วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Diabetic Nephropathy Nephropathy 2

8/11/12

Continued.

การป้องกัน (Prevention)
คนเป็นเบาหวาน  มีทางป้องหันไม่ให้เกิดโรคไตได้หรือไม่ ?
วิธีการที่ดีที่สุด  ในการป้องกันไม่ให้เกิดไตถูกทำลาย  คือ  การควบคุมระดับน้ำตาลนั้นเอง 
นอกจากนั้น  ควรตรวจสอบระดับความดันโลหิตเป็นระยะด้วยและ ควรลดระดับความดัน
ให้ต่ำกว่า 130/80  mm/Hg  ซึ่งจะเป็นค่า...ที่ต่ำกว่าคนปกติ ที่มีความดันสูง

มียาอยู่สองชนิด  ที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
ซึ่งสามารถปกป้องไม่ให้ไตถูกทำลาย  นอกเหนือจากการลดระดับความดันโลหิตลง

ท่านใดก็ตามที่เป็นโรคเบาหวาน  และมีโรคความดันโลหิตสูงด้วย
ควรใช้ยาตัวใดตัวหนึ่ง  ในสองกลุ่มที่จะกล่าวถึง  ได้แก่
กลุ่ม angiotensi-converting  Enzyme inhibitors (ACE inhibitors) เช่น lisinopril
(Zestril, Prinivil), enalapril (Vasoec) และ อื่น ๆ
หรือจากจากกลุ่ม angiotensin receptor blockers (ARBs)  เช่น  losartan (Cozaar),
valsartan (Diovan) และตัวอื่น ๆ

ในขณะเดียวกัน  ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยา  ซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อไตได้
หากท่านเป็นโรคไต  ท่านต้องหลีกเลี่ยงใช้ยาแก้ปวด (pain medications)
เช่น  nonsteroidal anti-inflammatory drugs group (NSAIDS)  เช่น ibuprofen

นอกจากนั้น  ท่านควรรับทานอาหารที่มีโปรตีนน้อยลง  อาจช่วยชะลอ หรือ
ยับยั้งไม่ให้โรคไตเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลงได้
ถ้าท่านสูบบุหรี่...ควรเลิกเสีย  เพราะมันสามารถทำลายไตได้เช่นกัน

การรักษา (Treatment)
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน  และมีความดันโลหิตสูง,
มีหลักฐานชี้บ่งว่า  ไตของท่านถูกทำลาย  เช่น มี microalbuminuria,
หรือผลของการตรวจเลือดบ่งบอกเช่นนั้น 

ท่านจะได้รับยารักษาด้วยการใช้ยากลุ่ม ACE inhibitor หรือ ARBs
เป็นยาที่สามารถปกป้องไต หรือ ชะลอไม่ให้ไตของคนเป็นเบาหวานถูกทำลาย
แม้ว่า  โรคไตจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม
ยาทั้งสองกลุ่ม  จะมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทีเดียว  ไม่ควรใช้ร่วมกัน


การลดปริมาณโปรตีนในอาหารของท่าน...
สามารถช่วยชะลอโรคไต  ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงได้


เมื่อโรคไตได้พัฒนาถึงขั้นสุดท้าย (advanced stages)…
คนไข้อาจจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด (dialysis) เพื่อกำจัดเอาของเสีย
จากเลือดออกทิ้ง  หรือ อาจต้องทำการปลูกถ่ายไตให้แก่คนไข้


ในการทำการฟอกเอาของเสียออกจากร่างกาย...
มีสองแบบด้วยกัน.. hemodialysis และ peritoneal dialysis
การทำ hemodialysis เป็นการกรองเอาของเสีย และน้ำเกินออกจากเลือด
โดยตรง  ซึ่งสามารถกระทำได้ที่ศูนย์ หรือที่โรงพยาบาล 
โดยกระทำ สามครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์  และละครั้งจะใช้เวลาประมาณ  3- 4 ชั่วโมง


ส่วนการทำ peritoneal dialysis…
กระทำได้โดยใช้  sterile fluid ใส่เข้าไปในช่องท้องผ่านท่อ catheter
ซึ่งฝังไว้กับผิวหนังของช่องท้อง  ภายหลังจากน้ำในช่องดูดซับเอาของเสีย
ออกจากร่างกายแล้ว  น้ำในช่องท้องจะถูกละบายออกทิ้งไป
เป็นวิธีการที่สามารถกระทำได้ที่บ้าน  ซึ่งต้องใช้เวลา 
และต้องระมัดระวังตนเป็นพิเศษ  เป็นอีกทาเลือกหนึ่งสำหรับคนไข้บางราย


สำหรับการปลูกถ่ายไต...
อาจเหมาะสำหรับคนไข้บางรายที่ไตถูกทำลายอย่างมาก 
และเป็นการหลีกเลี่ยงจากการฟอกเลือด (dialysis) 
อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่เราต้องรู้คือ  ผู้ให้ (donor) และผู้รับ (recipient) 
จะต้องไปด้วยกันทางด้านพันธุกรรมได้  หรือ ร่างกายไม่มีการต่อต้านไต 
ที่ได้รับการปลูกถ่าย  ซึ่งจำเป็นต้องมีการใช้ยา (anti-rejection drugs)
เพื่อยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน  เป็นการช่วยให้ร่างกายรับไตใหม่


โดยทั่วไป  เราคาดว่า  ไตที่ปลูกถ่ายสามารถทำงานได้นานถึง 10 ปี
ถ้าทุกอย่างสามารถทำให้เข้ากัน (match) ได้


ในคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิด 1 และมีไตวาย...
การปลูกถ่ายไต และ ตับอ่อน ( kidney - pancreas  transplant)
ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง  ซึ่งสามารถกระทำได้
  
พบแพทย์...
ถ้าท่านเป็นเบาหวาน  ท่านควรตรวจวัดความดันโลหิตทุก ๆ หกเดือน
ถึงหนึ่งปี  หรือ ตรวจวัดให้บ่อยกว่านั้น
ถ้าท่านไม่เคยถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคไต (diabetic nephropathy) ท่านควรได้รับ
การตรวจดูโปรตีนในปัสสาวะ (miocroalbuminuria) อย่างน้อย ๆ ปีละครั้ง
เพื่อจะได้วินิจฉัยโรคได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับรายที่เป็นโรคไตแล้ว...
จะต้องได้รับการตรวจดูการทำงานของไตเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
ดยทำการตรวจปีละครั้ง  หรือบ่อยกว่านั้น  และหากท่านมีอาการของโรคไต
วายเกิดขึ้น (advanced kidney disease) ท่านควรปรึกษาแพทย์  เพื่อพิจารณา
ทำการฟอกเลือด (dialysis) กันต่อไป

การพยากรณ์โรค (prognosis)
ในคนเป็นโรคเบาหวาน...
แม้ว่า  เราจะไม่สามารถป้องกัน  ไม่ให้เกิดโรคไตวายได้ในทุกรายก็ตาม
แต่เราสามารถชะลอ  ไม่ให้โรคไตเลวลงได้ด้วยการใช้ยา  และ ควบคุม
ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ  เมื่อไตถูกทำลายถึงระยะสุดท้าย  ทางเลือกของการ
รักษา  คือ การฟอกเลือด (dialysis) หรือ การปลูกถ่ายไต...
สามารถทำให้คนไข้  สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพได้
  
http://www.intelihealth.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น