วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Approach to Arthritis with Inflammatory Bowel Disease 1

8/29/12


มีผู้ป่วยบางคน  นอกจากจะทรมานจากโรคในระบบทางเดินอาหารแล้ว...
ยังต้องมาทุกข์ทรมานจากโรคไขข้ออีก   จัดเป็นความทุกข์ของมนุษย์ 
ที่ต้องต่อสู่ต่อไป   และเพื่อการควบคุมโรคดังกล่าวให้ได้
ลองมาศึกษาดูซิว่า....มันคือโรคอะไร ?

มีโรคของระบบทางเดินอาหารชนิดหนี่ง  เรียก  Inflammatory bowel disease
ซึ่งเราหมายถึงโรคสองชนิด  หนึ่ง Cron’s disease และ ulcerative coilitis
ทั้งสองโรค  จะสังเกตเห็นการอักเสของลำไส้  โดยถูกคิดว่า
เป็นความผิดปกติในระบบภูมิต้านทานของตนเอง 
ซึ่ง ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีลำไส้ของตนเองด้วยการเข้าใจผิด 
นอกจากนั้น  มันยังทำลายร่างกายส่วนอื่นอีกด้วย

มีคนไข้บางราย  ที่มีอาการอักเสบของลำไส้  
มีไขข้ออักเสบที่มีลักษณะคล้ายกับโรค “รูมาตอยด์” 
แต่มีความผิดปกติบางอย่าง  ที่สามารถแยกจากโรคชนิดอื่นได้



คนไข้ที่ข้ออักเสบ  ที่เกิดร่วมกับลำไส้อักเสบ  การอักเสบมีแนวโน้มที่เกิดไม่กี่ข้อ
ซึ่งเป็นข้อใหญ่  และ  ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับข้อทั้งสองข้างเหมือนกัน
ยกตัวอย่าง....ข้ออักเสบที่เกิด  อาจเป็นข้อเข่าอักเสบด้านหนึ่ง  และ
เป็นข้ออักเสบของข้อเท้าด้านตรงข้าม

ในโรครูมาตอยด์  จะพบว่า 
ข้ออักเสบที่เกิดขึ้น  จะเกิดขึ้นที่ข้อเล็กของมือ  และข้อมือทั้งสองข้างเท่า ๆ ได้เท่า ๆ กัน
ส่วนภูมต้านทาน (antibodies)  ที่พบเห็นในโรค “รูมาตอยด์ “ 
จะไม่พบในคนที่เป็นลำไส้อักเสบ (IBD) ร่วมกับข้ออักเสบ


นอกจากนั้น  โรค  arthritis  ที่เกิดร่วมกับโรค IBD
ยังอาจเกิดการอักเสบของกระดูกสันหลังระดับล่าง  เช่น  sacroiliac joints  และ...
ในคนไข้พวกนี้  ยังสามารถตรวจพบพันธุกรรมชนิดหนึ่ง  เรียก HLA-B27

ปัญหาของลำไส้  ที่เกิดจากการอักเสบของลำไส้เล็ก 
มักจะเกิดก่อนที่มีไขข้อกัเสบเป็นเวลานาน  บางครั้ง  อาจมีคนไข้บางรายมาพบแพทย์
ด้วยอาการข้ออักเสบมาก่อนเป็นเวลานานหลายปี 
ก่อนที่จะมีอาการของไส้อักเสบเกิดขึ้น

อาการ (Symptoms)

อาการของลำไส้อักเสบ (IBD)  ซึ่งประกอบด้วย ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด (bloody diarrhea) 
ปวดท้อง (abdominal cramp) และ เป็นไข้ (fever)
ส่วนไขข้ออักเสบ จะมีข้อบวม  และเคลื่อนไหวลำบาก (stiffness)
โดยเฉพาะเกิดในตอนเช้า  อาการเหล่านี้  มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแหลงตามเวลาที่ผ่านไป  
โดยบางครั้งอาการดีขึ้น  บางครั้งมีอาการเลวลง



ส่วนใหญ่  อาการทางไข้ข้ออักเสบ  จะสัมพันธ์กับอาการทางลำไส้อักเสบ
เช่น  เมื่ออาการทางไขข้อเลวลงเพราะมีอาการบวมมาก  และปวดมาก 
อาการทางลำไส้  มักจะเลวลงด้วย

อาการปวดข้อ รวมถึงการปวดหลังส่วนล่าง  จะมีอาการเลวลงในตอนเช้า
เมื่อมีการเคลื่อนไหว  และ มีการบริหารร่างกาย  จะทำให้อาการดีขึ้น
แต่จะมีอาการมากขึ้นถ้าคนไข้ไม่มีการเคลื่อนไหวเลย


เราไม่มีวิธีการตรวจสำหรับยืนยัน  เพื่อวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ (IBD) ที่เกิดร่วมข้ออักเสบ 
การวินิจฉัยจะอาศัยข้อมูลทางคลินิกทั้งนั้น  เช่น ประวัติความเจ็บป่วย  และ
การตรวจร่างกายดูข้อที่เกิดการอักเสบ



ระยะเวลาที่คาดหวัง (Expected Duration)

โรคไข้ข้ออักเสบ  ที่เกิดร่วมกับลำไส้อักเสบ  มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเรื้อรัง
แม้ว่ามันจะดีขึ้น  หรือ เลวลงเมื่อเวลาผ่านไปก็ตาม
การรักษาบางอย่าง  สามารถทำให้โรคข้ออักเสบหายไปได้  หรือ เบาบางลง
ตัวอย่าง  เช่น  คนไข้ที่เป็นโรค ulcerative colitis เมื่อได้รับการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่
ด้วยการตัดเอาลำไส้ออก (colectomy)  อาจทำให้โรคข้ออักเสบหายได้



การป้องกัน (Prevention)
เป็นที่ยอมรับกันว่า  เราไม่มีทางป้องกันไม่ให้เกิดโรคข้ออักเสบ
ที่เกิดร่วมกับลำไส้อักเสบได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น