วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน : การรักษา continued 2

8/2/12

การรักษาภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (pre-dibetes)
แม้ว่า เราจะวินิจฉัยได้ว่า คนไข้ตกอยู่ภายใต้ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน
เราสามารถลดการเกิดเบาหวานประเภทสองได้
ผลจากการศึกษา และตีพิมพ์ในปี 2001 (The Dibetes Program) สามารถลด
ความเสี่ยงจากการเกิดโรคเบาหวาน ประเภทสองได้ถึง 58%
โดยการลดน้ำหนักตัว, ออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ 30 นาที

ท่านควรรับทานอะไร ?
ไม่ใช่ว่า ท่านจะรับทานอะไร...
แต่อยู่ที่ว่า ท่านรับทานมากเท่าใดต่างหาก
ถ้าท่านมีน้ำหนักตัวมากเกินไป  สิ่งแรก  และสำคัญที่สุดที่ต้องทำ  คือต้องลดน้ำหนักตัว
ซึ่งหมายความว่า ท่านต้องพิจารณาจำนวนอาหาร และชนิดของอาหารที่ท่าน
รับทานอาหารในแต่ละมือ  หัวใจสำคัญ  คือ  ลดน้ำหนัก และการควบคุมขนาด
ของตัวคุณอย่าให้อ้วน

นอกจากนั้น  นักโภชนาการจะแนะนำให้ท่านลดปริมาณของไขมันในอาหารลง
เพราะแต่ละกรัมของไขมัน  จะให้ปริมาณแคลอรี่มากว่าคาร์โบฮัเดรต 
และ โปรตีนในขนาดเดียวกัน
นั่นหมายความว่าท่าน:

o   รับทานอาหารที่ปรุงด้วยความร้อนให้มาก  ส่วนพวกทอดให้น้อยลง
o   รับทานอาหารประเภทปลา  ไก่  ให้มมาก  ตัดพวกเนื้อ
o   ลดปริมาณไขมัน  พวกเนยลง
o   รับประทานอาหารประเภทผัก  ผลไม้ พวกแป้ง  และลดพวกเนื้อให้น้อยลง

การออกกำลังกาย ในขณะทีท่านลดน้ำหนัก 
เป้าหมายของท่านคือ  การควบคุมระดับน้ำตาล  โดยเฉพาะหากท่านไม่เคยออกกำลังกาย
มาก่อน  ท่านต้องออกกำลังกายทันที  เพราะการออกกำลังกาย 
จะช่วยให้ท่านใช้อินซูลินทำงาน  เพื่อเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน 
และทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง

นอกจากนั้น  การออกกำลังกายยังช่วยลดภาวะการณ์ต่อต้านอินซูลินลง
หากท่านรับทานขนมเค้กหลังอาหาร  ท่านสามารถจัดการกับระดับน้ำตาลที่จะเพิ่มได้
ด้วยการการออกกำลังด้วยการเดินเร็ว  จะสามารถจัดการกับระดับน้ำตาลที่จะเพิ่มขึ้นได้

เมื่อท่านรับประทานอาหารประเภท “คาร์โบฮัยเดรต” ...
มันจะถูกทำให้แตกตัวเล็กลงเป็น  โดยผ่านกระบวนการย่อยอาหารให้กลายเป็นน้ำตาล
แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต   และ  ตัวกระแสเลือดเอง  จะทำหน้าที่เป็นพาหะ 
และนำน้ำตาล (glucose) ส่งเข้าสู่เซลล์  และการที่จะทำให้เกิดเช่นนั้นได้ 
จำเป็นต้องอาศัยอินซูลิน
  
อินซูลิน  เป็นฮอร์โมน ซึ่งถูกสร้างโดยตับอ่อน (pancreas)
ซึ่งจะทำหน้าที่พาน้ำตาลให้เข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ  โดยที่ท่านอาจจินตนาการว่า
อินซูลิน  ทำหน้าที่เหมือน “ลูกกุญแจ”  ทำหน้าที่เปิดประตูของเซลล์ ให้น้ำตาล
สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ได้     ต่อจากนั้น น้ำตาลจะถูกแปรสภาพเป็นพลังงานต่อไป

Continued 3  : Diabetes

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น