วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Gestational Diabetes : Prevention & treatment (continued 2)

8/9/12
การป้องกัน (Prevention)
เราไม่มีทางป้องกันไม่ให้เกิดเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้
อย่างไรก็ตาม  การควบคุมน้ำหนักตัวก่อนตั้งท้อง  สามารถลดความเสี่ยงต่อการ
เกิดภาวะดังกล่าวได้  และเขาไม่แนะนำให้จำกัดอาหารในขณะท้อง 
เพราะการรับทานอาหารที่เพียงพอ  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของ gestational diabetes 
สามารถกระทำได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด...
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสูตินารีแพทย์อย่างไกล้ชิด
ภายหลังการตั้งตั้งครรภ์...
ท่านสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทสองได้ 
โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  และจำกัดอาหาร  สามารถลดความเสี่ยง
ต่อการเกิดเบาหวานในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
ยา Metformin (Glucophage) สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเบาหวาน
ในคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงมากนักในคนที่ไม่ตั้งท้อง 
การรักษา (Treatment)
มีสตรีตั้งครรภ์จำนวนหนึ่ง สามารถรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดได้ดี 
ด้วยวิธีการควบคุมเรื่องอาหาร....หากท่าใดต้องการกระทำด้วยวิธีการดังกล่าว 
ควรปรึกษานักโภชการให้วางแผน  การรับทานให้ดี 
พร้อมกับตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะ ๆ
ถ้าการควบอาหารไม่บรรลุตามเป้าหมาย...
แพทย์จะสั่ง insulin ให้แก่ท่าน  เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้แก่ท่าน
สำหรับยาเม็ดลดระดับน้ำตาล  ไม่นิยมใช้กัน...
เพราะมันจะมีผลกระทบต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา
(แม้ว่าบางชาติ  อาจมีการสั่งให้ก็ตาม...)
Insulin  เป็นยาที่ถูกนำมาใช้รักษาเบาหวานในสุภาพตรีตั้งครรภ์
ที่เคยเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่ง (DM1)  และ
สตรีเป็นเบาหวานในขณะตั้งท้อง  ถือว่า  เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัย 
ซึ่งต้องตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
การที่สตรีตั้งครรภ์... 
แล้วเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น (gestational  diabetes)…
มันจะก่ออันตรายให้เกิดแก่ทารกในครรภ์  มันแตกต่างจากสตรี
ที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (DM1)   ตรงที่เบาหวานที่เกิดในขณะตั้งท้อง 
จะไม่ก่อให้เกิดความพิการในเด็กได้   แต่เด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นเบาหวาน
เกิดในขณะตั้งครรภ์นั้น  อาจประสบกับภาวะแทรกซ้อนจากการมีขนาดโต
กว่าทารกที่คลอดตามปกติ (ซึ่เราเรียกว่า macrosomia)

การที่ทารกมีขนาดโตนั้น  
เป็นเพราะทารกต้องสัมผัสกับน้ำตาลของแม่  ที่มีจำนวนมากกว่าปกตินั้นเอง 
ถ้าหากเราไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลของแม่ได้ 
ทารกมีโอกาสเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ได้
และการที่จะคลอดเองตามธรรมชาติ  มักจะลำบาก  จำเป็นต้องทำการผ่า
ตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง (Caesarean delivery)
ถ้าทารกไม่คลอดภายในระยะเวลา  38 อาทิตย์ของการตั้งท้อง...
แพทย์อาจแนะนำให้มีการเร่งให้มีการคลอด (inducing labor) หรือ
อาจแนะนำให้ทำการผาตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ทารกที่เกิดจากสตรีเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ 
ยังมีโอกาสเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดได้...
ก่อนคลอด... 
ทารกเคยชนกับการมีปริมาณอินซูลินในเลือดสูงทุกวัน  
เพื่อช่วยให้เด็กทารกสามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้
พอหลังคลอด...เด็กหลังคลอด  ตับอ่อนของเขา 
จะต้องปรับตัวสักระยะหนึ่ง  ถ้าตับอ่อนสร้างอินซูลินหลังคลอดมากไป 
โดยเฉพาะระยะชั่วโมงแรก ๆ  จะทำให้ระดับน้ำตาล
ในเลือดของทารกต่ำกว่าปกติในระยะสั้นๆ ได้
ดังนั้น ถ้าท่าน (มารดา) เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ 
เด็กที่คลอดควรได้รับการตรวจดูเลือดดูระดับน้ำตาลเป็นระยะหลังคลอด 
และถ้าจำเป็น  เด็กอาจได้รับการฉีดกลูโกสเข้าเส้น 
เพื่อแก้ภาวะการณ์ที่มีน้ำตาลต่ำได้
นอกจากระดับน้ำตาลที่อาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว 
ในทารกที่คลอดจากแม่ที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์  
 อาจมีความผิดปกติในระดับของแร่ธาตุบาง เช่น calcium
ซึ่งควรได้รับการตรวจดูระดับของแร่ธาตุตัวดังกล่าวด้วย
เมื่อสตรีตั้งครรภ์ขึ้น  เราควรฝากท้องกับแพทย์เมื่อใด ?
สตรีตั้งครรภ์ทุกราย  ควรได้รับการฝากครรภ์กับแพทย์ทุกคน 
มีการตรวจร่างกาย  รวมทั้งตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์เป็นระยะ  และ  
สตรีทุกคนที่ตั้งครรภ์  ควรได้รับการตรวจ Oral glucose  challenge test 
โดยเฉพาะ ในช่วงตั้งครรภ์ได้ 24 – 28  อาทิตย์ เสมอ 
ส่วนสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง  ควรได้รับการตรวจแต่เนิ่น ๆ
การพยากรณ์โรค (Prognosis)
ส่วนใหญ่แล้ว  โรคเบาหวานที่เกิดในขณะสตรีกำลังตั้งครรภ์...
มันเป็นภาวะ (โรค) ที่เกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ เท่านั้นเอง
ปรากฏว่า  มีมากกว่าสามในสี่ของสตรีที่เป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ 
เมื่อคลอดบุตรแล้ว  ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะกลับสู่ระดับปกติทันที
อย่างไรก็ตาม  จะพบว่า  สตรีใดที่เคยเป็นเบาหานในขณะตั้งท้อง 
มีโอกาสเป็นอีก  เมื่อตั้งท้องครั้งใหม่  และ มักมีมีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทสองในภายหลังได้สูงมาก....
ซึ่งเธอควรได้รับการตรวจเช็ดเลือดดูระดับนำตาลเป็นระยะ...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น