วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Lymphoma: Diagnosis continued 5

8/22/12
Continued

การวินิจฉัยโรค (diagnosis)
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า 
เพื่อนของเราเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือด lymphoma ?

 การวินิจฉัยโรคใด ๆ ก็ตามจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการถามประวัติการเกิดโรค 
และการตรวจร่างกาย   แพทย์ผู้เกี่ยวข้อง  จะทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการของโรค
ว่า  เกิดเมื่อใด , ซักถามประวัติเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บทั้งอดีต และ ปัจจุบัน, 
ประวัติการรับทานยาต่าง ๆ,  ตลอดรวมไปถึงประวัติของสุขภาพ,  ครอบครัว,  
อุปนิสัย และ  พฤติกรรม.

ต่อจากนั้น  แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด
ถ้าแพทย์เกิดความสงสัยว่า  คนไข้อาจเป็นโรค lymphoma  เมื่อใด  
แพทย์เขาจะทำการตรวจอีกหลายอย่าง  เพื่อสูจน์ยืนยันว่า 
คนไข้เป็นโรค lymphoma  หรือไม่ ?
ในบางกรณี อาจมีการส่งต่อคนไข้ไปยังผู้เชี่ยวชาญทางโรคเลือดเลย
(Hematologist/oncologist)

การตรวจเลือด (Blood tests)

§   แพทย์สั่งตรวจเลือด  เพื่อดูการทำงานของเม็ดเลือดทั้งหลาย, ตลอดรวมถึง 
การทำงานของ อวัยวะที่สำคัญ ๆ  เช่น  ไต และ ตับ

§  ตรวจสารเคมีบางอย่าง  หรือ เอ็นไซม์บางชนิด  เช่น  lactate dehydrogenase (LDH)
ในคนไข้ที่เป็นโรค non-Hodgdin’s  lymphoma  ที่มีเอ็ยไซม์ LDH  ในปริมาณสูง 
มันบ่งบอกให้ทราบว่า  โรคมะเร็งดังกล่าว  ชักจะไม่ค่อยดีซะแล้ว (severe)

§  นอกเหนือจากนั้น  อาจมีการตรวจอย่างอื่น  
เช่น  เป็นการตรวจดูโรคมะเร็ง  ประเภทย่อย (subtypes of lymphoma)

การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy)

ถ้าปรากฏว่า  คนไข้มีก้อน  หรืออาการบวมปรากฏให้เห็น...
แพทย์จะสั่งให้มีการตัดชิ้นเนื้อเอาไปทำการตรวจโดยพยาธิแพทย์ 
เราเรียกวิธีการตรวจเช่นนั้นว่า biopsy  
ซึ่งมีวิธีการมากมายให้ทำเช่นนั้นได้   เช่น:
§  ถ้าเราสามารถมองเห็นก้อน  หรือสามารถคลำได้  และง่ายต่อการทำ biopsy 
แพทยNเราสามารถใช้เข็มทำการเจาะเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจได้ 
เราเรียกว่า  Core needle biopsy  ซึงกระทำภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่

§  ในบางราย  เนื่องจากการใช้เข็มเจาtเอาชิ้นเนื้อมาตรวจ 
อาจไม่ได้เนื้อที่ดีเพื่อการตรวจ  แพทย์อาจตัดสินใจเอาต่อมน้ำเหลืองทั้งก้อน
เราเรียกวิธีการนี้ว่า  surgical biopsy   โดยการตัดชิ้นเนื้อดังกล่าวมาทำการตรวจ 
อาจกระทำภายใต้ยาชา  หรือ ดมยาสลบ

§  ถ้าก้อนไม่อยู่ใต้ผิวหนัง  การเอาเนื้อมาตรวจเริ่มจะยุ่งยากขึ้น 
ในกรณีดังกล่าว  อาจจำเป็นต้องใช้กล้องส่องเข้าไปในช่องท้อง(labparoscopy)  
ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เรียกว่า laparoscope    เป็นวิธีการที่ใช้สายติดกล้องผ่านแผลเล็กที่หน้า
ท้องผ่านเข้าไปในช่องท้อง   สามารถมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ  ทั้งปกติ และผิดปกติ
ภาพต่าง ๆ ภายในช่องท้อง  จะปรากฏทางจอ video monitor 
ให้แพทย์ และทุกคนทีอยู่รอบข้างเห็นได้   จากนั้น  แพทย์สามารถใช้เครื่องมือ
ที่อยู่ส่วนปลายของเครื่องมือ ตัดเอาชิ้นเนื้อไปทำการตรวจได้

§  แพทย์ทางพยาธิวิทยา  คือแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค
ด้วยการดูเซลล์  และ  เนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์  
ซึ่งแพทย์จะเป็นคนรายงานให้ทราบว่า  ผลเนื้อเยื่อที่ได้นั้น  เป็น lymphomaหรือไม่


การตรวจด้วยภาพ (Imaging studies)

ในกรณีที่ไม่มีก้อนปรากฏให้เห็น  หรือคลำได้...
ถ้าคนไข้มีอาการ  แพทย์อาจต้องทำการสั่งตรวจเพื่อพิสูจน์ว่า  มีก้อนหรือไม่
ถ้าผลปรากฏว่า  มีก้อนจริง  จากนั้นเขาจะมาพิจารณาว่า 
จะตัดเอาชิ้นเนื้อมาตรวจอย่างไร ?

การตรวจด้วยภาพที่ถูกนำมาใช้ได้แก่:
§  X-rays:  บางส่วนของร่างกาย  สามารถตรวจด้วยภาพเอกซเรย์ง่าย 
บางครั้ง  สามารถตรวจพบ lymphoma ได้

§  CT scans: เป็นตรวจด้วยภาพสามมิติ  มีความละเอียด 
และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลือง  ที่มีขนาดใหญ่  และ  ก้อนต่างๆ  ภายในร่างกายได้

§  MRI:  จะมลักษณะเหมือนกับ CT scans,  MRI  จะให้ภาพสามมิติ 
ที่มีรายละเอียดมาก   มันสามารถให้รายละเอียดได้มากกว่า CT scans  โดยเฉพาะ  การ
ตรวจดูพยาธิสภาพที่สมอง  และ ไขประสาทสันหลัง

§  Lymphangiogram:  การตรวจวิธีหนี้  จะได้ภาพเกี่ยวกับระบะน้ำเหลือง
โดยการติดตามดูสารทึกแสง  ที่เคลื่อนไปตามระบบ 
ซึ่งต่อมาภายหลัง  ถูกแทนที้ดวย CT scans, MRI,  หรือ  PET (ดูข้อความถัดไป

§  Gallium scan:  มะเร็งเม็ดเลือด lymphoma  มีแนวโน้มที่จะจับเอาสาร  ชื่อ gallium
ซึ่ง เป็นสารกัมมันตภาพรังสี   เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายด้วยจำนวนเพียงเล็กน้อย  
สารกัมมันตภาพรังสีดังกล่าจะร่วมตัวอยู่ในบริเวณที่เป็น lymphoma

§  Positron-emission tomographic  (PET) scans   เป็นอีกวิธีหนึ่ง  ที่นำมาใช้ในการตรวจ
หามะเร็ง lymphoma  ซึ่งกระทำโดยแรฉีดสารกัมมันตภาพรังสีเข้าสู่ร่างกาย 
แล้วติดตามดู PET scans   

 ตำแหน่งที่มีสารกัมมันตภาพรังสีรวมตัวอยู่จะบ่งบอกให้ทราบว่า  ตรงบริเวณดังกล่าว
 มีกระบวนการเผาผลาญสูง (increased metabolic  Activity) 
ซึ่งปรากฏให้เห็นทาง PET scans  โดยบอกให้รู้ว่า  น่าจะเป็นมะเร็ง

การตรวจไขกระดูก (Bone marrow examination)
ส่วนใหญ่แล้ว  การตรวจไขกระดูกจะมีความจำเป็นในกรณีที่ไขกระดูกถูกทำลาย
โดยมะเร็ง lymphoma  ซึ่งกระทำโดยการเจาะเอาไขกระดูกไขกระดูกจากกระดูกบริเวณ
สะโพก  เช่น  กระดูก  iliac crest  ส่งให้แพทย์ทางพยาธิวิทยา  
ทำการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์    สิ่งที่แพทย์เขามองหา 
คือ เซลล์ที่ผิดปกติของ B หรือ T cells   เป็นการยืนยันว่า 
คนไข้รายนั้นเป็นโรค lymphoma


การตรวจอย่างอื่น ๆ (Other tests)

§  Lumbar puncture: การตรวจชนิดนี้  บางทีเราเรียก spinal tap 
เป็นการตรวจเอาน้ำจากไขสันหลังมาทำการตรวจ  ในกรณีที่มะเร็งเข้าไป
เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางเมื่อใด  น้ำที่เจากไขสันหลัง  จะพบ
เซลล์ของ lymphoma ได้

§  Organ function tests:  เป็นการตรวจก่อนให้ที่เริ่มให้การรักษาโรค เพื่อให้แน่ใจว่า 
สภาพของคนไข้แข็งแรงดีพอที่จะผ่านการรักษา  สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยา
เช่น  การตรวจดูการทำงานของหัวใจ echocardiogram  และ
การตรวจดูการทำงานของปอด  (pulmonary test)


อ่านต่อ  กด  6  :  Lymphoma- Staging

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น