วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านเป็นโรคไต...ท่านจะปฏิบัติตนอย่างไร ? CKD and nutrition

May 19,2014

เมื่อคนเราเป็นโรคไตขึ้นมา....
เวลาผ่านไป   พบว่า การทำงานของไตจะทรุดลงเรื่อยๆ  ถ้าเราทราบตั้งแต่แรก
เพียงแค่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยารักษา ก็สามารถรักษา
การทำงานของไตเอาไวได้

โรคไตระยะที่ 3 (Stage 3 chronic kidnesy disease) หมายถึงสมรรถภาพการ
ทำงานของไตยังสามารถกรองเอาของเียออกจากร่างกายได้เพียง 30-59 %
( GFR 30 – 59) โดยที่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีิวิตได้โดยไม่ต้องทำการฟอก
เลือด (dialysis)

เพื่อให้ไตสามารถทำงานได้เป็นปกติไม่ต้องทำงานหนัก  เราจำเป็นลด
ระดับของเสียอันเกิดจากสารอาหาร  ซึ่สามารถกระทำได้ด้วยการการปรับ
การรับประทานอาหารลง  ดังนี:

o Protein Restrictions:
อาหารประเภทโปรตีน จะทำหน้าที่เพื่อคงสภาพของมวลกล้ามเนื้อเอาไว้ 
และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ตามปกติ
การลดอาหารประเภทโปรตียนลง จะเป็นการลดของเสียที่เกิดจากการเผา
ผลาญโปรตีนลง นั้นคือ urea และ creatinine

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานดูแลโรคไต (DaVita) ในสหรัฐฯ ได้แนะ
นำเอาไว้ว่า การฟอกเลือดจะกระทำในโรคไตที่อยู่ในระยะสุดท้าอย
ส่วนไตเรื้อรังในระยะ 3... เป็นหน้าที่ของนักโภชนาการ ซึ่งเขาจะแนะนำให้
รับปรtทานอาหารที่มีคุณภาพ (healthy diet) โดยมีโปรตีน 0.8 gram /ต่อ
น้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรีม

o Phosphorous and Calcium:
Phosphorous เป็นแร่ธาติ ซึ่งทำงานร่วมกับ Calcium ทำหน้าทีให้กระดูกอยู่
ในสภาพสมบูรณ์เป็นปกติ   ในคนที่เป็นโรคไต หรือไตเสื่อมลง จะทำให้
ระดับของ Phosphorous ในกระแสเลือดสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอาการคัน
ที่ผิวหนัง และทำให้กระดูกสูญเสีย calcium ไป

ในภาวะของโรคไตในระยะนี้ (Stage 3) ท่านจำเป็นต้องจำกัดปริมาณ
ของธาติ phosphorous   โดยการกำจัดอาหารประเภท ถั่ว (beans), พืชประเภทฝัก
(legumes), เบียร์ (beer), และน้ำอัดลม (carbonated  bevages) ทั้งหลาย

ท่านสามารถรับทานสาร phosphorus binders เพื่อจัดการกับธาตุ
Phosphorous ที่มีมากเกินออกทิ้งไป โดยอาหารเสริมมีแคลเซียมที่มีความเข็มข้น
สูง สามารถสะกัดกั้นไม่ให้มีการดูดซึมเอาแร่ธาติ phosphorous จากลำไส้ได้ 
หรือท่านอาจรับประทานอาหารที่มีแรธาติแคลเซี่ยมในปริมาณสูง ก็สามมารถทำ
ให้ปริมาณของ phosphorous  ในกระแสเลือดลดต่ำ และเป็นการป้องกันไมให้
เกิดโรคกระดูกในคนไข้ที่เป็นโรคไตได้

o Electrolytes:
อีเล็กโตไลท์ มีบทบาทในการหดเกร็งของกล้ามเนื่อ   และรักษาดุลของน้ำ
ที่อยู่ภายในเซลล์ต่างๆ    แต่หากมีปริมาณมากไปสามารถทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับ
หัวใจได้

Potassium เป็นแรธาตุทำหน้าที่เป็นสารประกอบที่แตกตัวเป็นอะตอม
ที่ละลายในน้ำ เป็นตัวนำไฟฟ้าเหมือนกับ sodium  โดยมีหน้าที่ในการคงสภาพ
การหดตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ รวมไปถึงอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ

ในคนไข้โรคเต้เรื้อรังระยะที่ 3 ...
การรับประทานอาหารที่มี sodium ในปริมาณสูง สามารถทำให้มีน้ำในร่างกายสูง 
โดยจะก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของไต   ดังนั้น คนที่เป็นโรคไตจึงจำเป็น
ต้องจำกัดอาการที่มีรสเค็มลง   และให้หลีกเลี่ยงอาการที่ปรุงสำเร็จ
เพราะอาหารประเภทนี้มีโซเดียมสูง

o Fat-Soluble Vitamins
DaVita แนะนำให้ใช้ vitamin D ที่เป็น water-soluble form ให้แก่
คนไข้ เพราะในรายที่เป็นโรคไต อาจไม่สามารถเปลี่ยน UV light
ให้เป็น active form vitamin D ได้

o Fluid Restrictions
ในคนไข้ที่เป็นไตวายระยะสุดท้ายจำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม 
เพราะไตไม่สามารถกำจัดน้ำที่เกินออกจากร่างกายได้
เป็นเหตุให้น้ำส่วนเกิน (extra fluid) ถูกกักภายในกาย  ก่อให้เกิดผลเสียกับ
การทำงานของหัวใจ...

http://www.livestrong.com/stronger/










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น