March 6, 2014
การที่หัวใจของท่านใดเต้นผิดปกติ...
เราสามารถตรวจพบได้โดยอาศัยการตรวจที่เรียกว่า ECG หรือ EKG
ซึ่งย่อมาจาก Electrocardiography เป็นวิธีการง่าย non-invasive
ไม่มีการล่วงล้าเข้าไปในร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ
หัวใจที่เต้นผิดปกติบางราย มีความผิดปกติเพียงประเดี๋ยวประด๋าว เป็นต้น
ว่า เกิดการหยุดเต้นช่วงสั้น ๆ (temporay pause) หรือเต้นก่อนกำหนด
(premature beat) ซึ่งความผิดปกติดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการ
เต้นของหัวใจ (heart rate) หรือไม่กระทบต่อจังหวะการเต้นแต่อย่างใด
หากความผิดปกติที่เกิดขึ้น มันยาวนานขึ้นมา มันอาจเป็นเหตุให้อัตราการ
เต้นของหัวใจผิดไป เป็นต้นว่า เต้นช้าเกินไป , เต้นเร็วเกินไป, หรือกระทั้ง
เกิดการเต้นไม่สม่ำเสมอ กรณีเช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อการ
ปั้มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างแน่นอน
สาเหตุ (Cause)
โดยปกติแล้ว เซลล์ที่อยุ่ในปุ่ม SA node (sinoatrial nose)
ของกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำหน้าที่ยิ่งคลื่นกระแสไฟฟ้าได้อย่าง
รวดเร็ว ปุ่มดังกล่าวจำทำน้าที่ให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะตาม
ธรรมชาติ (natural pacemaker)
ภายใต้ความผิดปกติบางอย่าง (conditions) ปรากฏว่า เนื้อ
เยื้อของกล้ามเนื้อหัวใจทุกสุ่วน สามารถก่อนกำเนิดคลื่นกระ
แสไฟฟ้าได้ และสามารถทำให้หัวใจตอบสนองต่อคลื่นดังว่า
ด้วยการบีบตัว (heartbeat)
การที่เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกเหนือจาก SA node
สามารถส่งวคลื่นกระแสไฟฟ้าได้เช่นนั้น ย่อมทำให้การทำงาน
ตามปกติของหัวใจเสียไป ไม่สามารถปั้มเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ
ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
SA node หรือตัวคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (pacemaker)
ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือเกิดมีการสะกัดกั้นทางเดิน
ของคลื่นกระแสไฟฟ้าที่จุดใดจุดหนึ่งในทางเดินของมัน
ปรากฏว่า มีปุ่มสำรองทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
(secondary Pacemaker) ในบริเวณอื่นของหัวใจ ทำหน้าที่
แทนปุ่มเดิม (primary pacemaker)... ก็เป็นเหตุให้หัวใจเต้นผิดปกติได้
หัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นได้เมื่อ:
ปุ่มควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (natureal pacemaker) เป็น
ตัวก่อให้เกิดอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือเกิดจังหวะที่ผิ
ปกติไป
เมื่อทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจถูกสะกัด หรือถูกขวาง
เอาไว้ ไม่สามารถเดินทางได้ตามปกติ และ
เมื่อส่วนอื่นของหัวใจ สามารถทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมจังหวะการ
เต้นของหัว(secondary pacemaker) ใจแทนของเดิม (primary
Pacemaker)
<< BACK : P.3: Electrical signal control the pump
NEXT >> P. 5: Atrial fibrillation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น