วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านเป็นโรคไต...ท่านจะปฏิบัติตนอย่างไร ? CKD and nutrition

May 19,2014

เมื่อคนเราเป็นโรคไตขึ้นมา....
เวลาผ่านไป การทำงานของไตจะทรุดลงเรื่อยๆ แต่หากเราทราบแต่แรก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยารักษา ก็สามารถรักษาการทำงาน
ของไตเอาไวได้

โรคไตระยะที่ 3 (Stage 3 chronic kidney disease) หมายถึงไตถูก
ทำลายลงพประมาณ ( GFR 30 – 59) โดยที่ไตยังสามารถขับเอาของ
เสีออกจากกาย ไม่จำเป็นต้องทำการฟอกเลือด (dialysis)
เพื่อป้องกันไม่ใหร่างกายมีการสะสมของเสียไว้ในกาย และให้ไตยัง
สามารถทำงานได้ตามปกติ เราจำเป็นต้องลดระดับของเสียภายในกระ
แสเลือดลง ซึ่กระทำได้ด้วยการปรับการรับทานอาหาร เพื่อป้องกัน
ไม่ให้ไตถูกลายมากกว่าไปกว่าเดิม

o Protein Restrictions:
อาหารประเภทโปรตีน จะทำหน้าที่เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้คงสภาพ
เดิมเอาไว้  และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้เป็นปกติ
การลดอาหารประเภทโปรตีนลง จะทำให้้ปริมาณของเสียอันเกิดจาก
การเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนลงด้วย  
และเป็นการลดงานของไตลงตาม

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานดูแลโรคไต (DaVita) ในสหรัฐฯ ได้แนะนำเอา
ไว้ว่า  การฟอกเลือดจะกระทำในโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD)
ส่วนไตเรื้อรังในระยะ 3...เพ่ียงแค่ควบคุมอาหารประเภทโปรตีนไม่ให้รับ
ประทานมากเกิน  ก็เพียงพอต่อการทำให้ไตทำงานได้ยืดยาวออกไป
โดยกำหนดให้คนเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 3 จำกัดอาหารโปรตีน  0.8 กรัม
ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม

o Phosphorous and Calcium:
Phosphorous เป็นแร่ธาติ ซึ่งทำงานร่วมกับ Calcium ทำหน้าทีให้
กระดูกอยู่ในสภาพสมบูรณ์เป็นปกติ

ในคนที่เป็นโรคไต หรือไตเสื่อมลง จะทำให้ระดับของ Phosphorous
ในกระแสเลือดสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอาการคัดนที่ผิวหนัง และทำให้
กระดูกสูญเสีย calcium ไป

ในภาวะของโรคไตในระยะนี้ (Stage 3) ท่านจำเป็นต้องจำกัดปริมาณ
ของ ธาติ  phosphorous ลงโดยการกำจัดอาหารประเภท ถั่ว (beans),
พืชประเภทฝัก (legumes), เบียร์ (beer), และน้ำอัดลม (carbonated
Bevages) ทั้งหลาย

ท่านสามารถรับทานสาร phosphorus binders เพื่อจัดการกับธาตุ
Phosphorous ที่มีมากเกินออกทิ้งไป โดยอาหารเสริมมีแคเลเซียม
ที่มีความเข็มข้นสูง สามารถสะกัดกั้นไม่ให้มีการดูดซึมเอาแร่ธาติ
Phosphorous จากลำไส้ได้ หรือท่านอาจรับประทานอาหารที่มีแร
ธาติแคลเซี่ยมในปริมาณสูง ก็สามมารถทำให้ปริมาณของ phosphorous
ในกระแสเลือดลดต่ำ และเป็นการป้องกันไมให้เกิดโรคกระดูกใน
คนไข้ที่เป็นโรคไตได้

o Electrolytes:
อีเล็กโตไลท์ มีบบาทในการหดเกณ้งของกล้ามเนื่อ และรักษาดุล
ของน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย แต่หากมีปริมาณมากไป
สามารถทำให้เกิดปัญหาขึ้นกบหัวใจได้

Potassium เป็นแรธาตุทำหน้าที่เป็นสารประกอบที่แตกตัวเป็นอตอม
ที่ละลายในน้ำ เป็นตัวนำไฟฟ้าเหมือนกับ sodium โดยมีหน้าที่ในการ
คงสภาพการหดตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ รวมไปถึงอัตราการเต้น
ของหัวใจให้เป็นปกติ

ในคนไข้โรคไตรื้อรังระยะที่ 3 ...
การรับประทานอาหารที่มี มีรสเค็ม  หรือม่ี sodium ในปริมาณสูง 
สามารถทำให้มีน้ำ "ถูกกัก" ในร่างกายในปริมาณเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะส่ง
เสียต่อการทำงานของไต  ดังนั้น คนที่เป็นโรคไตจึงจำเป็นต้องจำกัดอ
าการที่มีรสเค็มลง   และให้หลีกเลี่ยงอาการที่ปรุงสำเร็จ 
เพราะอาหารประเภทนี้มีโซเดียมสูง

o Fat-Soluble Vitamins
DaVita แนะนำให้ใช้ vitamin D ที่เป็น water-soluble form ให้แก่
คนไข้ เพราะในรายที่เป็นโรคไต อาจไม่สามารถเปลี่ยน UV light
ให้เป็น active form vitamin D ได้

o Fluid Restrictions
ในคนไข้ที่เป็นไตวายระยะสุดท้ายจำเป็นต้องจำกัดจำนวนน้ำดื่ม
เพราะไตไม่สามารถกำจัดที่เกินออกจากร่างกายได้
เป็นเหตุให้น้ำที่มีจำนสวนมากไป (extra fluid) จะกระทบกับการทำงาน
ของหัวใจ...โดยคนไข้จะต้องรายงานให้แพทย์ได้รับทราบเมื่อปรากฏว่า 
มีอาการบวมเกิดขึ้นที่บริเวณรอบๆ ตา  หรือมีอาการบวมี่ขาทั้งสอง, 
แขนทั้งสอง หรือหน้าท้อง

ด้านปฏิบัติ...ท่านสามารถคำนวณได้อย่าวง่าย ๆ ดังนี้...
ให้ตวงปริมาณปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง สมมุติวัดได้ x ซีซี
ให้เอาจำนวนนี้ + ปริมาณของเหงือที่ถูบขับออกจากกายโดย
เฉลี่ยประมาณ 400 ซีซี (ถ้าอาการร้อนมาก หรือมีเหงือออกมาก
ให้เพิ่มตามส่วน....นั้นคือปริมาณของน้ำที่ท่านจะต้องดื่มต่อวัน


http://www.livestrong.com/stronger/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น