วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Approach to Arthritis 2 continued

8/29/12


เป็นที่ทราบกันแล้วว่า...
คนที่เป็นโรค Rheumatoid arthritis (RA)  ไม่จำเป็นต้องตรวจพบ RF

ความจริงมีว่า นอกจากโรค RA แล้ว  ยังมีสภาวะ หรือโรคอย่างอื่นอีกมากมาย
ที่สามารถตรวจพบ RF ในเลือดได้  โดยคิดเป็นเปอร์เซนต์  ดังนี้

Ø  โรค RA พบได้  80 – 85 %
Ø  คนสูงอายุพบได้  5 %
Ø  โรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ (Chronic rheumatic disease)

o    Primary Sjogren’s disease
o   Mixed cryoglobuliemia  90 – 100 %
o   SLE  20 – 30 %
o   Systemic  sclerosis  20 – 30 %
o   Mixed connective tissue disease  50 – 60 %

Ø  Chronic bacterial infections

o   Subacute bacterial endocarditis 25 – 50 %

Ø  Miscellaneous conditions

o   Sarcoidosis   5 – 33 %
o   Interstitial pulmonary fibrosis 10 – 50 %
o   Chronic active hepatitis  25 – 40 %
  
สำหรับคนไข้ที่เป็นข้ออักเสบ  ตรวจไม่พบ RF (Seronegative arthritis)

ในคนไข้ที่ไม่มี RF ในเลือด...
เราควรแยกระหว่าง กลุ่ม inflammatory  กับกลุ่ม  Non-inflammatory

กลุ่ม inflammatory arthritides  เช่น  โรค RA
จะมีลัษณะเฉพาะของเขา  เช่น  ตื่นเช้าขึ้นมาจะรู้สึกเคลื่อนไหวลำบาก
(morning stiffness)  โดยเป็นนานเกิน 30 นาที,  อาการปวดจะดีขึ้น
เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้ออย่างนุ่มนวล  และ  การตรวจการตกของเม็ดเลือด
ESR  และ  ผลการตรวจ C-reactive Protein จะสูง

สำรับกลุ่ม  non-inflammatory arthritides  จะมีลักษณะเฉพาเช่นกัน
นั้นคือ  กรรเคลื่อนไหวข้อจะลำบากเหมือนกัน แต่เป็นน้อย  และกินเวลา
น้อยกว่า 30 นาที,  ส่วนอาการปวดจะเลวลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อ
ตัวอย่างที่พบเห็น  ได้แก่  โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis)  และ
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism)  


โรค seronegtive inflammatory arthritides  จะถูกแบ่งเป็นสามกลุ่ม

Ø  Mnoarthritis ( มีเพียงข้อเดียว)
Ø  Oligoarthritis (มี 2,3, หรือ 4 ข้อ  เกิดการอักเสบ)
Ø  Polyarthrtis (มีมากกว่า 5 ข้อเกิดการอักเสบ)


เมือท่านมีข้ออักเสบเพียงข้อเดียวเท่านั้น...
สิ่งที่ควรให้ความสงสัย คือ  คนไข้รายนั้นอาจเป็น crystal arthropathy
เช่น  เป็นโรคเก้า (gout)  หรือ  เป็นข้ออักเสบติดเชื้อ (septic arthritis)


ให้ถือเป็นกฎได้เลยว่า...
ถ้าคนไข้รายใดมีข้ออักเสบเพียงหนึ่งข้อ  ให้สงสัยว่าเป็นข้ออักเสบติดเชื้อ
เอาไว้ก่อน  จนกว่าจะวินิจฉัยว่า  ไม่ใช่
ทั้งนี้เพราะ  การปล่อยให้ข้ออักเสบติดเชื้อไว้ไม่รีบรักษา  ผลที่ตามมา  คือ
ข้อจะถูกทำลาย  และ ถือว่าเป็นความผดพลาดอย่างแรงทีเดียว


อย่างไรก็ตาม  คนไข้โรค RA อาจมาด้วยข้ออักเสบเพียงข้อเดียวได้
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยตอนแรก ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม  รูปแบบของโรคจะปรากฏให้เห็นในภายหลัง


เมื่อท่านเกิดเป็นข้ออักเสบเพียงข้อเดียว...
มีโรคอะไรบ้าง  ที่เราควรรู้เอาไว้ ?


โรคข้ออักเสบเกิดขึ้นเพียงข้อเดียว ได้แก่

Ø  ข้ออักเสบติดเชื้อ (Septic arthritis)
Ø  วัณโรคข้อ (Tuberculous arthritis)
Ø  โรคเก้า หรือ โรคเก้าเทียม (Gout or other crystal arthropathy)
Ø  Seronegative spondyloarthropathy (SpA)
Ø  Tumours
Ø  Trauma
Ø  Hemophilia
Ø  Monoarticular presence of polyarticuar disease

สาเหตุของการเกิด oligoarthritis
(เป็นมากกว่าหนึ่งข้อ แต่น้อยกว่าห้าข้อ) สามารถเกิดขึ้นได้หายโรค
เช่น  คนเป็นโรคเก้า  คนไข้อาจมาพบแพทย์ด้วยข้ออักเสบเพียงข้อ
เดียว  หรือ มาด้วยข้ออักเสบหลายข้อได้
(oligoarhritis หรือ polyarthrisits)

เช่นเดียวกัน  คนไข้ที่เป็น Juvenile idiopathic (rheumatoid) arthritis
หรือ Psoriasis  ก็สามารถเกิดการอักเสบของข้อได้หลายข้อเช่นกัน
(oligoarhritis หรือ polyarthritis)

การวินิจโรคเก้า  ต้องตรวจพบคริสตอลของกรดยูริคในข้อ
แต่การมีระดับของยูริคในกระแสเลือดสูง ๆ  (hyperuriaemia)
ไม่ได้หมายความว่า  เป็นโรคเก้า  จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลอย่างอื่นด้วย


สำหรับคนไข้เป็น seronegative spondyloarthropathies (SpA)  ถือเป็น
โรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง  เมื่อท่านพบคนไข้รายใดมีอาการต่อไปนี้
ควรสงสัยเอาไว้ก่อนว่า  เขาอาจเป็นโรค ApA  ได้ 


เช่น  คนไข้มีอายุน้อยกว่า 40  มีอาการปวดหลังจากข้อกระดูกสันหลังอัก
เสบ  มีข้อที่ต่ำกว่าระดับบั้นเอวเกิดการอักเสบ  เช่น  ข้อเข่า ,  ข้อเท้า
โดยไม่ต้องเกิดทั้งสองข้าง
คนไข้ส่วนใหญ่ (ApA  จะตรวจพบ  HLA-B27  ในกระแสเลือด


สาเหตุที่ทำให้เกิดข้ออักเสบได้หลายข้อ (น้อยกว่า 5 ข้อ –Oligoarthritis)
ได้แก่โรคต่อไปนี้:

Ø  โรคเก้า (Gout)
Ø  โรค Juvenile idiopathic (rheumatoid) arthritis
Ø  โรค Psoriasis
Ø  โรค Seronegative spondyloarthopathies (SpA)


โรคที่อยู่ในกลุ่ม Seronegative spondyloarthropathies (SpA)  ได้แก่:

Ø  Ankylosing spondylitis
Ø  Reacitve arthritis  (รวมถึง Reiter’s Syndrome)
Ø  Psoriatric spondylotarthropathy)
Ø  Inflammatory bowel disease (enteropathic spondyloarthropathy)
Ø  Juvenile  spondyloarhropathy
Ø  Undifferentiated spondyloarhropathy)


ลักษณะของโรค Seronegative spondyloarthropatheis  มีดังต่อไปนี้

คำว่า seronegative  หมายถึงตรวจเลือดไม่พบ Rheumatoid factor
ข้ออักเสบที่เกิด  จะเกิดกับแกนกลางของร่างกาย 
ซึ่งหมายถึงกระดูกสันหลัง  ที่พบบ่อย  คือ กระดูกสันหลังส่วนล่วง (บั้นเอว)
ที่ถือว่าสำคัญสุด  ข้ออักเสบที่เกิดขึ้น  คือ sacro-iliac joint


สำหรับข้อที่เกิดการอักเสบ  ทีอยู่ส่วนปลาย  จะอยู่ต่ำกว่าบั้นเอว
เช่น  ข้อเข่า,  ข้อเท้า  จำนวนต่ำกว่าห้าข้อ  สองข้างเกิดไม่เหมือนกัน
อาการปวดตามเส้นเอ็นตรงตำแหน่งที่ยึดกระดูก ซึ่งเราเรียกว่า
Enthesopathy  ถือว่า  เป็นลักษณะเฉพาะของโรคอย่างหนึ่ง
เป็นโรคที่พบในคนที่มีอายุน้อยกว่า 40
และพบในเพศชายได้มากว่าเพศหญิง


คนเป็นโรคไขข้ออักเสบ  ที่จัดอยู่ในกลุ่ม
seronegative inflammatory polyarthritides  มีลักษณะที่สำคัญ  ที่เราควรรู้

o   มีอาการนอกข้อ  เช่น  ไข้ (fever), มีแผลในปาก (oral ulcers),
malar rask, และ ผมล่วง (alopecia)...
ถ้าท่านพบอาการดังกล่าว  ให้นึกถึงโรค Lupus

o   ข้ออักเสบที่เกิดในโรค lupus  อาจแยกจากโรค RA ไม่ได้ 
แต่โรคข้ออักเสบในโรค Lupus  จะไม่ทำลายข้อ (non-erosive)
ส่วนโรคข้ออักเสบ RA  จะมีการำลายข้ออย่างช้า ๆ

o   ถ้าคนไข้เกิดมีอาการ Raynaud’s phenomenon ร่วมกับปวดข้อ
ให้นึกถึงโรค scleroderma

o   ถ้าข้ออักเสบ  เกิดมีผิวหนังเป็นสะเก็ดเงิน  ให้ถือว่าเป็น psoriatic
Arthropathy

o   ถ้าข้ออักเสบ  มีถ่ายอุจจาระเป็นเลือดด้วย  ให้นึกถึงโรค enteropathic
Arthritis

o   ส่วนการวินิจฉัยโรค Still’s Disease ซึ่งเป็นโรคในผู้ใหญ่  โดยทั่วไป
จะวินิจฉัยได้โดยพิจารณาตัดสินว่า แต่ละโรคที่กำลังพิจารณานั้นไม่ใช่
โรคที่กำลังสงสัย


โรคไขข้อในกลุ่ม  Seronegative inflammatory polyarthritides
ซึ่งมีข้อมากกว่า 5 ข้อ  ขึ้นไป ได้แก่

Ø  Seronegative RA
Ø  Psoriatic arthropathy
Ø  SLE
Ø  Scleroderma
Ø  Juvenile idiopathic arthritis
Ø  Adult onset of Still’s disease
Ø  Inflammatory bowel  disease


โดยสรุป  การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบส่วนใหญ่  เพียงอาศัยข้อมูลจากประวัติ
และ  การตรวจร่างกาย  ก็สามารถวินิจฉัยโรคไข้ข้ออักเสบได้แล้ว
สำหรบการตรวจพิเศษต่าง ๆ เป็นเพียงการเสริมเข้าไปเท่านั้นเอง
แต่ไม่สามารถทดแทน การตัดสินทางด้านคลินิกได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น