วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

End-Stage Renal disease: Diagnosis & treament 2

8/17/12

continued 
การวินิจฉัย (Diagnosis)
ในการวินิจฉัยโรคไต  กระทำได้ด้วยการวิเคราะห์ปัสสาวะ 
และ  วัดค่าของสารเคมในกระแสเลือด
เช่น creatinine และ blood urea nitrogen (BUN)
นอกจากนั้น  แพทย์อาจตรวจเพิ่มอย่างอื่น ๆ 
เพื่อตรวจหาสาเหตุ  ที่ทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

เมื่อไตถูกทำลายถึงขั้นสุดท้ายแล้ว  จะไม่มีทางหายแลย
มันจะอยู่กับคนไข้จนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  ของเขา 
นอกเสียจาก  เขาจะมีโอกาสไเปลี่ยนไต (kidney transplant) 

เราจะป้องกันได้อย่างไร (Prevention)
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหาหวาน  ท่านต้องควบคุมน้ำตาลในเลือด
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายไต  ถึงขั้นสุดท้าย 

การตรวจสอบร่างกายอย่างใกล้ชิด  และ การควบความดันโลหิตสูงอย่างดี
ถือว่า  มีบทบาทสำคัญต่อการป้องกันไม่ให้โรคไตแย่ลงได้

ไม่ว่าสาเหตุของโรคไต  จะเป็นอะไรก็ตามที 
คนไข้เกือบทุกราย  จะลงเอยด้วยการเป็นโรคความดันโลหิตสูงกันทุกคน 
ซึ่งจะเพิ่มการทำลายไตให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก  
แพทย์ส่วนใหญ่จะสั่งยาในกลุ่ม   ACE   inhibitors  หรือ  
angiotensin receptor  blockers(ARBs) ให้แก่คนไข้ ที่มีความดันโลหิตสูง 
หรือ มี protein ถูกขับออก  ทางปัสสาวะ
(ตัวบ่งชี้ว่า  ไตถูกทำลาย)

ถ้าท่านเป็นโรคไต...
เป็นหน้าที่ของท่าน  ต้องหลีกเลี่ยงการรับทานยารักษาไขข้อ  NSAIDs
เพราะยาดังกล่าว  สามารถทำลายไตของท่านได้
ท่านต้องลดอาหารประเภทโปรตีนประมาณ 10% ถึง 20 %  
อาจชะลอไม่ให้ไตเสื่อมลงได้เร็ว 
นอกนั้น  ท่านต้องเลิกสูบบุหรี่ และ  ลดระดับไขมัน cholesterol ในเลือดลง

ในการรักษาคนไข้ไตวายระยะสุดท้าย  มีสองทางเลือกเท่านั้น 
ได้แก่  การฟอกเลือดเอาของเสียออก (dialysis) 
และ  การทำการผ่าตัดเปลี่ยนไตให้แก่คนไข้
การฟอกเลือด (dialysis) มีสองชนิดดังนี้:

o   Hemdialysis  เป็นวิธีที่ต้องทำในศูนย์ล้างไต  โดยกระทำอาทิตย์ละสามครั้ง 
แต่ละครั้ง  จะใช้เวลาประมาณ สาม ถึงสี่ชั่วโมง  เป็นการเอาเลือดออกจากตัวคนไข้ 
ให้ไหลผ่านเครื่องกรอง  ที่อยู่นอกร่างกาย  ทำการกำจัดเอาของเสียออกจากเลือดไป 
จากนั้น เลือดก็ไหลกลับเข้าสู่กายอีกทีหนึ่ง...

o   Peritoneal dialysis  สามารถกระทำที่บ้าน  แต่ต้องเสียเวลานานกว่เสร็จ 
เป็นวิธีการกระทำง่ายๆ ด้วยการใส่นำที่ปราศจากเชื้อโรคเข้าสู่ช่องท้อง 
จากนั้น  ของเสียที่อยู่เลือดจะถูกปล่อย และสะสมไว้ในน้ำที่อยู่ในช่องท้อง 
ซึ่งจะถูกปล่อยออกจากช่องท้อง  ประมาณสองสามชั่วโมง (4-5 ครั้งต่อวัน)   
ซึ่ง อาจใช้อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ในตอนกลางคืนได้

สำหรับการปลูกถ่ายไต  สามารถนำมาช่วยคนไข้ที่เป็นโรคไตขั้นสุดท้าย 
โดยไม่ต้องเสียเวลาในการฟอกเลือด dialysis ต่อไป
อย่างไรก็ตาม  การปลอกถ่ายไตที่สำเร็จ  ไม่ได้ทำให้คนไข้หายจากโรค
คนไข้จำเป็นต้องรับทานยา  เพื่อสะกดระบบภูมิต้านทาน  เพื่อไม่ให้เกิดต่อต้าน
ไตที่ได้จากคนบริจาค  ซึ่งจะต้องรับทานยาดังกล่าวตลอดชีวิต

นอกจากนี้  การปลูกถ่ายไตที่ประสบผลสำเร็จ  ไตของผู้ให้ (donor)
และผู้รับ(recipient) จะต้องเข้ากันได้ดี....นั่นเป็นเรื่องของคนที่มีโอกาส
แต่สำหรับชาวบ้านทั่วไปนี้ซิ...โอกาสที่จะได้รับการปลูกถ่ายไตนั้น 
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, หรือ ,มีโรคอย่างอื่นๆ 
ซึ่ง ทำให้ท่านตรงอยู่ในความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตขั้นสุดท้าย
ท่านจะต้องตรวจเลือด  เพื่อดูการทำงานของไตอย่างสม่ำเสมอ 
การทำงานของไต  เมื่อผลการตรวจเลือดบอกให้ทราบว่า  ไตทำงานได้ลดลง 
หรือ มีโปรตีนในปัสสาวะ...ท่านต้องพบแพทย์เฉพาะทาง (nephrologist)

ท่านต้องไปพบแพทย์  เมื่อท่านสังเกตพบเห็นการขับถ่ายปัสสาวะลดลง 
หรือ ท่านมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น ๆ   ที่นำไปสู่โรคไตระยะสุดท้าย
โดยเฉพาะเมื่อท่านรู้ว่ามีปัจจัยเสี่ยง  หรือ ท่านเป็นโรคไตเกิดขึ้นแล้ว
การพยากรณ์โรค (Prognosis)
เมื่อเกิดโรคไตวายเกิดขึ้น  สามารถทำคนไข้ได้ฟื้นตัวสู่สภาพที่ดีขึ้นได้
คนไข้หลายราย  ได้รับการฟอกเลือด (dialysis) และ คนที่ได้รับการปลูกถ่ายไต 
สามารถดำเนินชีวิตได้เกือบเหมือนคนปกติได้  และ
ความเจริญด้านการแพทย์ได้พัฒนามากขึ้น 
ได้ทำให้คนที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายมีความหวังดีขึ้นมาก

<< Back


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น