วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เมื่อหัวใจของเราเต้นช้าลง (Bradycaridia) 1

8/1/12

"คุณหมอครับ...
หัวใจของผมเต้น ตำกว่า 60 ครั้งต่อนาที  ผมสามารถเล่นกอล์ฟได้ตามปกติ
แต่พอภรรยของผมมีหัวใจเต้นช้าลง  คุณหมอบอกว่า  ต้องใส่เครืองกระตุ้น
การเต้นของหัวใจ (pace maker)......
เพื่อเป็นการตอบคำถามของเพื่อนผู้สูงวัยจากสนามกอล์ฟ...
ลองพิจารณาบทความต่อไปนี้ดู


หมายถึงภาวะของหัวใจเต้นช้ากว่า 60  ครั้ง/นาที
คนปกติ  หัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60 – 100 ครั้ง / นาที
เมื่อการเต้นของหัวใจเต้นช้ากว่า  60 ครั้ง/นาที  เราจะเรียกว่าภาวะหัวใจเต้นช้า
หรือจะเรียกทับศัพท์เสียเลยว่า....Bradycardia

ในการเต้นของหัวใจตามปกติ...
คลื่นของกระแสไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดการเต้นของหัวใจ  มันจะเกิดจากปุ่มก่อกำเนิด
คลื่นไฟฟ้าในหัวใจ   มีชื่อเรียกว่า  sinus node 
ซึ่งจะอยู่ที่ส่วนบนของหัวใจห้องขวา  จากปุ่มดังกล่าว 
คลื่นที่ทำให้ห้วใจบีบตัว (heart beat signal)  จะเคลื่อนตัวสู่ปุ่มที่เรียกว่า A-V) node  
(Atrio-ventricular node)  ซึ่ง อยู่ตรงตำแหน่งระหว่างหัวใจสองบน (atria) 
จากนั้น  คลื่นกระแสไฟฟ้าดังกล่าว  จะเคลื่อนไปตามกลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหัวใจ 
ที่ได้พัฒนาเป็นเส้นใย  ทำหน้าที่เป็นทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้า เรียก bundle of His 
ซึ่งจะอยู่ระหว่างรอยต่อของหัวใจสองห้องล่าง (ventricles) และ ต่อไปยังกล้ามเนื้อของ
กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง  ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการหดเกรงของกล้ามเนื้อหัวใจดังกล่าว

เต้นของหัวใจช้า  บางครั้งต่ำกว่า 50…
เราสามารถพบได้ในนักกีฬา  หรือ  คนที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ในคนเหล่านี้ 
เขาจะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสามารถปั้มเลือด
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงเป็นเหตุให้หัวใจเต้นน้อยครั้งได้
โดยที่อวัยวะทุกส่วนสามารถได้รับเลือดหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ

ในกรณีอื่น ๆ  หัวใจเต้นช้า...
สามารถเกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) 
การเต้นของหัวใจผิดปกติ  สามารถเป็นปัญหาที่เกิดในปุ่ม sinus node  หรือ 
มีการขัดขวางคลื่นของเคลื่อนกระแสไฟฟ้าที่บริเวณทางเดินสู่ A-V node 
หรือ  มีการขัดขวางการเคลื่อนตัวของคลื่นกระแสไฟฟ้าผ่าน A-V node
และ bundle of His  อย่างใดอย่างหนึ่ง

การเต้นของหัวใจที่เต้นช้าลง... 
สามารถเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา  เช่น  digoxin (Lanoxin) และ narcotics

นอกจากนั้น  การเต้นของหัวใจที่เต้นช้า...
บางครั้ง  อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางตัว  เช่น  propanolo (Inderal), atenolol (Tenormin), metoprolol (Toprol-XL),  Sotalo (Betapace), verapamil  และ diltiazem

การเต้นของหัวใจที่เต้นช้า... 
ยังเกิดในคนที่เป็นโรคบางอย่าง  ซึ่งไม่สัมพันธ์กับหัวใจโดยตรง เช่น


o   ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (hypothyroidism)
o   ภาวะอุณหภูมิของร่างกายต่ำ (hypothermia)
o   ระดับ potassium ในกระแสเลือดสูง
o   โรค Lyme
o   Typhoid fever

อาการของภาวะหัวใจเต้นช้า...
คนที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องหัวใจเต้นช้า (bradycardia) 
จะมีอาการวิงเวียน (dizziness),  อ่อนแรง (weakness), รู้สึกไร้พลัง (lack of energy)
และมีอาการเป็นลมบ่อย ๆ (fainting spells)

ถ้าภาวะหัวใจเต้นช้า... 
ที่เกิดจากโรคทางกาย (medical illness)  คนไข้จะแสดงอาการอย่างอื่น ๆ ที่เป็นลักษณะ
เฉพาะของโรคนั้น ๆ  เช่น  โรคตอมไทรอยด์ทำงานน้อยลง (hypothyroidism) 
คนไข้จะมีอาการท้องผูก, กล้ามเนื้อปั้น (muscle cramps), น้ำหนักเพิ่ม (ทั้ง ๆ ที่เบื่ออาหาร), 
ผิวหนังแห้ง,  ผมบางและแห้ง, มีความไวต่อความเย็น,  และอาการอื่น ๆ
ที่สัมพันธ์กับระดํบไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ

การวินิจฉัย
เมื่อท่านไปพบแพทย์...
แพทย์จะถามท่านเกี่ยวกับประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ,  การเต้นผิด
ปกติของหัวใจ  และประวัติการเป็นลมบ่อย ๆ
แพทย์จะทำการตรวจสอบอาการที่เพิ่งเกิดขึ้นกับท่าน 
และประวัติการเป็นโรคของท่าน  รวมถึงการใช้ยาต่างๆ   ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้หัวใจ
ของท่านเกิดมีการเต้นช้าลง

ในระหว่างการตรวจร่างกาย...
แพทย์จะตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) จังหวะการเต้น (rhythm)
และตรวจวัดชีพจร (pulse)  ท่านอาจถูกแพทย์บอกให้นั่ง  หรือ  ออกกำลังกาย
เพื่อตรวจดูว่า  หัวใจของท่านจะเพิ่มอันตราการเต้นเป็นปกติหรือไม่ ?

นอกจากนั้น  แพทย์ยังตรวจอาการแสดงของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ 
เช่น  มีก้อนที่คอ (ต่อมไทรอยด์โต)  ตรวจดูผิวหนัง...แห้ง  และผมบาง
ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกให้ทราบถึงภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง
(hypothyroidism)

แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มต่อไปอีก...
โดยการตรวจคลื่นหัวใจ (electrocardiogram)
อย่างไรก็ตาม  โปรดทราบไว้ด้วยว่า  การเต้นของหัวใจที่เต้นช้าผิดปกติ 
บางรูปแบบอาจเกิดขึ้น  และดับไป  เป็นเหตุให้บางครั้งตรวจพบ  บางครั้งไม่พบ

ในกรณีเช่นนี้  แพทย์อาจทำการตรวจด้วยการใส่เครื่องตรวจ EKG ติดตัวคนไข้ 
เขาเรียกว่า “ambulatory electrocardiogram” 
ซึ่งในขณะทำการตรวจ  คนไข้จะติดตั้งเครื่องตรวจคลื่นหัวใจ 
เรียก holter monitor เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
หากอาการของท่านเป็นไม่บ่อย  ท่านอาจต้องติดเครื่องตรวจนานหน่อย 
และท่านอาจได้รับการบอกให้ทำการ “กด” ปุ่มเครื่องให้ทำงานในขณะมีอาการ

ท่านควรตรวจอย่างอื่นอีกหรือไม่...
การตรวจอย่างอื่น ๆ ย่อมขึ้นกับผลการตรวจของร่างกาย  
ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวการณ์เต้นของหัวใจ  ที่ช้าลง
ยกตัวอย่าง   ถ้าท่านมีอาการของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง...
ท่านจะได้รับการตรวจเลือด  ดูระดับ thyroid hormone  และ TSH
(ซึ่งเป็นฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง- pituitary gland) 
นอกจากนั้น  แพทย์อาจสั่งตรวจดูระดับไขมัน cholesterol และ เอ็นไซม์ของตับ 
เพราะในคนไข้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย 
มักจะมีค่าสูงกว่าปกติ


continuded   Press   2   Tachycardia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น