วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

ช่องประสาทไขส้นหลังตีบแคบ P. 5 – Lumar spinal stenosis : Symptoms

March 24, 204

คนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเกิดการตีบแคบ  จะมาพบแพทย์เรา
ด้วยอาการหลายอย่าง  เป็นต้นว่า :

ปวดหลังระดับเอว (Low back pain)
คนที่เป็นโรคช่องกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบ   อาจมี หรือไม่มีอาการ
ปวดเอวก็ได้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับดีกรีของการอักเสบของข้อเป็นสำคัญ

รากประสาทที่บริเวณเอว แต่ละระดับ จะทำหน้าที่รับส่งคลื่นประสาท
เป็นการเฉพาะของแต่ละเส้นในบริเวณขาทั้งสอง เมื่อเส้นประสาทถูกกด
มันจะทำให้เกิดอาการปวด...ปวดร้าวไปยังบริเวณของขา  ไปยังบริเวณที่เส้นประ
สาทเส้นนั้นส่งแขนงประสาทไปหล่อเลี้ยง

อาการปวดที่บริเวณก้นหย่อน (buttocks) ซึ่งปวดร้าวไปยังขา  เรียกว่า sciatica 
ซึ่งเป็นผลมาจากการกดรากประสาท

 อาการปวดแสบ - ปวดร้อนที่บริเวณก้นหย่อน และขาทั้งสอง
(Burning Pain in buttock or legs)

การที่เส้นประสาทจากสันหลัง  ซึ่งส่งคลื่นประสาทไปยังขาเมื่อถูกกด
จะก่อให้เกิดอาการปวด   ซึ่งอาจมีอาการแสบร้อนตามเส้นประสาทได้
โดยเริ่มต้นด้วยการมีอาการจากก้นหย่อน และร้าวไปยังขา 
 และหากการเส้นประสาทถูกกดมากขึ้น  อาจทำให้อาการปวดร้าวไปถึง
บริเวณเท้าได้

 อาการชา  หรืออาการเป็นเหน็บ  หรือรู้สึกซ่า ร่วมกับอาการแสบ
ร้อนที่บริเวณก้นหย่อน หรือขา ( Numbness or tingling in buttocki or legs) 

อาการดังกล่าวอาจไม่ปรากฏในคนไข้ทุกราย

 เกิดอาการอ่อนแรงที่ขา หรือไม่สามารถกระดกข้อเท้าได้
(Weakness in the legs or foot drop) 
เมื่อใดก็ตามที่เส้นประสาทถูกกดถึงระดับที่มากพอ จะทำให้เกิดการอ่อนแรง
ของขาด้านใดด้านหนึ่ง หรือขาทั้งสองด้าน  และบางรายอาจถึงขั้นข้อเท้าตก 
(foot drop) ...เวลาเดินเท้าจะตบพื้นทุกครั้งที่ย่างก้าว

 เวลานั่ง หรือเวลาโน้มตัวไปทางด้านหน้า อาการปวดจะลด
ลง (Less pain with leaning forward or sitting)
ผลจากการศึกษาพบว่า เวลาโน้มตัวไปทางด้านหน้าจะทำให้ช่องว่างในกระดูก
สันหลังช่วงเอวเปิดกว้างขึ้น  เป็นการลดแรงกดบนเส้นประสาท 
จึงทำให้อาการปวดลดลง

แต่อาจมีคนไข้จำนวนไม่น้อย แม้ว่าจะโน้มตัวไปทางด้านหน้า  
หรืออยู่ในนั่งก็ไม่ทำให้อาการปวดหายไปได้  โดยทั่วไป อาการจะเลวลงเมื่อยืน 
หรือเดิน หรือเดินได้ไม่กี่ก้าวสามารถทำให้เกิดอาการปวดขาได้


<< BACK    NEXT >> p. 6 :Lumbar Spinal Senosis : Diagnosis. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น