วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เมื่อหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia): continued 2

8/1/12

การวินิจฉัย (Diagnosis)

เมื่อท่านไปพบแพทย์   เธอ หรือ เขาจะสอบถามเกี่ยวกับสมาชิคในครอบครัวว่า 
มีใครเป็นโรคหัวใจ  หรือ มีโรคหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) ?
เขาหรือ เธอจะทำการตรวจสอบ...
ประวัติการเกิดโรคของท่านเอง  เขาจะถามถึงโรคต่างๆ
ซึ่งสามารถนำไปสู่การเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วผิดปกติของท่าน  เช่น  โรคหัวใจจาก
หลอดเลือดตีบ, โรคลิ้นหัวใจ,  โรคปอด,   โรคต่อมไทรอยด์, 
รวมไปถึงยาที่ท่านรับทาน  หรืออาหารต่าง ๆ ที่ท่านรับทานเป็นประจำ
นอกจากนั้น  เขายังต้องการให้อธิบายอาการของท่านอีกด้วย

ในระว่างการตรวจร่างกาย...
แพทย์จะทำการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate),
จังหวะการเต้นของหัวใจ  รวมถึงการตรวจชีพจร  ด้วยการวัดชีพจรจากข้อมือ 
ซึ่งมันอาจไม่เข้ากับอัตราการเต้นของหัวใจของท่าน  ที่ท่านฟังได้จากเครื่องฟัง
(stethoscope) 

แพทย์ยังจะต้องตรวจดูว่า... 
ขนาดของหัวใจของท่านว่าโตหรือไม่, มีปัญหาของลิ้นหัวใจไหม (murmurs) 
มีอะไรผิดปกติภายในปอดหรือไม่, และ มีการตรวจดูอาการของต่อมไทรอยด์ทำงาน
ผิดปกติ  เช่น  ตอมไทรอยด์โต, มือสั่น,  กล้ามเนื้อลีบ  และ มีตาถลน 
ซึ่งเป็นอาการของต่อมทำงานมากเกินนั้นเอง

เพื่อเป็นการประเมินการเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วของท่าน...
แพทย์จะทำการตรวจคลื่นของหัวใจ (Electrocardiography) 
แต่มีคนบางคน  หัวใจที่เต้นเร็วอาจปรากฏให้เห็น  หรือ ไม่ปรากฏให้เห็นก็ได้ 
ในกรณีดังกล่าว  แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจคลื่นของหัวใจ
ด้วยการติดเครื่องตรวจในตัวคนไข้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ถ้าหากการเต้นของหัวใจ ที่เต้นเร็วผิดปกติ... 
บางครั้ง  อาจนาน ๆ เกิดที  ในกรณีดังกล่าว ท่านอาจต้องติดต้งเครื่องมือวัดคลื่น
ของหัวใจนานหน่อย   ท่านจะได้รับคำแนะนำให้ทำการกดปุ่ม
ให้เครื่องตรวจทำงานเมื่อท่านมีอาการเกิดขึ้น

ผลจากการตรวจร่างกาย...
ท่านอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดอย่างอื่น ๆ
เช่น  การตรวจดูระดับไทรอยด์ฮอร์โมน  อาจทำการตรวจคลื่นเสียงของหัวใจ
ซึงสามารถตรวจสอบดูว่า  มีโรคลิ้นหัวใจหรือไม่
การทำ coronary angiogram... 
สามาระตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือดของหัวใจได้

นอกจากนั้น  ท่านอาจได้ทกการตรวจ electrophysiology testing 
ซึ่งเป็นการตรวจด้วยการสอดใส่ catheters เข้าไปในหัวใจ 
เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ 

ระยะเวลาที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ...
การที่หัวใจของคนไข้เต้นเร็วผิดปกติ  จะเต้นนานเท่าใด  มันขึ้นกับสาเหตุ
ของโรค  ยกตัวอย่าง  ถ้าหากเกิดจากไข้ (fever) มันจะหายไปเมื่ออาการไข้หายไป

หากเกิดจากการสูญเสียเลือด  หากได้เลือด หรือได้น้ำเกลือ  อาการจะหายไป


หากเกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานเกินปกติ,  หรือเกิดจากต่อมเหนือไต... 
อาการจะหายไปเมื่อโรคได้รับการรักษา

หากเกิดจากยา หรืออาหาร 
ภาวะหัวใจเต้นเร็วจะหายไปเมื่อยา หรืออาการถูกใช้หมด

หากเกิดจากโรคหัวใจ...
ภาวะหัวใจเต้นเร็วจะยังคงมอยู่นาน  โดยไม่หายไปไหน

การป้องกัน
การเต้นของหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ 
ซึ่งเกิดจากโรคหลอดเลือดหวใจตีบตัน  เราสามารถป้องกันได้
โดยปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

o   รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
o   ควบคุมระดับความดันโลหิตสูง  และลดระดับ cholesterol ลง
o   เลิกสูบบุหรี่
o   ควบคุมน้ำหนักตนที่เพิ่มขึ้น
o   ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ  ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของยา 
สามารถป้องกันได้โดยลดขนาดของยา  หรือเปลี่ยนยา  และ
คนที่มีแนวโน้มที่จะเกิดมีการเต้นของหัวใจ
เต้นเร็วผิดปกติ   ควรหลีกเลี่ยงจากการดื่มกาแฟ,  ชอคโกแลท  และ
แอลกอฮอลล์

http://www.intelihealth.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น