8/31/12
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)…
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)…
นอกจากจะเห็นความผิดปกติบนผิวหนังแล้ว โรคดังกล่าว
สามารถทำให้เกิดข้ออักเสบได้ ซึ่ง เป็นข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการปวดข้อ
ข้อแข็งเคลื่อนไหวได้ลำบาก (stiffness) และ มีอาการข้อบวมด้วย
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูกได้
โดย เป็นโรคที่ทำให้กิดรอยโรคบนผิวหนัง มีลักษณะเป็นสะเก็ดเงิน...
ประมาณว่า คนที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน มีโอกาสเกิดไขข้ออักเสบได้ 5 %ถึง 10 %
ทั้งเพศชาย และหญิง สามารถเกิดได้เท่า ๆ กัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วง 30 – 50
อย่างไรก็ตาม โรคชนิดนี้สามารถเกิดในเด็กได้เช่นกัน
ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคดังกล่าว อาการจะไม่รุนแรง
แต่บางราย จะอาการจะรุนแรงมาก
ชนิดโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน (psoriatic Arthritis)
ข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน มี 5 ชนิดด้วยกัน
มันถูกแบ่งโดย อาศํยความรุนแรงของโรค โดยไม่คำนึงว่า
จะเกิดขึ้นทั้งสองข้าง และ ข้อไดเกิดการอักเสบขึ้น
§ Asymmetric inflammatory arthritis:
ข้ออักเสบที่เกิด มักจะเป็นข้อเข่า, ข้อเท้า, ข้อมือ หรือ นิ้วมือ
และจำนวนข้ออักเสบ จะมีประมาณหนึ่ง ถึง สี่ข้อที่มีการอักเสบเกิดขึ้น
และ ส่วนใหญ่ ข้ออักเสบที่เกิดขึ้น สามารถเกิดขึ้นทั้งสองข้างของกาย
แต่ ข้ออักเสบที่เกิด จะไม่เท่ากัน
§ Symmetric arthritis:
ข้ออักเสบที่เกอิดในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเกิดมากว่า สี่ข้อ
และข้ออักเสบที่เกิดทั้งสองข้าง จะเกิดได้เท่า ๆ กัน (symmetrical)
ที่บริเวณเล็บมือ จะพบรอยของเล็บมือเป็นสัน (ridge) และเป็นหลุมเล็ก ๆ
§ Psoriatic spondylitis:
คนไข้กลุ่มนี้ จะพบว่า ข้อ sacroiliac joints ซึ่งเป็นข้อที่เชื่อมระหว่างกระ
ดูกสันหลัง(spine) และ กระดูกเชิงกราน (pelvis) เกิดการอักเสบ และ
บางทีมีข้ออื่น ๆ เกิดการอักเสบด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวกระดุกบั้น
เอว เคลื่อนได้ด้วยความลำบาก (morning stiffness)
§ Isolated finger involvement: ข้ออักเสบที่เกิด จะเป็นข้อสุดท้ายของนิ้วมือ
ใกล้เล็บมือ ซึ่ง อาจมีข้อเพียงหนึ่งข้อ หรือหลายข้อเกิดการอักเสบ
§ Arthritis mutilans:
โรคข้ออักเสบชนิดนี้ เป็นกลุ่มที่รุนแรงสุด และพบได้น้อยที่สุด
ข้ออักเสบที่เกิดขึ้น จะทำให้นิ้วสั้นลง เพราะมีการทำลายข้อ
และกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อ
โรคข้ออักเสบที่เกิดในโร psoriasis....
บางครั้ง เราสามารถแยกออกจากกันได้ชัดเจน
แต่มีบางราย ที่แสดงได้เห็นว่า มีอาการของข้ออักเสบหลายชนิดรวมกัน
โรคสะเก็ดเงิน สามารถเกิดขึ้นได้ก่อน หรือ เกิดตามหลังมีข้ออักเสบเกิดขึ้นแล้ว
แต่มีประมาณ 75 % ของคนไข้ข้ออักเสบ
จะเกิดตามหลังการเป็นโรค psoriasis ก่อน ๆ ที่จะเกิดข้ออักเสบ
มีบางราย เกิดมีอาการเคลื่อนไหวลำบาก (morning stiffness)
โดยเกิดก่อนที่จะมีข้ออักเสบเกิดขึ้น
คนไข้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ที่พบว่า มีรอยโรคที่เล็บมือ
โดยเฉพาะเล็กมือที่เป็นหลุม (pitting) มีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรคไขข้ออักเสบ
ได้มากกว่า 50 % ของคนที่ไม่มีรอยโรคที่บริเวณเล็บมือ (ซึ่งมีเพียง 10 % )
สาเหตุของโรคไขข้อจากโรคสะเก็ดเงิน ยังไม่เป็นที่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร...
แต่มีหลักฐาน กล่าวว่า การอักเสบ หรือ บาดเจ็บ สามารถทำให้เกิด
โรคดังกล่าวได้ ยกตัวอย่าง โรคข้ออักเสบจาก psoriasis (psoriatic arthritis)
จะถูกกระทบโดยโรค HIV โดยการทำให้เกิดมีอาการขึ้นมาอีก
นอกจากนั้น พันธุกรรมยังมีบทบาทต่อการทำให้เกิดโรคดังกล่าว
โดยพบว่า มีประมาณ 40 % ของคนเป็นโรคไขข้อจากสะเก็ดเงิน
( Psoriatic arthritis) มีประวัติทางครอบครัวว่า เป็นโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน หรือ
เป็นโรคไขข้อจากสะเก็ดเงิน และ มีการพบว่า มีพันธุกรรม HLA-B27 ในเลือด
ของคนที่เป็นโรคไขข้อจากสะเก็ดเงิน
อ่านต่อ กด: Psoriatic arhthritis : symptoms
อาการ (symptoms)
อาการที่เกิดประกอบด้วย:
§ โรคผิวหนัง มีลักษณะเป็นแผ่นสีชมพู หรือ สีแดงคล้ำ
§ พบได้ที่บริเวณด้านหลังของต้นแขน ด้านหน้าของต้นขา และ บนหนังศีรษะ
§ มีการอักเสบของข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะที่นิ้วมือ นิ้วเท้า หรือ กระดูกสันหลัง
§ มีการเคลื่อนไหวข้อลำบาก (morning stiffness)
§ ปวดหลังที่บริเวณส่วนล่าง
§ พบได้ที่บริเวณด้านหลังของต้นแขน ด้านหน้าของต้นขา และ บนหนังศีรษะ
§ มีการอักเสบของข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะที่นิ้วมือ นิ้วเท้า หรือ กระดูกสันหลัง
§ มีการเคลื่อนไหวข้อลำบาก (morning stiffness)
§ ปวดหลังที่บริเวณส่วนล่าง
โรคอักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน สามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่นของร่างกาย
เช่น รูสึกเหนื่อยเพลีย, เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งมักจะปรากฏในรายที่มีความรุนแรง
บ่อยครั้ง โรคข้ออักเสบที่เกิดขึ้น มักจะมีการอักเสบของเอ็นตรงบริเวณตำแหน่ง
ยึดติดกับกระดูก เช่น ที่บริเวณซ่นเท้า หรือ ที่บริเวณนิ้ว
เช่น รูสึกเหนื่อยเพลีย, เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งมักจะปรากฏในรายที่มีความรุนแรง
บ่อยครั้ง โรคข้ออักเสบที่เกิดขึ้น มักจะมีการอักเสบของเอ็นตรงบริเวณตำแหน่ง
ยึดติดกับกระดูก เช่น ที่บริเวณซ่นเท้า หรือ ที่บริเวณนิ้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น