยินมาแล้ว่ว่า...
การจำกัดเกลือ และอาหารที่มีรสเค็มลง สามารถลดความดันเลือด
สูง และช่วยทำให้ยารักษาความดันทำงานได้ผลดีขึ้น ไม่เพียงเท่า
นั้น การลดอาหารที่มีความเค็ม หรือลดเกลือลง สามารถรักษาภาวะ
น้ำคั่งในร่างกายได้

ในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรงระยะ 3...
เขาแนะนำให้จำกัดเกลอ โดยให้รับทานระหว่าง 1000 – 2000 mg
ต่อวัน (ในคนปกติทั่วไปจะรับทานวันละ 3700 มิลลิกรัม

โดยสรุป...
เมื่อท่านเป็นโรคไตระยะที่ 3...
ท่านจำเป็นต้องรู้ว่า ท่านควรรับประทานอาหารอย่างไร รู้เป้าหมาย
ของท่านด้านโภชการ) เป็นอย่างดี  และที่สำคัญ  ท่านต้องปฏิบัติตาม
คำแนะนำของแพทย์ และนักโภชนาการด้านโรคไต
เพราะหากท่านกระทำได้   มันสารถชะลอไม่ให้โรคของท่านเลวลงได้ ฃ
และสามารถช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของท่านดีได้

<<BACK

Source:

  • www.Davita.com/kidney disease


o DeVita

Chronic Kidney Disease Stage 3 - P 6: Which nutrients do I focus On ? continued....

May 23, 2014

Protein

ภายใต้ภาวะของการเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3  (CKD Stage 3)
นักโภชนากาเกี่ยวกับโรคไต จะแนะนำให้ท่านรับทานอาหารประเภท
โปรตีน 0.8 gm / น้ำหนักตัว 1 Kg. ซึ่งจะเท่ากับปริมาณที่แนะนำให้
ผู้ใหญ่ 68 Kg. ซึงมีสุขภาพดีรับทาน 55 gm/ต่อวัน



Credit: www.kidneyhealth.blogspot.com


ในกรณีที่มีการสั่งให้รับทานอาหารโปรตีนต่ำ...
อย่างน้อย ครึ่งของปริมาณโปรตียนจะต้องมี essential amino acid
ซึ่งได้แก่อาหารต่อไปนี้:

o Egg whites
o Poulty
o Milk
o Cheese
o Fish
o Meat
o Yogurt
o Soy

นอกเหนือจากนี้ เราสามารถรับโปรตีนจากอาหารประเภทถั่วชนิดต่างๆ
(nuts, seeds, legumes, เมล็ดธัยพืช, และผัก....แต่อาหารพวกนี้อาจ
ขาดสาร essential amino acid บางตัวได้

สำหรับท่านที่เป็นมังสวิรัติ การรับประทานผักจะให้ธาติ “ฟอสฟอรัส”
และ “โปแตสเซียม” ในปริมาณสูง และมีปริมาณของโปรตีนต่ำ ไม่ได้
รับ essential amino acid เพียงพอ...หากต้องการได้รับปริมาณโปรตีน
ที่เพียงพอ ท่านต้องวางแผนร่วมกับนักโภชนาการ..และปฏิบัติตาม

โดยสรุป...เป้าหมายของโปรตีนสำหรับท่านที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรได้

<< BACK      NEXT  >>





รับโปรตีน 0.8 กรัม/ น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Chronic Kidney Disease Stage 3 - P 5: Which nutgrients do I focus On ?

May 23, 2014

Continued....

Potassium

ในเมื่อท่านเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3...
ท่านไม่จำเป็นต้องจำกัดเรื่อง potassium ยกเว้นในรายที่มีระดับของธาตุ
ดังกล่าวสูงเกินไป โดยทั่วไป ระดับของ “โปรแตสเซี่ยม” จะสัมพันธ์กับ
ยาขับปัสสาวะชนิด potassium-sparing diuretics, angiotensin coverting
Enzyme (ACE) inhibitor  หรือ  angiotensin receptor blockers (ARBs)
ซึ่งถูกใช้ในคนไข้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูง หรือเพื่อหวังลดปริมาณ
โปรตีนในปัสสาวะลง

ในกรณีดังกล่าว...
แพทย์ของท่านเปลี่ยนยาให้แก่ท่าน หรือแนะนำให้ท่านรับทานอาหาร
ที่มีระดับ “โปแตสเซี่ยม”ต่ำ

ในกรณีที่มีระดับ “โปแตสเซี่ยม” ในกระแสเลือดสูง...
ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีระดับ “โปเตสเซี่ยม” สูง; จำกัดผลไม้, ผัก, และนม

อาหารที่มีแร่ธาตุ “โปเตสเซี่ยม” สูง ได้แก่:




Credit: www.kidney-treatment.org

o Bananas
o Cantaloupe
o Legumes
o Nuts
o Avocado
o Milk
o Potatoes
o Seeds
o Yogurt

แพทย์ และนักโภชนาการจะเป็นผู้ประเมินอาหารที่ท่านรับประทาน
และแนะนำแนวทางให้ท่านว่า ท่านควรควบคุมระดบของโปแตส
เซี่ยมได้อย่างไร

<<BACK       NEXT >> Which nutrients do I focus on?Continued...

Chronic Kidney Disease Stage 3 - P 3: Which nutrients do I focus On ? continued


May 23,2014

คนที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3...
มีเป้าหมายในด้านอาหารการกินที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้:




Calories
อาหารที่ได้รับในแต่ละวันจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอ
โดยสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียน้ำหนักตัว หรือเพิมปริมาณ
ปริมาณอาหารให้ได้ "คาลอรี" ให้มากพอที่จะให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มใน
กรณีที่น้ำหนักตัวน้อยเกิน

ในกรณ๊ที่ท่านมีนำ้หนักเกิน การปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกินอาจลด
น้ำหนักตัวของท่านได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่านเองว่า จะติดตามการ
ชังน้ำหนักตัวเป็นประจำ  และจัดการกับน้ำหนักที่เกินด้วยการปรับเรื่อง
อาการการกินให้เหมาะสม

Fats and cholesterol:
ถ้าท่านมีโรคของระบบหัวใจ และเส้นเลือด หรือระดับของไขมันคลอ
เลสเตอรอลในเลือดสูง ท่านจะต้องหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว (saturated fats)
และไขมันทรานซ์ (transfats) โดยเปลี่ยนเป็นไขมันพืชแทน
(poly- และ monounsaturated fats) และหลีกเลี่ยงจากอาหารที่มีปริมาณ
cholesterol สูง

Fluid
ท่านที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำดื่มแต่อย่างใด
มียกเว้นกรณีเดียว คือ การมีน้ำคั่งภายในร่างกาย ซึ่งทราบได้โดย การมี
น้ำเกินอย่างฉับพลัน, หายใจลำบาก (shortness of breath), มีอาการ
บวมที่เท้า, มือ และหน้า, และมีความดันเลือดสูงขึ้น

อาการที่กล่าวมา อาจบ่งบอกให้ทราบว่า การทำงานของไตกำลังแย่ลง
และมีปัสสาวะออกน้อยกว่าปกติ

<< BACK     NEXT>> continued

Chronic Kidney Disease Stage 3 - P 2: The most important diet goal


May 23,2014


โรคไตเรื้อรังระยะที่3 (Stage 3 CKD)...
การทำงานของไตยังมีความสามารถเพียงพอต่อการกำจัดเอาน้ำ, โปแตสเสียม, และของเสียออกจากกายได้พอประมาณการปฏิบัติตนของคนทีเป็นโรคไตในระดับน้ำ ควรมีเป้าหมายไปที่

o Blood pressure
o glucose
o Lipids
o Weight
o Vitamins
o Minerals
                                                                               

ในการจัดการกับของเสียที่สะสมภายในกระแสเลือด ถือว่า
เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่เป็นโรคไตระยที่ 3
ของเสียที่กล่าวถึงนั้น คือ blood urea nitrogen (BUN) และ creatinine
โดยสะสมภายในกระแสลเลือด ซึ่งจากการวัดหาค่าที่ได้จะบอกให้ทราบ
ถึงระดับการทำงานของไตได้ ค่าปกติ:

 BUN: 10 – 20 mg/dL
 Creatinine:

    o Women- 0.5 – 11 mg/dL
    o Men : 0.6 – 1.2 mg/dL

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดในคนเป็นFรคไตระยะที่ 3 จะมีผลกระทบต่อ
ความสมดุลของกระดูก และแร่ธาตุต่างๆ เป็นเหตุทำให้มีระดับของ
ฮอร์โมน PTH ในกระแสเลือดสูงขึ้น

The Kidney Disease Outcome Quality Initiative (KDOQI) ได้ชี้
แนะแนวในการปฏิบัติเอาไว้ว่า ในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (Stage 3) ควร
ทำการตรวจหาค่า PTH, calcium และ phosphorus ทุก ๆ 12 เดือน
โดยเป้าหมายในคนทีเป็นโรคไตระยะที่ 3 ควรมีค่า :

 PTH: 35-70 pg/mL 
 Phosphorus: 2.7-4.6 mg/dL
 Calcium: 8.5-10.2 mg/dL

<< BACK              NEXT  >> P 3: Which nutrients do I focus on M

Chronic Kidney Disease Stage 3 - P 1: อาหาร และโภชนาการ

May 23,2014

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับกันเสียก่อนว่า...
ไม่มีอาหารสำหรับคนเป็นโรคไต  ถูกกำหนดไว้้ให้เป็นการเฉพาะสำหรับ
ใช้กับทุกคน  ทั้งนี้เพราะ อาหารของแต่ละคนจะถูกพิจารณาตามปัจจัย
หลายอย่าง  เช่น การทำงานของไต, ค่ำที่ตรวจจากห้องปฏิบัติการณ์, 
ขนาดของร่างกาย, ภาวะโภชนาการของแต่ละคน 
 และประวัติทางด้านสุขภาพอย่างอื่น

โรคไตเรื้อรัง แบ่งเป็น 5 ระยะด้วยกัน โดยอาศัยอัตราการกรองเอา
ของเสียออกจากกาย (glomerular filtration rate) เป็นการวัดความ
สามารถของไตในการกรองเอาน้ำ และของเสียออกจากเลือด
ระดับไตเรื้อรังระยะที่ 3 แบ่งเป็น:

Stage 3A: GFR จะมีค่าระหว่าง 45- 59
 Stage 3B GFR จะมีค่าระหว่าง 30 – 44
 สำหรับไตปกติจะมีค่า GFR 90 – 120

เมื่อท่านได้รับการตรวจเชคแล้วพบว่า ท่านเป็นโรคไตเรื้อรัง
แพทย์ที่ทำการรักษาตัวท่าน จะเป็นคนวางแผนให้ท่านว่าควรรับทาน
อาหารอย่างไร ซึ่งนัโภชขนาการจะเป็นประเมินอาหารการกินของท่าน,
น้ำหนักตัว, และความรู้สึกอยากกินอาหาร เพื่อนำมาวางแผนเป้าหมาย
ให้ท่านว่า ในสแต่ละวันท่านควรรับทานอาหารอย่างไรต่อไป



NEXT >> P2: The most important diet goal...

เมื่อท่านเป็นโรคไต...ท่านจะปฏิบัติตนอย่างไร ? CKD and nutrition

May 19,2014

เมื่อคนเราเป็นโรคไตขึ้นมา....
เวลาผ่านไป   พบว่า การทำงานของไตจะทรุดลงเรื่อยๆ  ถ้าเราทราบตั้งแต่แรก
เพียงแค่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยารักษา ก็สามารถรักษา
การทำงานของไตเอาไวได้

โรคไตระยะที่ 3 (Stage 3 chronic kidnesy disease) หมายถึงสมรรถภาพการ
ทำงานของไตยังสามารถกรองเอาของเียออกจากร่างกายได้เพียง 30-59 %
( GFR 30 – 59) โดยที่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีิวิตได้โดยไม่ต้องทำการฟอก
เลือด (dialysis)

เพื่อให้ไตสามารถทำงานได้เป็นปกติไม่ต้องทำงานหนัก  เราจำเป็นลด
ระดับของเสียอันเกิดจากสารอาหาร  ซึ่สามารถกระทำได้ด้วยการการปรับ
การรับประทานอาหารลง  ดังนี:

o Protein Restrictions:
อาหารประเภทโปรตีน จะทำหน้าที่เพื่อคงสภาพของมวลกล้ามเนื้อเอาไว้ 
และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ตามปกติ
การลดอาหารประเภทโปรตียนลง จะเป็นการลดของเสียที่เกิดจากการเผา
ผลาญโปรตีนลง นั้นคือ urea และ creatinine

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานดูแลโรคไต (DaVita) ในสหรัฐฯ ได้แนะ
นำเอาไว้ว่า การฟอกเลือดจะกระทำในโรคไตที่อยู่ในระยะสุดท้าอย
ส่วนไตเรื้อรังในระยะ 3... เป็นหน้าที่ของนักโภชนาการ ซึ่งเขาจะแนะนำให้
รับปรtทานอาหารที่มีคุณภาพ (healthy diet) โดยมีโปรตีน 0.8 gram /ต่อ
น้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรีม

o Phosphorous and Calcium:
Phosphorous เป็นแร่ธาติ ซึ่งทำงานร่วมกับ Calcium ทำหน้าทีให้กระดูกอยู่
ในสภาพสมบูรณ์เป็นปกติ   ในคนที่เป็นโรคไต หรือไตเสื่อมลง จะทำให้
ระดับของ Phosphorous ในกระแสเลือดสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอาการคัน
ที่ผิวหนัง และทำให้กระดูกสูญเสีย calcium ไป

ในภาวะของโรคไตในระยะนี้ (Stage 3) ท่านจำเป็นต้องจำกัดปริมาณ
ของธาติ phosphorous   โดยการกำจัดอาหารประเภท ถั่ว (beans), พืชประเภทฝัก
(legumes), เบียร์ (beer), และน้ำอัดลม (carbonated  bevages) ทั้งหลาย

ท่านสามารถรับทานสาร phosphorus binders เพื่อจัดการกับธาตุ
Phosphorous ที่มีมากเกินออกทิ้งไป โดยอาหารเสริมมีแคลเซียมที่มีความเข็มข้น
สูง สามารถสะกัดกั้นไม่ให้มีการดูดซึมเอาแร่ธาติ phosphorous จากลำไส้ได้ 
หรือท่านอาจรับประทานอาหารที่มีแรธาติแคลเซี่ยมในปริมาณสูง ก็สามมารถทำ
ให้ปริมาณของ phosphorous  ในกระแสเลือดลดต่ำ และเป็นการป้องกันไมให้
เกิดโรคกระดูกในคนไข้ที่เป็นโรคไตได้

o Electrolytes:
อีเล็กโตไลท์ มีบทบาทในการหดเกร็งของกล้ามเนื่อ   และรักษาดุลของน้ำ
ที่อยู่ภายในเซลล์ต่างๆ    แต่หากมีปริมาณมากไปสามารถทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับ
หัวใจได้

Potassium เป็นแรธาตุทำหน้าที่เป็นสารประกอบที่แตกตัวเป็นอะตอม
ที่ละลายในน้ำ เป็นตัวนำไฟฟ้าเหมือนกับ sodium  โดยมีหน้าที่ในการคงสภาพ
การหดตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ รวมไปถึงอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ

ในคนไข้โรคเต้เรื้อรังระยะที่ 3 ...
การรับประทานอาหารที่มี sodium ในปริมาณสูง สามารถทำให้มีน้ำในร่างกายสูง 
โดยจะก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของไต   ดังนั้น คนที่เป็นโรคไตจึงจำเป็น
ต้องจำกัดอาการที่มีรสเค็มลง   และให้หลีกเลี่ยงอาการที่ปรุงสำเร็จ
เพราะอาหารประเภทนี้มีโซเดียมสูง

o Fat-Soluble Vitamins
DaVita แนะนำให้ใช้ vitamin D ที่เป็น water-soluble form ให้แก่
คนไข้ เพราะในรายที่เป็นโรคไต อาจไม่สามารถเปลี่ยน UV light
ให้เป็น active form vitamin D ได้

o Fluid Restrictions
ในคนไข้ที่เป็นไตวายระยะสุดท้ายจำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม 
เพราะไตไม่สามารถกำจัดน้ำที่เกินออกจากร่างกายได้
เป็นเหตุให้น้ำส่วนเกิน (extra fluid) ถูกกักภายในกาย  ก่อให้เกิดผลเสียกับ
การทำงานของหัวใจ...

http://www.livestrong.com/stronger/










วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านเป็นโรคไต...ท่านจะปฏิบัติตนอย่างไร ? CKD and nutrition

May 19,2014

เมื่อคนเราเป็นโรคไตขึ้นมา....
เวลาผ่านไป การทำงานของไตจะทรุดลงเรื่อยๆ แต่หากเราทราบแต่แรก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยารักษา ก็สามารถรักษาการทำงาน
ของไตเอาไวได้

โรคไตระยะที่ 3 (Stage 3 chronic kidney disease) หมายถึงไตถูก
ทำลายลงพประมาณ ( GFR 30 – 59) โดยที่ไตยังสามารถขับเอาของ
เสีออกจากกาย ไม่จำเป็นต้องทำการฟอกเลือด (dialysis)
เพื่อป้องกันไม่ใหร่างกายมีการสะสมของเสียไว้ในกาย และให้ไตยัง
สามารถทำงานได้ตามปกติ เราจำเป็นต้องลดระดับของเสียภายในกระ
แสเลือดลง ซึ่กระทำได้ด้วยการปรับการรับทานอาหาร เพื่อป้องกัน
ไม่ให้ไตถูกลายมากกว่าไปกว่าเดิม

o Protein Restrictions:
อาหารประเภทโปรตีน จะทำหน้าที่เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้คงสภาพ
เดิมเอาไว้  และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้เป็นปกติ
การลดอาหารประเภทโปรตีนลง จะทำให้้ปริมาณของเสียอันเกิดจาก
การเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนลงด้วย  
และเป็นการลดงานของไตลงตาม

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานดูแลโรคไต (DaVita) ในสหรัฐฯ ได้แนะนำเอา
ไว้ว่า  การฟอกเลือดจะกระทำในโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD)
ส่วนไตเรื้อรังในระยะ 3...เพ่ียงแค่ควบคุมอาหารประเภทโปรตีนไม่ให้รับ
ประทานมากเกิน  ก็เพียงพอต่อการทำให้ไตทำงานได้ยืดยาวออกไป
โดยกำหนดให้คนเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 3 จำกัดอาหารโปรตีน  0.8 กรัม
ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม

o Phosphorous and Calcium:
Phosphorous เป็นแร่ธาติ ซึ่งทำงานร่วมกับ Calcium ทำหน้าทีให้
กระดูกอยู่ในสภาพสมบูรณ์เป็นปกติ

ในคนที่เป็นโรคไต หรือไตเสื่อมลง จะทำให้ระดับของ Phosphorous
ในกระแสเลือดสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอาการคัดนที่ผิวหนัง และทำให้
กระดูกสูญเสีย calcium ไป

ในภาวะของโรคไตในระยะนี้ (Stage 3) ท่านจำเป็นต้องจำกัดปริมาณ
ของ ธาติ  phosphorous ลงโดยการกำจัดอาหารประเภท ถั่ว (beans),
พืชประเภทฝัก (legumes), เบียร์ (beer), และน้ำอัดลม (carbonated
Bevages) ทั้งหลาย

ท่านสามารถรับทานสาร phosphorus binders เพื่อจัดการกับธาตุ
Phosphorous ที่มีมากเกินออกทิ้งไป โดยอาหารเสริมมีแคเลเซียม
ที่มีความเข็มข้นสูง สามารถสะกัดกั้นไม่ให้มีการดูดซึมเอาแร่ธาติ
Phosphorous จากลำไส้ได้ หรือท่านอาจรับประทานอาหารที่มีแร
ธาติแคลเซี่ยมในปริมาณสูง ก็สามมารถทำให้ปริมาณของ phosphorous
ในกระแสเลือดลดต่ำ และเป็นการป้องกันไมให้เกิดโรคกระดูกใน
คนไข้ที่เป็นโรคไตได้

o Electrolytes:
อีเล็กโตไลท์ มีบบาทในการหดเกณ้งของกล้ามเนื่อ และรักษาดุล
ของน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย แต่หากมีปริมาณมากไป
สามารถทำให้เกิดปัญหาขึ้นกบหัวใจได้

Potassium เป็นแรธาตุทำหน้าที่เป็นสารประกอบที่แตกตัวเป็นอตอม
ที่ละลายในน้ำ เป็นตัวนำไฟฟ้าเหมือนกับ sodium โดยมีหน้าที่ในการ
คงสภาพการหดตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ รวมไปถึงอัตราการเต้น
ของหัวใจให้เป็นปกติ

ในคนไข้โรคไตรื้อรังระยะที่ 3 ...
การรับประทานอาหารที่มี มีรสเค็ม  หรือม่ี sodium ในปริมาณสูง 
สามารถทำให้มีน้ำ "ถูกกัก" ในร่างกายในปริมาณเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะส่ง
เสียต่อการทำงานของไต  ดังนั้น คนที่เป็นโรคไตจึงจำเป็นต้องจำกัดอ
าการที่มีรสเค็มลง   และให้หลีกเลี่ยงอาการที่ปรุงสำเร็จ 
เพราะอาหารประเภทนี้มีโซเดียมสูง

o Fat-Soluble Vitamins
DaVita แนะนำให้ใช้ vitamin D ที่เป็น water-soluble form ให้แก่
คนไข้ เพราะในรายที่เป็นโรคไต อาจไม่สามารถเปลี่ยน UV light
ให้เป็น active form vitamin D ได้

o Fluid Restrictions
ในคนไข้ที่เป็นไตวายระยะสุดท้ายจำเป็นต้องจำกัดจำนวนน้ำดื่ม
เพราะไตไม่สามารถกำจัดที่เกินออกจากร่างกายได้
เป็นเหตุให้น้ำที่มีจำนสวนมากไป (extra fluid) จะกระทบกับการทำงาน
ของหัวใจ...โดยคนไข้จะต้องรายงานให้แพทย์ได้รับทราบเมื่อปรากฏว่า 
มีอาการบวมเกิดขึ้นที่บริเวณรอบๆ ตา  หรือมีอาการบวมี่ขาทั้งสอง, 
แขนทั้งสอง หรือหน้าท้อง

ด้านปฏิบัติ...ท่านสามารถคำนวณได้อย่าวง่าย ๆ ดังนี้...
ให้ตวงปริมาณปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง สมมุติวัดได้ x ซีซี
ให้เอาจำนวนนี้ + ปริมาณของเหงือที่ถูบขับออกจากกายโดย
เฉลี่ยประมาณ 400 ซีซี (ถ้าอาการร้อนมาก หรือมีเหงือออกมาก
ให้เพิ่มตามส่วน....นั้นคือปริมาณของน้ำที่ท่านจะต้องดื่มต่อวัน


http://www.livestrong.com/stronger/

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

H.pylori and dyspepsia p12 : What is the prognosis for H. Pylori infections?

May 15, 2015

คนที่มีเชื้อแบคทีเรีย  H. Pylori ในกระเพาะอาหาร 
พบว่าส่วนใหญ่แล้วการอักเสบที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรง และหากจะ
มี...ก็มีอาการน้อยมาก

ดังนั้น การพยากรณ์โรคจึงอยู่ในเกณฑ์ดี
และในรายที่มีอาการรุนแรง หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม มักจะได้
รับผลดี    มีเพียง 20 % เท่านั้นทีอาจการซ้ำ (recurrence of infection)

ในรายที่มีแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer) ภายหลังการ
ทำลายเชื้อ H.pylori ได้หมดสิ้น จะทำให้แผลในกระเพาะอาหาร
หายได้ดี โดยมีแผลเป็น (scarring) เกิดขึ้นเพียงเล้กน้อย

ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา (severe infections) มีแนวโน้มที่จะเกิด
ภาวะแทรกซ้อนได้  เช่น มีแผลในกระเพาะ...มีเลือดออก, มีแผลเป็นใน
กระเพาะอาหาร (scarring), โลหิตจาง (anemia), ความดันเลือดต่ำ
และมีบางรายสามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว หากรักษา
ไม่ทัน

<<BACK

< Source:
o Medscape

H.pylori and dyspepsia p11 : Can H. Pylori infection be prevented?

May 15, 2014

เคยกล่าวมาแล้วว่า...
พวกเรา หรือที่ถูก...ประชาชนทั่วโลกมีโอกาสตรวจพบเชื้อ H.pylori
ในกระเพาะอาหารได้ถึง 50 % และดูเหมือนว่า เรายังไม่มีวัคซีนป้องกัน
ไม่ให้เกิดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เสียด้วย และเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยง
ไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรคดังกล่าวได้


ภายใต้สิ่งไม่ดี  ใช่ว่าเราจะโชคร้ายเสมอไป  นั้นคือ...
แม้ว่าจะมีเชื้อดังกล่าวภายนกระเพาะอาหารของเรา   แต่โอกาสที่จะทำให้
เกิดการอักเสบ และทำให้มีอาการ (symptomatic infection) มี่ได้ต่ำ

ปัจจุบัน มีคำชี้แนะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมีแผลในกระเพาะอาหาร แต่
ผลดีที่เกิดจากคำแนะนำยังไม่ทราบ

คำแนะนำสำหรับป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ulcers):

 ลด หรือเลิกดดื่มแอลกอฮอล
 หยุดสูบบุหรี่
 ใช้ยา acetminophen แทน aspirin สำหรับแก้ปวด
 ใช้ยา acetaminphen แทนกลุ่มยา NSAIDs
 หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ
 ให้ตราจเช็คอาการทางกระเพาะอาหาร และให้การรักษา
ทันทีเมื่อได้รับ หรือหลังได้รับรังสีรักษา
 กำจัด หรือ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดความเครียด
 ให้ล้างมือทำความสะอาดทุกครั้ง...
 ถ้ามีการอักเสบจากเชื้อ H. Pylori การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
 อาจหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

ในปัจจุบัน เรายังไม่มีวัคซีนสำหรับใช้ป้องกันการติดเชื้อ H. Pylori
โดยเป็นเรื่องของนักวิจัยกำลังดำเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่ง “วัคซีน”
ที่สามารถป้องกันไม่ให้คนเราติดเชื้อดังกล่าวได้

<<BACK     NEXT>> p12: What is the prognosis for H. Pylori infections?

H.pylori and dyspepsia p10: First-line regimens for H.pylori Eradication

May 14,2014

เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อ H. Pylori ให้หมดไป ...
The American College of  Gastroenerology ได้กำหนดแนวทางในการใช้ยา
เอาไว้ดังนี้:

1. Standard dose of a *PPI (proton pump inhibitor) *b.i.d. (esomeprazole is *q.d.), 
     clarithromycin 500 mg b.i.d., amoxicillin 1,000 mg b.i.d. for 10-14 days
2. Standard dose PPI b.i.d., clarithromycin 500 mg b.i.d. metronidazole 500 mg b.i.d. 
    for 10-14 days
3. Bismuth subsalicylate 525 mg p.o. q.i.d. metronidazole 250 mg * p.o. *q.i.d., 
    tetracycline 500 mg p.o. q.i.d., ranitidine 150 mg p.o. b.i.d. 
    or standard dose PPI q.d. to b.i.d. for 10-14 days
4. PPI + amoxicillin 1 g b.i.d., for 5 days, followed by PPI, clarithromycin 500 mg, 
    tinidazole 500 mg b.i.d. for 5 days

*PPI = proton pump inhibitor; pcn = penicillin; p.o. = orally; q.d. = daily;
b.i.d. = twice daily; t.i.d. = three times daily; q.i.d. = four times daily.

ผลจากการศึกษาด้วยการใช้ยาเมื่อเร็วๆ นี้  ปรากฏกว่า:
การใช้ยาปฏิชีวนะ 3 ขนาน (Triple therapy) อันประกอบด้วย Levaquin
หรือ rifabutin โดยให้ร่วมกับ amoxicillin และ esmeprazole  สามารถรักษาโรคหาย
ได้ประมาณ 90 % และ 88.6 %  โดยใช้ยานาน 10 – 12 วัน

(Levofloxacin 20 – 50 mg b.i.d. or rifabutin 150 mg q.d. 12 days,
Amoxicillin 1 gm b.i.d. , esomeprazole 40 mg b.i.d.)

เมื่อสิ้นสุดการรักษา...
แพทย์บางท่านอาจต้องการพิสูจน์ หรือยืนยันว่า เชื้อแบคทีเรียได้ถูกทำลาย
จนหมดสิ้นแล้ว  โดยทำการตรวจ “urea breath test” หรือ “ stool Antigen test”
 โดยเฉพาะในรายทีมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออกทางกระเพาะอาหาร
และจากลำไส้ส่วนบนสุด    หรือเกิดมีมีแผลทะลุ

สำหรับการตรวจด้วยกล้อง หรือตรวจเลือด ไม่จำเป็นต่อการยืนยันว่า
เชื้อแบคทีเรียถูกทำลายไปหมด เพราะกินเวลานานกว่าระดับของ antibody
ในเลือดจะลด

โดยสรุป วิธีที่ดีที่สุดสำหรับตรวจยืนยันว่า เราได้ทำลายเชื้อ H. Pyloriหมดสิ้นแล้ว
 คือการตรวจ urea breath test

สำหรับรายที่ไม่สามารถทำลายได้หมด เขาแนะนำให้ทำการรักษาซ้ำ
โดยให้ยาร่วมที่แตกต่างออกไป (different combination of medications)

<< BACK       NEXT >> p11 : Can H. pylori infections be prevented?

H.pylori and dyspepsia p9: What is the treatment for H. pylori?

May 14, 2014

ก่อนอื่นเราต้องทราบเอาไว้ก่อนว่า...
เชื้อ H.pylori ในกระเพาะอาหาร เป็นเชื้อที่ยากต่อการทำลาย 
เพราะเชื้อดังกล่าวสามารถสร้างความต้านทานต่อเชื้อปฏิชีวนะได้  
ดังนั้น  จึงใช้ยาปฏิชีวนะสอง หรือมากตัว ร่วมกับการใช้ยา PPI และยา
ที่มี่ bismuthเป็นส่วนประกอบ เพื่อจัดการกับเชื้อแบคทีเรีย
(Bismuth และ PPIs มีฤทธืในการต่อต้านเชื้อ H. Pylori)

ตัวอย่างของการใช้ยาหลายขนานร่วมกัน   เพื่อใช้รักษาการอักเสบกระเพาะ
อาหารที่เกิดจากเชื้อ H.pylori ได้แก่:

 PPI + amoxicillin (Amoxil) + clarithromycin (Biaxin)
 PPI + metronidazole (Flagyl) + tetracycline + bismuth
 Subsalicylate (Pepto-Bismol, Bismuth)

การรักษาด้วยการใช้ยารวมกันหลายขนานเช่นนี้ สามารถได้ผลการรักษา
ให้โรคหายได้ถึง 70% ถึง 90 %
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า เชื้อ H.pylori มักจะต้านยาปฏิชีวนะ
โดยเฉพาะยา clarithromycin หรือยาในกลุ่ม macrolide antibiotics เช่น
Erythromycin

ไม่เพียงเท่านั้น เชื้อ H. Pylori ยังต้านยากลุ่ม metronicazle ได้เช่นกัน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่ต้องหายาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
สำหรับใช้รักษาเชื้อ H. pylori

<< BACK      NEXT > p10: First-line regimens for H.pylori Eradication

H.pylori and dyspepsia p8 : Why treat H. pylori?

May 14, 2014

กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบเรื้อรังจากเชื้อ H.pylori...
จะทำให้ความต้านทานที่มีตามธรรมชาติของเยื่อบุด้านในของ
กระเพาะอาหารถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร

ยาต่าง ๆ ซึ่งออกฤทธิ์โดยการทำหน้าที่ลดกรด (antacids) และ
ยาต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร (H2-blocker
และ proton pump inhibitors หรือ PPIs... ถูกนำมาใช้ในการ
รักษาคนไข้ที่เป็นแผลในกระเพาะได้ผลเป็นที่พอใจ

H2-blockers ได้แก่:
• ranitidine (Zantac),
• famotidine (Pepcid),
• cimetidine (Tagamet), and
• nizatidine (Axid).

PPIs include ได้แก่:
• omeprazole (Prilosec),
• lansoprazole (Prevacid),
• rabeprazole (Aciphex),
• pantoprazole (Protonix), and
• esomeprazole (Nexium).

ยากลุ่ม antacidd, H2-blockers และ PPI ไม่สามารถกำจัดเชื้อ H.pylori
จากกระเพาะอาหารได้  และแผลในกระเพาะอาหารจะกลับมาเหมือนเดิม
อย่างรวดเร็วเมื่อมีการหยุดยา ดังนั้นจึงปรากฏว่า มีการใช้ยาดังกล่าวทุก
วันนานเป็นปี เพื่อป้องกันไม่ให้แผลในกระเพาะกลับเป็นขึ้นอีก พร้อมๆ
กับป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออก, แผลกระเพาะทะลุ
และกระเพาะอหารเกิดการอุดตัน

การกำจัดเชื้อ H.pylori ให้สิ้นซาก...
มันสามารถป้องกันไม่แผลในกระเพาะกลับเกิดขึ้นได้ และป้องกันไม่
ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ทั้งๆ ที่ยาลดกรด (H2-blocker และ PPI)
ได้เลิกใช้ไปแล้วก็ตาม

การกำจั้ดเชื้อ H. Pylori ให้หมดไป ยังมีความสำคัญต่อการรักษาโรคที่
ไม่ค่อยได้พบ เช่น MALT lymphoma ของกระเพาะอาหาร
(การรักษา H.pylori จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่ยังเป็น
ที่ถกเถียงกัน)



<< BACK     NEXT >> p9 : What is the treatment for H. pylori?

H.pylori and dyspepsia p7 : How is H. pylori infection diagnosed? – Endoscopy

May 2014

นอกจากการตรวจเลือดหา antibody ของ H.pylori และการตรวจ 
urea breath test เพื่อตรวจสอบดูว่า คนไข้ที่มีอาการปวดท้องเป็นผลมา
จากเชื้อแบคทีเรียตัวดังกล่าวหรือไม่  เรา ยังมีการตรวจด้วยการส่องกล้อง 
ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสำหรับสำหรับตรวจหาการอักเสบจาก H.pylori
รวมถึงการตรวจดูการอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหาร

ในระหว่างการทำการส่องกล้อง endoscopy...
จะมีการตัดเอาชิ้นเนื้อชิ้นเล็กๆ จากกระเพาะอาหารไปทำการตรวจ
โดยการวางชิ้นเนื้อบนแผ่น slide ที่มีสาร urea
ถ้าสาร urea ถูกทำให้แตกตัวเป็น carbon dioxide จะทำให้เกิดมีสีรอบ ๆ
ชิ้นเนื้อเกิดขึ้น... หากเป็นเช่นนั้น มันหมายความว่า กระเพาะอาหาร
มีการอักเสบจากเชื้อ H. pylori

นอกจากส่องด้วยกล้องดูการแตกสลายของ Urea แล้ว
ยังมีการเอาชิ้นเนื้อไปทำการเพาะเชื้อหาเชื้อ H.pylori อีกด้วย  เพื่อ
ประโยชน์ในด้านเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมต่อไป

<<BACK    NEXT >> p. 8 : Why treat H. pylori

H.pylori and dyspepsia p6 : How is H. pylori infection diagnosed? – Urea breath test (UBT)

May 2014

ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า อาการปวดท้องของท่านมีสาเหตุจากเชือ
H. pylori ?...  

เราสามารถทำการตรวจหาเชื้อ H. Pylori ได้ด้วยวิธีการง่ายๆ
 เช่น การตรวจ blood antibody tests, urea breath tests,
Stool antigen tests และการตรวจด้วยกล้อง (endoscopy)

การตรวจเลือดหาค่า “antibodies” ที่ถุกสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อ H.pylori
ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ง่าย และกระทำได้รวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม   การตรวจหาภูมิต้านทานที่ปรากฏในเลือด สามารถปรากฏ
ในเลือดนานหลายปีเม้ว่าเชื้อถูกทำลายไปแล้วด้วยปฏิชีวนะแล้วก็ตาม
ดังนั้น การตรวจ antibody test อาจเหมาะสำหรับการวินิจฉัยการอักเสบจาก
เชื้อ H.pylori   แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาตรวจว่ายาปฏิชีวะนะสามารถทำ
ลายเชื้อได้สิ้นซากแล้วหรืไม่

การตรวจ urea breath test (UBT)...
เป็นการตรวจที่ง่าย และปลอดภัย ว่า   มีเชื้อ  H.pylori ปรากฏในกระเพาะ
อาหารหรือไม่ ?

การตรวจ urea breath test ...
เป็นการตรวจดูความสามารถของเชื้อ H. Pylori ซึ่งสามารถสลายตัวของ
สาร urea ในกระเพาะอาหารให้แตกเป็น carbon dioxide ...จากนั้นมัน
จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระสโลหิต และถูกขับออกทางลมหายใจ

วิธีการตรวจกระทำได้ง่าย ๆ ...
ภายหลังการกลืนแคพซูลที่ประกอบด้วย radioactive urea
ประมาณ 10 – 20 นาที จะปรากฏว่ามี carbon dioxide ถูกกำจัดออก
ทางลมหายใจ (positive test)   ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า กำลังมีการอักเสบ
จากเชื้อ H.pylori ที่กระเพาะอาหาร

ภายหลังการรักษาด้วยการกำจังเชื้อ H.pylori ได้หมดสิ้น (สิ้นซาก) ด้วย
การใช้ยา antibiotics เราจะไม่สามารถตรวจพบ radioactive carbon
dioxide ในลมหายใจ

<< Back      Next >> p7: Endoscopy

H.pylori and dyspepsia p5: Is H. pylori contagious?

May 14,2014

ใช้แล้ว ! 
เชื้อ H. Pylori ติดต่อกันได้...
อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งจะมีพื้นที่ถูกเรียกว่า “พื้นที่สีเทา” ซึ่งเป็น
พื้นที่ระหว่าง “การติดต่อแพร่เชื้อ (contagious)” กับ “ภาวะไม่มีการ
แพร่เชื้อ (colonization)” ...

ภาวะติดต่อ (contagious) บ่งบอกถึงภาวที่เชื้อแบคทีเรียที่สามารถ
เคลื่อนย้ายตัวของมันจากคนหนึ่ง สู่คนอื่น ส่วน
colonization นั้น  หมายถึงเชื้อแบคทีเรียไม่ก่อให้เกิดโรค  เป็นแต่เพียง
อาศัยอยู่ที่เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหารโดยไม่ก่อให้เกิดโรคเลย...หรือ
แม้กระทั้งเมื่อมันย้ายตัวเองไปยังคนอื่นแล้วก็ตาม ...
 ก็ไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้

สำหรับในกรณีที่เป็นพื้นที่สีเทา (grey area)...
พบว่า เชื้อ...สามารถทำให้เกิดโรคได้ในบางคน   แต่ในอีกหลายคน
กลับไม่ก่อให้เกิดการอักเสบใดๆ ขึ้น

นักจุลวิทยาชีวบางราย กล่าวว่า มีเชื้อโรคบางชนิดมันสามารถปรับเอง
ต่อคนที่มันอาศัยอยู่ โดยเปลี่ยนจากการทำให้เกิดการอักเสบ ให้เข้าสู่ภาวะ
ที่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบในคนได้...
นี้เป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม คนอื่น ๆ คิดว่า เชื้อแบคทีเรียจะแปรสภาพเป็นเชื้อที
สามารทถทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้เมื่อ “gene” ของมัน และสภาพแวด
ล้อมกระตุ้นให้เชื้อ H.pylori สร้าง และปล่อยพิษ cytotoxin ออกมา
และทำให้กระเพาะลำไส้เกิดการอักเสบ...


<< Back              Next >> P.6 : How is H. pylori infection diagnosed?

H.pylori and dyspepsia p4 : What are the symptoms of H. pylori infections?

May 14,2014

คนส่วนใหญ่ที่เกิดการอักเสบของกระเพาะจากเชื้อ H. Pylori จะไม่มีอาการ 
หรือถ้ามีอาการ...มีน้อย   อาการที่เกิดจากกระเพาะอักเสบได้แก่ :
มีอาการเรอ (belching), bloating, คลื่นไส้ (nausea), อาเจียน
 (vomiting), และรู้สึกไม่สบายแน่นท้อง (abdominal discomfort)

ส่วนใหญ่ อาการที่กล่าวมาอาจหายไปได้เอง..
อย่างไรก็ตาม สำหรับรายที่มีอาการรุนแรง มันจะแสดงอาการทางกระเพาะ
อาหาร ลำไส้ส่วนบนสุดเป็นแผล  ได้แก่อาการต่อไปนี้:

         
o ปวดแน่นท้อง (Abdominal pain and/or discomfort) ซึ่งมักจะ
ปรากฏอยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมหายไปใหน
o คลื่นไส และอาเจียน (Nausea and vomiting) บางคนมีเลือด
หรืออาเจียนเอาสิ่งที่มีสีคล้ายกาแฟ
o อุจจาระสีดำ ซึ่งเป็นผลมาจากเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร
o อ่อนเพลีย (Fatigue)
o เม็ดเลือดแดงลดต่ำ (Low red blood cell count)
o รับประทานอาหารอิ่มเร็ว (Full felling after small amount of food)
เบื่ออาหารลด ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกเช่นนั้น

อาการอย่างอื่นๆ เช่น ท้องร่วง, แสบบริเวณยอดอก (heartburn) หายใจ
มีกลิ่น (bad breath)

ในรายที่ถ่ายอุจจาระสีดำ และรู้สึกอ่อนเพลีย ควรได้รับการตรวจอย่าง
ละเอียด เพื่อหาต้นเหตุที่ทำให้เกิดมีเลือดออก

<< BACK   NEXT >> p5: Is H. pylori contagious?

H.pylori and dyspepsia p3 : What does H. pylori cause in humans?

May 14,2014

คนเราสามารถได้รับเชื้อ H. Pylori จากคนอื่นโดยอาจเป็นจากอุจจาระ
เข้าสู่ปาก หรือจากทางปากสู่ปาก

แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีเชื้อ H. Pylori ในระบบทางเดินอาหาร (GI) จะมี
คนบางคนที่มีอาการ  และคนส่วนใหญ่จะเกิดการอักเสบของกระเพาะ
อาหาร (gastritis)  โดยการตอบสนองของกายต่อเชื้อแบคทีเรียโดยตรง
และต่อสารพิษ cytotoxin เรียก Vac-A ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกสร้างโดย
เชื้อแบคทีเรีย H. pylori

นักวิจัยชี้แนะว่า...กรดในกระเพาะอาหารจะเป็นตัวกระตุ้นเชื้อแบคทีเรีย
ให้มีการสร้าง cytotoxin และเพิ่มการรุกล้ำของเชื้อเข้าสู่ผิวบุ
กระเพาะอาหาร, ทำให้เกิดการอักเสบ, และทำให้เกิดแผลในกระเพาะขึ้น

มีนักวิจัยบางนายชี้ให้เห็นว่า เชื้อ H.pylori และสาร cytotoxin ที่ถูก
สร้างขึ้น จะมีส่วนสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในเซลล์บุผิวกระเพาะอาหาร
 และการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นนั้น มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง
ของกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งอื่น ๆ

ความชุกของการเกิดการอักเสบจากเชื้อ H. Pylori อาจสัมพันธ์กับ
เชื้อชาติ:  60 % ในกคนเชื้อชาติสะเปน และปอตุเกส, 54 % ในกลุ่มคน
ที่เป็นชาว African American ส่วนพวก Anglo American พบได้ประ
มาณ 20 – 29 % และในประเทศที่เจริญแล้ว ปรากฏพบในเด็นได้
สูงขึ้น

<< BACK     NEXT >> p4 : What are the symptoms of H. pylori infections?

H.pylori and dyspepsia p2 : What is H. Pylori ?

May 14,2014

Helicobacter pylori เป็นเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถทำให้เกิดการ
อักเสบเรื้อรังของเยื่อบุภายในกระเพาะอาหารของคนเรา
ไม่เพียงเท่านั้น มันยังเป็นสาเหตุท่ำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ของคนทั่วโลกได้ถึง 90 %


 
เชื้อดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายทางอาหารที่ปนเปื้อน และน้ำที่เรารับทาน
และดื่ม และสามารถติดต่อระหว่างคนที่สมัผัสกันและกัน
จากสถิติของคนในสหรัฐฯ...คนผู้ใหญ่เกิดอักเสบจากเชื้อตัวนี้ถึง 30 %
และครึ่งหนึ่งจะเกิดในคนที่อายุ 60s และเนื่องจากประชาชนได้ทราบ
ถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากความสกปรก จึงทำให้ความชุกของ
โรคลดลง

มีรายงานว่า...
คนทั่วโลกประมาณ 50 % ต่างมีเชื้อ H. Pylori ปรากฏในทางเดินของ
กระเพาะ-ลำไส้ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กระเพาะอาหาร

การอักเสบจากเชื้อดังกล่าวจะพบได้มากในชุมชนที่อาศัยกันหนาแน่น
สุขภาพอนามัยที่ไมดี โดยเฉพาะในประเทศที่ยากจน และสุขภาพ
อนามัยที่ไม่ดี   จะพบว่าผู้ใหญ่จะเกิดอักเสบประมาณ 90 % และมักจะเป็น
พาหะแพร่เชื้อแบคทีเรียไปตลอดชีวิต

ในกลุ่มคนที่มีเชื้อ H. Py;lori... ทุกๆ หนึ่งในหกคนจะมีโอกาสเกิดแผล
ในกระเพาะอาหาร (stomach) หรือลำไส้ส่วนบน (duodenum)
นอกจากนั้น ยังมีรายงานอีกว่า H. Pylori ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
เกิดมะเร็งของกระเพาะอาหาร   และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้น้อย
( Malt lymhoma - มะเร็งของกระเพาะอาหาร)

ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบความสัมพันธ์ระหว่าง โรคเบาหวาน, การอักเสบ,
ระดับ Hemoglobin A1C สูงขึ้น กับเชื้อ H. pylori

<< BACK     NEXT >> p3 Cause of H. Pylori in humans

เมื่อท่านเกิดอาการปวดจุกแน่นท้อง โดยเชื้อแบคทีเรีย (H.pylori & dyspepsia)

May 14,2014

เนื่องจากคนเรามีโอกาสเกิดมีอาการปวด จุกเสียด และแน่นท้อง
(dyspepsia) กันแทบทุกคน บางท่านเป็นน้อย บางท่านเป็นมาก
 และบางท่านมีอาการเรื้อรัง ไม่ยอมหายซักที่

ในขณะที่ท่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ท่านอาจเป็นคนหนึ่ง
 ซึ่งมีชื้อ H. Pylori ซ่อนตัวอยู่ในกระเพาะอาหารของท่านก็ได้

ในการเอาชนะโรคที่เกิดจากเชื้อดังกล่าว
วิธีที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับเชื้อดังกล่าว
นั้นเอง

Next >> P2: What is H. Pylori ?

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 7: Livestyle changes & What is the outlook ? (Prognosis )

May 16,2014

Lifestyle changes:

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรค non-ulcer dyspepsia...

The National Institute for Health and Clinical Evidence
หรือที่เราชอบเรียกสั้นๆ ว่า หน่วยงาน NICE ได้แนะนำให้ปรับ
เปลี่ยนวิถีชีวิตเอาไว้ดังนี้:

 จงแน่ใจว่า ท่านรับทานอาหารตามปกติตรงตามเวลา
 อย่าให้น้ำหนกเพิ่ม จงลดน้ำหนักหากท่านมีน้ำหนักเกิน
 ถ้าท่านสูบบุหรี่ ท่านต้องเลิก
 เลิกดื่มแอลกอฮอล

เป็นที่ทราบว่า อาการของ non-ulcer dyspepsia มีแนวโน้มที่มีลักษณะ
เป็นๆ หายๆ  และคนที่เป็น non-ulcer dyspepsia ไม่มีทางที่จะเป็นโรค
มะเร็ง หรือโรคที่มีความรุนแรงอย่างอื่นอีก
<< BACK

http://www.patient.co.uk/health/Dyspepsia-Non-ulcer-Functional

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 6 : What treatment for non-ulcer dyspepsia ?

May 16,2014

มียาอยู่สองกลุ่มที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่ตกอยู่ในภาวะ
non-ulcer dyspepsia นั้นคือ proton pump inhibitors (PPIs) และ H2-receptor
antagonists   ซึ่งยาทั้งสองกลุ่มต่างทำงานแตกต่างกัน แต่ทั้งสองกลุ่มต่าง
ลดปริมาณของกรดในกระเพาะอาหาร

 PPIs ประกอบด้วย: omeprazole, lansoprazole, pantoprazole,
Rabeprazole, และ esomeprazole.

 H2-receptor antagonists ประกอบด้วย cimetidine, famotidine,
nizatidine และ ranitidine

ถ้ายาที่ใช้รักษาสามารถช่วยคนไข้ และหากคนไข้มีอาการเกิดขึ้นอีก
เราอาจให้ยาซ้ำอีกได้ มีคนไข้จำนวนไม่น่อยที่ใช้ยายับยั้งการสร้างกรด
ในกระเพาะ (PPI) ได้ตามต้องการ   ซึ่งหมายความว่า เมื่อเกิดมีอาการขึ้น
 ให้ใช้ยาในระยะสั้นๆ ได้

มีคนไข้บางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยายับยั้งการสร้างกรดในกระเพาะ
อาหาร (PPI) โดยใช้ยาเป็นประจำทุกวัน (ถ้าคนไข้มีอาการทุกวัน)
โดยทั่วไป เราแนะนำให้ใช้ยาลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารเป็น
เวลานานหนึ่งเดือน

ในการใช้ยาดังกล่าว สามารถใช้ได้ผลในคนไข้บางราย...ไม่ทั้งหมด
ที่มันทำงานได้ผล เป็นเพราะเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารมันมีความไวต่อ
กรดในกระเพราะอาหาร   หรืออาจเป็นเพราะมีการอักเสบของเยื่อบุผิว
ของกระเพาะอาหารเพียงเล็กน้อย   ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยกล้อง

Clearing H. pylori infection:

ถ้าท่านมีการอักเสบจากเชื้อ H. Pylori การรักษาที่ท่านควรได้รับ
คือการกำจัดเชื้อ H. Pylori ให้หมดไป
อย่างไรก็ตาม ได้กล่าวมาก่อนแล้วว่า การตรวจพบเชื้อ H. Pylori
อาจเป็นเพี่ยงการเกิดร่วมกันเท่านั้น โดยที่เชื้อ H. Pylori ไม่ใช้
ต้นตอของอาการปวดท้องแต่อย่างใด

มีรายงานยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...
มีคนไข้เพียงหนึ่งคนในจำนวน 15 รายเท่านั้นทีเกิดการอักเสบจาก
เชื้อ H. Pylori ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกำจัดเชื้อได้หมดสิ้น

กล่าวอยางสั้น ๆ ในการกำจัดเชื้อ H. Pylori กระทำได้ด้วยด้วย
การใช้ยาปฏิชีวนะสองตัว ร่วมกับการใช้ยายับยั้งการสร้างกรดในกระ
เพาะอาหารเป็นเวลา หนึ่งอาทิตย์

<< BACK     NEXT >> p 7: Lifesyle changes

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 5 : What tests may be done ?

May 16,2014

ในการวินิจฉัยโรค non-ulcer dyspepsia กระทำได้โดยการตรวจ
ไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ไม่มีแผลข ulcer ในกระเพาะ
ดังนั้น ก่อนที่จะทำการวินิจฉัยว่า เป็นโรค non-ulcer dyspepsia   
จำเป็นต้องทำการตรวจด้วยกล้อง (Endoscope)

ในการตรวจด้วยกล้อง..
แพทย์จะใช้ท่อ (flexible telescope) ผ่านท่ออาหาร (esophagus)
ผ่านเข้าสู่กระเพาะอาหาร ถ้าท่านเป็น non-ulcer dyspepsia แพทย์
จะไม่พบความผิดปกติในกระเพาะอาหาร  ผิวกระเพาะอาหารอยู่
ในสภาพปกติ

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญที่เป็น dyspepsia จะไม่ได้รับการตรวจด้วย
กล้อง (endoscope)

การตรวจหาเชื้อ H. Pylori อาจจำเป็นต้องทำ...
ถ้าตรวจพบเชื้อ H. Pylori ในกระเพาะอาหาร มันอาจเป็นสาเหตุที่
ทำให้เกิดิอาการปวดท้อง dyspepsia ได้

กล่าวโดยย่อ..
เราสามารถตรวจหาเชื้อ โดยการตรวจ urea breath test, ตรวจเลือด
หรือตรวจเชื่อจากชิ้นเนื้อที่ได้จากการส่องกล้อง endoscope


<< BACK         NEXT >> p6: Treatment options for non-ulcer dyspepsia?

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 4 : What causes non-ulcer dyspepsia ?

May 16,2014

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า อาการ dyspepsia จะมีต้นเหตุมาจากระบบทาง
เดินอาหารส่วนบน (esophagus, stomach, และ duodenum) โดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้าท่านได้รับการตรวจ จะไม่พบความผิดปกติใดภายในบริเวณดังกล่าว
(เยื้อบุผิว จะมีความเป็นปกติ ไม่มีการอักเสบ,   ปริมาณของกรดภายใน
กระเพาะอาหารมีจำนวนปกติ)

มีหลายทฤษฎีที่พยามอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดทั้อง:

 ความรู้สึกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนบนอาจเปลี่ยนแปลงไป:
ประมาณ 1 ใน 3 ของคนที่เป็น non-ulcer dyspepsia เกิดมีอาการ
ของลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) โดยมีอาการปวดท้องบริเวณ
ด้านล่าง... ซึ่งไม่ทราบสาเหตุเช่นกัน

 การเคลื่อนของอาหาร:
ภายหลังการคลุกเคล้าของอาหารในกระเพาะเป็นที่เรียบร้อย  การเคลื่นตัวสู่
ลำไส้ส่วนบน อาจช้าลงในบางราย  โดยกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารอาจ
ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

การอักเสบจากเชื้อ H. Pylori อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการได้ในบางราย
โดยปรากฏว่า  มีเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori  ในกระเพาะอาหารของคนที่เป็นโรค
 non-ulcer dyspepsia

อย่างไรก็ตาม  มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่พาหะ (carriers) ของเชื้อ H. Pylori 
โดยที่ีเขาเหล่านั้นไม่มีอาการปวดท้องใดๆ

เกิดมีข้อถกเถียงในบทบาทของ H. pylori  ในคนที่เป็นโรค non-ulcer dyspepsia
อย่างไรก็ตาม การรักษาการอักเสบด้วยการกำจัดเชื้อ H. Pylori
อาจช่วยในคนไข้บางราย

 ในบางคน อาหาร และเครื่องดื่มบางชนิดอาจเป็นเหตุทำให้เกิดอาการ dyspepsia
หรือ อาจทำให้อาการปวดท้องที่มีเลวลงได้  โดยเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า..
ทำไม ?

 ความเครียด, ซึมเศร้า, หรือความวิตกกังวล ถุูกคิดว่า
 ทำให้อาการปวดท้องเลวลงได้

 ผลข้างเคียงจากยาบางตัว สามารถทำให้เกิดอาการ dyspepsia ได้
 ที่เป็นปัญหามากสุด คือยากลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, aspirin

มียารักษาหลายตัว บางครั้งสามารถทำให้เกิดอาการ dyspepsia
หรือทำให้อาการเลวลงได้ เช่น antibiotics, steroids, iron,
Calcium antagonists, nitrates, theophyllines, bipphosphonates


<< BACK                NEXT >> p 5: What tests may be done ?

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 3 : What is non-ulcer dyspepsia ?

May 16,2014

คนที่เป็น non-ulcer dyspepsia บางครั้งเราเรียกว่า functional dyspepsia
ซึ่งหมายถึงการมีอาการปวดแน่นท้อง โดยไม่ทราบสาเหตุ
ส่วนพวกที่ทราบสาเหตุ (organic dyspepsia) พบได้ประมาณ 25 % 
มีแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer), แผลในลำไส้ส่วบนสุด
(duodenal ulcer), ท่ออาหารอักเสบ (esophagitis), หรือกระเพาะอักเสบ
(gastritis) เป็นต้น

ถ้าหากส่องด้วยกล้อง (endoscope) ดูภายในกระเพาะอาหาร จะไม่พบ
รอยโรค หรือความผิดปกติใดๆ

Non-ulcer dyspepsia...

อาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ  จัดเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยสุด
โดยเราจะพบได้มากถึง 75 %


<< BACK      NEXT >> p. 4  :  What causes non-ulcer dyspepsia ?

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 2 : What is dyspepsia ?

May 16,2014

Dyspepsia เป็นคำ ซึ่งถูกใช้เพื่อบอกให้ทราบถึงอาการต่างๆ ที่เกิดจาก
ปัญหาในระบบทางเดินอาหารส่วนบน (gastrointestinal tract)
ซึ่งประกอบด้วย ท่ออาหาร (oesophagus), กระเพาะอาหาร (stomach),
และลำไส้เล็กช่วงแรก (duodenum)

อาการสำคัญของ dyspepsia คืออาการปวดท้อง หรือรู้สึกไม่สบายใน
ส่วนบบของบริเวณหน้าท้อง (upper abdomen)   ซึ่งนอกจากอาการปวดท้อง
แล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ อีกด้วย เช่น รู้สึกแสบบริเวณยอดอก (lower chest),
เรอ (belching), อืดท้อง (bloating),  อาการจะหายไปเมื่อรับทานอาหาร,
รู้สึกคลื่นไส้ (nausea) และอาเจียน  โดยอาการต่างๆ มักจะสัมพันธ์
กับการรับทานอาหาร

อาการต่างๆ ที่กล่าวมามักจะเกิดเป็นพักๆ  เดียวเป็น  เด่ี๋ยวหาย มากกว่าที่จะ
มีอาการอย่ตลอดเวลา   แต่มีบางรายเกิดมีอาการบ่อยครั้ง
ซึ่งสามารถกระทบต่อครุณภาพชีวิตได้


<< BACK    NEXT > What is non-ulcer dyspepsia ?

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 1

May 16,2014

ปวดท้องโดยไม่มีรอยแผลในกระเพาะอาหาร (non-ulcer) สามารถทำให้
อาการปวดท้อง และอาการอื่น ๆ ในบริเวณท้องส่วนบน  โดยเราไม่ทราบสาเหตุว่า 
อะไรทำให้มีอาการเช่นนั้น   และในการใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารสามารถ
บรรเทาอาการปวดท้องได้ในบางราย

การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องได้บางราย
เท่านั้น....ดังนั้น การกำจัดเชื้อ H. Pylori ให้หมดไป จะช่วยได้ในคนไข้บางรายเท่านั้น
ซึ่งแสดงว่า เชื้อ H. Pylori ไม่ใช้สาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดท้อง


เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง non-ulcer dyspepsia ดีขึ้น
ให้เรามาทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดขึ้น:

Understanding digestion

เมื่อเรากินอาหารเข้าไป...
อาหารจะผ่านท่ออาหาร (oesophagus) เข่าสู่กระเพาะอาหาร จากนั้น
ตัวกระเพาะอาหารเองจะทำหน้าที่ปล่อยกรด (acid) ออกมา  เพื่อทำหน้าที่
ในการช่วยอาหาร   จากกระเพาะอาหาร อาหารจะเคลื่อนตัวอย่าง
ช้าๆ  เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนบน (duodenum)

ในบริเวณลำไส้ส่วนบน (duodenum) และลำไส้เล็กทั้งหมด   อาหาร
จะถูกคลุกเคล้าด้วยเอ็นไซม์ (chemicals) ที่ได้จากตับอ่อน และจากเซลล์บุ
ผิวของลำไส้เล็ก   ซึ่งมันจะทำหน้าที่ย่อยสลายอาหาร   จากนั้น อาหารที่ย่อย
เป็นที่เรียบร้อยจากลำไส้เล็ก จะถูกดดูดซึมเข้า สู่ร่างกายต่อไป

นั้นคือกระบวนการย่อยอาหารอย่างสั้นๆ

>> NEXT : p2: What is dyspepsia ?

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านมีอาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) : p9 : SUMMARY AND RECOMMENDATIONS

May 16, 2014

1. Dyspepsia หรืออาหารไม่ย่อย เป็นอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่หนึ่งอาการ 
 หรือหลายอาการดังต่อไปนี้: รู้สึกแน่นท้องหล้งกินอาหาร, รู้สึกอิ่มเร็ว,
ปวดบริเวณลิ้นปี หรือมีอาการแสบท้อง โดยมีการประมาณการณ์เอา
ไว้ว่า 25 % ของคนไข้ที่มีอาการตามที่กล่าวมา  ส่วนที่เหลืออี่ก 75 % 
จะไม่พบรอยโรคใด หรือสาเหตุ (idiopathic, nonulcer) 
เราเรียก functional dyspepsia

2. เพื่อนำไปสู่คำวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ dyspepsia
จำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติอย่างละเอียด, ตรวจร่างกาย,
และตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์   พื่อแยกโรคตางๆ เป็นต้นว่า
กรดไหลย้อน (GERD), จากยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs และรวมไปถึง
อาการเตือน (alarm features) ว่า อาจมีโรคอย่างอื่น ๆ

3. ในการรักษาอาการของคนไข้ที่มาด้วยอาการปวด dyspepsia
จำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูลต่างๆ เช่น อาการเตือน (alarm features),
อายุ, ความชุกของโรอักเสบจากเชื้อ H. Pylori

4. ในคนปวดท้อง ซึ่งมีอาการเตือน (alarm features) และมีอายุ
มากกว่า 55 ควรได้รับการตรวจ upper endoscope แต่เนิ่น
หากเป็นไปได้ดวรทำการตรวจภายใน 2 อาทิตย์

5. ในคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD) และปวดท้องจากกินยา NSAIDs 
ควรได้รับการรักษาทันทีด้วยยา proton pump inhibitor (PPI) เป็น
เวลา 8 อาทิตย์ และเลิกกินยา NSAID

6. ภายหลังการกินยาครบ 8 อาทิตย์ยังปรากฏว่า คนไข้ยังมีอาการต่อเนื่อง 
หรือ คนไข้มีอาการเตือนว่าเป็นโรคอย่างอื่น ควรได้รับ
การตรวจหาสาเหตุต่อไป

7. ในคนไข้ที่มีอายุมากกว่า 55 ไม่มีอาการเตือนอย่างอื่น...
ถ้าอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความชุกของการติดเชื้อ H.pylori
สูงมากกว่า 10 % ควรได้รับารตรวจหาเชื้อ H. Pylori  ถ้าผลการตรวจพบว่า 
คนไข้มีเชื้อ H. Pylori ควรได้รับการรักษา โดยมีเป้าหมายทำลายเชื้อ H. Pylori 
ให้หมดสิ้น (eradication therapy)

8. สำหรับคนที่อาศัยในบริเวณที่มีความชุกของเชื้อ H.pylori ต่ำกว่า 5 % 
เขาแนะนำให้ทำการรักษาด้วยยา proton pump inhibitors (PPI) ได้ทันที

9. สำหรับคนที่อาศัยในแห่งที่มีความชุกของ H. Pylori ระหว่าง 5 – 10 % อาจ
ห้ทำการรักษาด้วยยา proton pump inhibitor ได้เลย 
หรืออาจทำการตรวจหาเชื้อ H.pylori (test and treat) ก็ได้
โดยการตรวจ urea breath test หรือ stool antigen assay

และในรายที่ตรวจพบ H. Pylori ควรต้องได้รับการรักษาด้วยยา
ปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ H. Pylori ให้หมดไป (eradication therapy)

ส่วนคนทีตรวจไม่พบ H. Pylori (negative test) และในรายที่ยังคงมีอาการ 
และในรายที่ได้รับการทำลายเชื้อจดหมดไปแล้ว   แต่อาการยังคงมีอยู่...
เขาแนะนำให้ใช้ยา proton pump inhibitor (PPI) ต่ออีก 4 – 8 อาทิตย์

10. ในรายที่ยังคงมีอาการ dyspepsia อย่างต่อเนื่อง ...
คนไข้ควรได้รับการพิจารณาตรวจสอบด้วยกล้อง (endoscopy) ในคนที่ไม่
เคยตรวจมาก่อน และควรตัดเอาชิ้นเนื้อไปทำการตรวจ (biopsies) 
เพื่อตรวจหาเชื้อ และแยกโรค Ciliac diease

11. ในคนไข้ที่ยังคงมีอาการ dyspepsia นานถึง 3 เดือน หลังเกิดอาการ หรือ 6 
เดือนหลังการวินิจฉัย และไม่สามารถตรวจพบรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร
 (structural disease) ควรได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Functional dyspepsia

<< BACK

Sources:

o Uptodate
o Ncbi.nlm
o Mayoclinic