วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Guillain-Barre syndrome : continued 2


8/20/12

 

อาการแสดง  และ การตรวจ

ประวัติของกล้ามเนื้ออ่อนแรง และ อัมพาติ 
อาจเป็นอาการแสดงของ  Guillain-Barre syndrome 
โดยเฉพาะที่พึ่งผ่านความไม่สาบายมาไม่นาน 


การตรวจร่างกาย อาจพบกล้ามเนื้ออ่อนแรง  และ ปัญหาการทำงานของร่าง
กาย  ที่ไม่สามารถควบคุมได้ (autonomic)  เช่น  ความดันโลหิต  
และ  การเต้นของหัวใจการตรวจดูการตอบสนองของเอ็น และกล้ามเนื้อ (elflexes)
เช่น  ของข้อเท้า (ankle jerk) และ ข้อเข่า (knee jerk) ลดลง
หรือหายไปอาจมีอาการแสดงของการหายใจลดลง   เป็นผลมาจาก
การอัมพาติของกล้ามเนื้อหายใจ


การตรวจต่อไปนี้อาจจำเป็นต้องกระทำ:

·         เจาะน้ำไขสันหลัง (spinal tap)
·         ตรวจคลื่นสมอง (ECG)
·         ตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG)
·         ตรวจความเร็วของคลื่นประสาท (nerve conduction velocity test)
·         ตรวจการทำงานของปอด (Pulmonary function tests)     


การรักษา (Treatment)

ในปัจจุบัน  ยังไม่มีวิธีการรักษาให้โรค Guillan-Barre syndrome หายได้
อย่างไรก็ตาม  มีการรักษาหลายอย่างที่สามารถช่วยลดอาการต่าง ๆ
รักษาภาวะแทรกซ้อน, และ ช่วยทำให้หายเร็วขึ้น


ถ้าอาการุนแรง  คนไข้อาจต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล
ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือการหายใจ


ในระยะเริ่มแรกของการเกิดโรค...
การรักษาได้แก่การกำจัดเอาสารโปรตีน  ที่เป็นภูมิต้านทานออก  หรือ
สกัดกั้นไม่ให้มันทำอันตรายต่อเซลล์ประสาท
อาจลดความรุนแรง  และ ระยะเวลาของการเกิดโรค Guillain-Barre syndrome


มีวิธีการอย่างหนึ่ง  เรียก plasmapheresis…
เป็นวิธีการกำจัดเอา “antibodies”  จากเลือดออกทิ้งไป
เป็นวิธีการเอาเลือดจากคนไข้  โดยเอาเลือดจากเส้นเลลือดที่แขน
และปั้มผ่านเข้าสู่เครื่อง....เพื่อให้เครื่องมืดกำจัดเอา antibodies ออกทิ้งไป
จากนั้น  เลือดที่ดีจะไหลกลับเข้าสู่ร่างกายอีกที


วิธีที่สอง  คือการสกัดกั้นการทานของ antibodies  ด้วยการใช้ immunoglobulin
ที่มีขนาดสูงหน่อย (high-dose) เรียก immunoglobulin therapy
เมื่อเราฉีดสาร immunoglobulin  เข้าสู่ร่างกายแล้ว 
มันจะสกัดกั้น antibodies  ไม่ให้เกิดการอักเสบขึ้นได้


การรักษาอย่างอื่น ๆ  จะมุ่งตรงไปที่การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
เช่น:

·         Blood thinners อาจนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
·         ถ้ากล้ามเนื้อกระบังลมเกิดอ่อนแอ  อาจจำเป็นต้องช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
·         อาการปวดที่เกิดขึ้น อาจจำเป็นต้องให้ยาลดการอักเสสบ NSAIDs  หรือ 
ยาแก้ปวด (narcotics)
·         เพื่อป้องกันไม่สำลักอาหาร  ต้องปรับตำแหน่งของร่างกายให้เหมาะสม
หรือ  อาจจำเป็นต้องใส่สายนำอาหาร (feeding tube) ในรายทีไม่สามารถกลืนอาหารได้


การพยากรณ์โรค (Expectations)
การฟื้นตัวจากโรคต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์, เป็นเดือน ๆ หรือ เป็นปี ๆ
คนไข้ส่วนใหญ่จะมีชีวิตรอด  และฟื้นตัวได้เป็นปกติ


จากรายงานของ National Institute of Neurological Disorders and  Stroke  พบว่า 
ภายในระยะเวลาสามปี  จะมีคนไข้ที่มีอาการอ่อนแรง
ประมาณ 30 %  และ  มีบางรายที่ยังมีอาการอ่อนแรงไปตลอดชีวิต


ในรายทีอาการหายไปในระยะเวลา 3 อาทิตย์หลังเกิดอาการ 
คนไข้กลุ่มนี้มีแนวโน้มดีมาก


ภาวะแทรกซ้อน (Complications)

·         หายใจลำบาก
·         ข้อติดแข็ง (contractures of joints or other deformity)
·         เกิดเลือดในเส้นเลือดดำ (deep vein thrombosis)
·         เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบ
·         ความดันต่ำ  หรือ ความดันโลหิตไม่เสถียร  ควบคุมละบาก
·         อัมพาติ  ซึ่งอาจถาวร
·         เป็นปอดอักเสบ (pneumonia)
·         มีแผลที่ผิวหนัง (ulcers)
·         มีน้ำ หรือ อาหารไหลเข้าปอด (aspiration)

ท่านต้องพบแพทย์เมื่อ  ท่านมีอาการต่อไปนี้ 

·         ไม่สามารถหายใจลึกได้
·         ความรู้สึกลดน้อยลง  ทำให้เกิดอาการ

Ø  หายใจลำบาก
Ø  กลืนลำบาก
Ø  เป็นลม
Ø  เคลื่อนไหวไม่ได



http://www.ncbi.nlm.nih.gov



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น