วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Non-ulcer dyspepia (Functional) P. 4 : What causes non-ulcer dyspepsia ?

May 16,2014

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า อาการ dyspepsia จะมีต้นเหตุมาจากระบบทาง
เดินอาหารส่วนบน (esophagus, stomach, และ duodenum) โดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้าท่านได้รับการตรวจ จะไม่พบความผิดปกติใดภายในบริเวณดังกล่าว
(เยื้อบุผิว จะมีความเป็นปกติ ไม่มีการอักเสบ,   ปริมาณของกรดภายใน
กระเพาะอาหารมีจำนวนปกติ)

มีหลายทฤษฎีที่พยามอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดทั้อง:

 ความรู้สึกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนบนอาจเปลี่ยนแปลงไป:
ประมาณ 1 ใน 3 ของคนที่เป็น non-ulcer dyspepsia เกิดมีอาการ
ของลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) โดยมีอาการปวดท้องบริเวณ
ด้านล่าง... ซึ่งไม่ทราบสาเหตุเช่นกัน

 การเคลื่อนของอาหาร:
ภายหลังการคลุกเคล้าของอาหารในกระเพาะเป็นที่เรียบร้อย  การเคลื่นตัวสู่
ลำไส้ส่วนบน อาจช้าลงในบางราย  โดยกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารอาจ
ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

การอักเสบจากเชื้อ H. Pylori อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการได้ในบางราย
โดยปรากฏว่า  มีเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori  ในกระเพาะอาหารของคนที่เป็นโรค
 non-ulcer dyspepsia

อย่างไรก็ตาม  มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่พาหะ (carriers) ของเชื้อ H. Pylori 
โดยที่ีเขาเหล่านั้นไม่มีอาการปวดท้องใดๆ

เกิดมีข้อถกเถียงในบทบาทของ H. pylori  ในคนที่เป็นโรค non-ulcer dyspepsia
อย่างไรก็ตาม การรักษาการอักเสบด้วยการกำจัดเชื้อ H. Pylori
อาจช่วยในคนไข้บางราย

 ในบางคน อาหาร และเครื่องดื่มบางชนิดอาจเป็นเหตุทำให้เกิดอาการ dyspepsia
หรือ อาจทำให้อาการปวดท้องที่มีเลวลงได้  โดยเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า..
ทำไม ?

 ความเครียด, ซึมเศร้า, หรือความวิตกกังวล ถุูกคิดว่า
 ทำให้อาการปวดท้องเลวลงได้

 ผลข้างเคียงจากยาบางตัว สามารถทำให้เกิดอาการ dyspepsia ได้
 ที่เป็นปัญหามากสุด คือยากลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, aspirin

มียารักษาหลายตัว บางครั้งสามารถทำให้เกิดอาการ dyspepsia
หรือทำให้อาการเลวลงได้ เช่น antibiotics, steroids, iron,
Calcium antagonists, nitrates, theophyllines, bipphosphonates


<< BACK                NEXT >> p 5: What tests may be done ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น