March 9, 2014
ในขณะที่หัวใจเต้นผิดปกติแบบ Atrial fibriallation (AFib)...
ระบบประแสไฟฟ้าในหัวใจจะยุติการทำงานตามปกติไป
เป็นเหตุทำให้จังหวะการปั้มเลืดของแต่ละห้องของหัวใจ ไม่สามารถ
ทำงานได้เป็นปกติเหมือนเดิม...
.
รูปแบบตามปกติของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
(The heart’s normal electrical pattern):
ในหัวใจของคนปกติปกติ คลื่นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งจากหัวใจห้องบนลงสู่
หัวใจห้องล่าง: เป็นการส่งสัญญาร (signaling) ให้กล้ามเนื้อหัวใจเริ่ม
ทำงานด้วยการบีบตัว (contract)
ปุ่ม sinoatrial (SA) node จะทำให้หัวใจช่วงบนเริ่มหดตัว:
ในบริเวณของหัวใจด้านขวา จะเป็นที่อยู่ของปุ่มของเซลล์ ที่
มีชื่อเรียกว่า SA node และจากปุ่มนี้เอง...จะมีคลื่นกระแสไฟ
ฟ้าถูกยิงออกมาด้วยความเร็วให้มีการบีบตัวของหัวใจในอัตรา
80 – 100 ครั้งต่อหนึ่งนามที
การเคลื่อนตัวของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ...
จะเคลื่อนผ่านประตูในกล้ามเนื้อหัวใจห้องบนทั้งสอง (atria)
ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “gatekeeper node”
ปุ่ม atrioventricular (AV) node ทำหน้าที่ควบคุมเวลาการเคลื่อน
ตัวของคลื่นกระแสไฟฟ้าสู่หัวใจช่วงล่าง (ventricle):
จะเห็นว่า ตัวปุ่ม AV node เอง จะทำหน้าที่เป็นประตู (gatekeeper) ให้คลื่น
กระแสไฟฟ้าทั้งหมดจากหัวใจห้องบน (atria) เคลื่อนสู่หัวใจห้วงล่าง
(ventricles)
ในขณะที่คลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนเคลื่อนสู่ปุ่ม AV node
คลื่นกระแสไฟฟ้าจะชะลอตัว เพื่อให้เลือดได้ไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่าง
ให้เต็มก่อนที่หัวใจห้องล่างจะเกิดการบีบตัว
หัวใจห้องล่าง (ventricles) ทั้งสองจะบีบตัว และปั้มเลือดไปยังปอด
และไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
คลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดภาวะ AFib
(Electrical problems in atrial fibrillation):
ในภาวะที่เกิด Atrial fibrillation เราจะพบความผิดปกติในคลื่นกระแส
ไฟฟ้าของหัวใจดังต่อไปนี้:
o ในคนที่เป็น Afib...
ปุ่ม SA node อาจไม่ทำให้เกิดการบีบตัวของหัวใจ
แต่ การบีบตัวของหัวใจอาจเริ่มต้นที่ส่วนอื่น ๆ ของหัวใจห้องบน
หรือแม้กระทั้งในเส้นเลือดดำ pulmonary veins
o ในภาวะการของของหัวใจผิดปกติ Afib...
คลื่นกระแสไฟฟ้าในปัจจุบันขณะ ไม่เคลื่อนตัว (flow) ตามปกติ
(top-to-bottom fashion) ทำให้หัวใจห้องบนมีการบีบตัวอย่างรวดเร็ว
และไม่เป็นระเบียบ (disorganized)
o ในภาวะการเต้นหัวใจผิดปกติ Afib...
พบว่า ปุ่ม AV node ไม่สามารถควบคุมคลื่นกระแสไฟฟ้าที่วิง
ผ่านประตู (gatekeeper) ได้เป็นปกติ
โดยปกติแล้ว ปุม AV (Gatekeeper) จะทำหน้าที่ปกป้องหัวใจห้องล่าง
แต่ภายใต้ภาวะ AFib มันไม่สามารถปกป้องได้ทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้หัวใจ
ห้องล่างเต้นเร็วกว่าที่มันควรจะเป็น จึงทำให้เกิดมีอาการหายใจหอบ
และมีอาการเหนื่อยเพลียตามมา
แม้ว่า หัวใจห้องล่าง (ventricle) อาจเต้นเร็วกว่าปกติ แต่ก็ยัง
ไม่สามารถเต้นได้เร็วเท่าการเต้นของหัวใจห้องบน (atria) จึง
เห็นได้ว่า การบีบตัวของหัวใจห้องบน และห้องล่างต่างเต้นไม่สัมพันธ์กัน
เป็นเหตุให้จังหวะการเต้นของหัวใจ...เต้นเร็ว และไม่สมำเสมอ
ในคนที่หัวใจเต้นแบบ AFib...
หัวใจห้องล่างอาจเต้นได้ 100 ถึง 175 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
ซึ่งปกติหัวใจห้องล่าง จะเต้น 60 – 100 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
Can AF simply go away ?
โดยทั่วไปแล้ว...
ภาวะ AFib. หายได้เองน้อยมาก ๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นสิ่งที่ท่าน และแพทย์ผู้ทำการรักษา
ต้องติดตามตรวจสอบเป็นระยะ ๆ เพราะคนที่ตกอยู่ในสภาพดังกล่าว
แม้ไม่มีอาการใด ๆ แต่ความเสี่ยงต่ออันตรายยังคงมีอยู่
คนที่เกิดภาวะ AFib อาจเกิดขึ้นได้ในระยะอย่างสั้น ๆ โดยมีอาการเกิดขึ้น
แล้วหายไป หรืออาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องได้รับการรักษา
บางครั้ง ภาวะดังกล่าวอาจเป็นชนิดถาวะ ซึ่งการรักษาด้วยยา หรือรักษา
ด้วยวิธีการอย่างอื่น ไม่สามารถทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
ได้
<< BACK P. 5: How does AFib lead to heart failure ?
NEXT >> P7. : Who is at Risk for Atrial Fibrillation (AF or AFib)?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น