May 16, 2014
1. Dyspepsia หรืออาหารไม่ย่อย เป็นอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่หนึ่งอาการ
หรือหลายอาการดังต่อไปนี้: รู้สึกแน่นท้องหล้งกินอาหาร, รู้สึกอิ่มเร็ว,
ปวดบริเวณลิ้นปี หรือมีอาการแสบท้อง โดยมีการประมาณการณ์เอา
ไว้ว่า 25 % ของคนไข้ที่มีอาการตามที่กล่าวมา ส่วนที่เหลืออี่ก 75 %
จะไม่พบรอยโรคใด หรือสาเหตุ (idiopathic, nonulcer)
เราเรียก functional dyspepsia
2. เพื่อนำไปสู่คำวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ dyspepsia
จำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติอย่างละเอียด, ตรวจร่างกาย,
และตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ พื่อแยกโรคตางๆ เป็นต้นว่า
กรดไหลย้อน (GERD), จากยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs และรวมไปถึง
อาการเตือน (alarm features) ว่า อาจมีโรคอย่างอื่น ๆ
3. ในการรักษาอาการของคนไข้ที่มาด้วยอาการปวด dyspepsia
จำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูลต่างๆ เช่น อาการเตือน (alarm features),
อายุ, ความชุกของโรอักเสบจากเชื้อ H. Pylori
4. ในคนปวดท้อง ซึ่งมีอาการเตือน (alarm features) และมีอายุ
มากกว่า 55 ควรได้รับการตรวจ upper endoscope แต่เนิ่น
หากเป็นไปได้ดวรทำการตรวจภายใน 2 อาทิตย์
5. ในคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD) และปวดท้องจากกินยา NSAIDs
ควรได้รับการรักษาทันทีด้วยยา proton pump inhibitor (PPI) เป็น
เวลา 8 อาทิตย์ และเลิกกินยา NSAID
6. ภายหลังการกินยาครบ 8 อาทิตย์ยังปรากฏว่า คนไข้ยังมีอาการต่อเนื่อง
หรือ คนไข้มีอาการเตือนว่าเป็นโรคอย่างอื่น ควรได้รับ
การตรวจหาสาเหตุต่อไป
7. ในคนไข้ที่มีอายุมากกว่า 55 ไม่มีอาการเตือนอย่างอื่น...
ถ้าอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความชุกของการติดเชื้อ H.pylori
สูงมากกว่า 10 % ควรได้รับารตรวจหาเชื้อ H. Pylori ถ้าผลการตรวจพบว่า
คนไข้มีเชื้อ H. Pylori ควรได้รับการรักษา โดยมีเป้าหมายทำลายเชื้อ H. Pylori
ให้หมดสิ้น (eradication therapy)
8. สำหรับคนที่อาศัยในบริเวณที่มีความชุกของเชื้อ H.pylori ต่ำกว่า 5 %
เขาแนะนำให้ทำการรักษาด้วยยา proton pump inhibitors (PPI) ได้ทันที
9. สำหรับคนที่อาศัยในแห่งที่มีความชุกของ H. Pylori ระหว่าง 5 – 10 % อาจ
ให้ทำการรักษาด้วยยา proton pump inhibitor ได้เลย
หรืออาจทำการตรวจหาเชื้อ H.pylori (test and treat) ก็ได้
โดยการตรวจ urea breath test หรือ stool antigen assay
และในรายที่ตรวจพบ H. Pylori ควรต้องได้รับการรักษาด้วยยา
ปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ H. Pylori ให้หมดไป (eradication therapy)
ส่วนคนทีตรวจไม่พบ H. Pylori (negative test) และในรายที่ยังคงมีอาการ
และในรายที่ได้รับการทำลายเชื้อจดหมดไปแล้ว แต่อาการยังคงมีอยู่...
เขาแนะนำให้ใช้ยา proton pump inhibitor (PPI) ต่ออีก 4 – 8 อาทิตย์
10. ในรายที่ยังคงมีอาการ dyspepsia อย่างต่อเนื่อง ...
คนไข้ควรได้รับการพิจารณาตรวจสอบด้วยกล้อง (endoscopy) ในคนที่ไม่
เคยตรวจมาก่อน และควรตัดเอาชิ้นเนื้อไปทำการตรวจ (biopsies)
เพื่อตรวจหาเชื้อ และแยกโรค Ciliac diease
11. ในคนไข้ที่ยังคงมีอาการ dyspepsia นานถึง 3 เดือน หลังเกิดอาการ หรือ 6
เดือนหลังการวินิจฉัย และไม่สามารถตรวจพบรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร
(structural disease) ควรได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Functional dyspepsia
<< BACK
Sources:
o Uptodate
o Ncbi.nlm
o Mayoclinic
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น