March 2, 204
คนที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่...
เขาจะมาด้วยก้อน หรือเป็นตุ่มทีบริเวณคอ ซึ่งสามารถคลำได้
อาการอย่างอื่นจะไม่ค้อยมี
อาการเจ็บปวดที่เป็นอาการเตือนในระยะแรก ของมะเร็งทั้งหลาย
ก็ไม่ค่อยปรากฏให้เห็น
คนที่เป็นมะเร็งดังกล่าว อาจมาด้วยความรู้สึกแน่นที่บริเวณลำคอ
ทำให้เกิดมีความลำบากในการหายใจ, กลืนอาหารลำบาก, อาจทำ
ให้เกิดเสียงแหบ หรือมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอบวมขึ้น
การวินิจฉัยโรค (Thyroid Cancer Diagnosis)
เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อไทรอยด์...
แพทย์อาจทำการตรวจหลายอย่าง เพื่อตรวจสอบดูว่า ขนาด และ
ตำแหน่งของก้อนว่า เป็นเนื้องอก (benign) หรือเป็นมะเร็งกันแน่
นอกจากนั้น แพทย์อาจให้ทำการตรวจเพิ่มอีก เพื่อให้ทราบว่า
การทำงานของต่อมไทรอยด์ยังสามารถทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ ?
การตรวจที่เราควรทราบได้แก่
Ultrasonography- เป็นเทคนิคในตรวจความผิดปกติด้วยภาพ
ของต่อมไทรอยด์ โดยการใช้คลื่นวิทยุที่มีความเร็วสูง
ซึ่งมนุษย์เราไม่สามารถสัมผัสได้ เมื่อคลื่นวิทยุวิ่งผ่านต่อมไทรอยด์
การสะท้อนขอคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพ หรือที่เรียกว่า sonogram
ซึ่งปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์...
ภาพที่ได้...แพทย์สามารถบอกได้ว่า มันเป็นเพียงถุงน้ำ(Fluid-filled cyst)
หรือเป็นเนื้องอกธรรมดา(benign) หรือ เป็นก้อนแข็ง (solid mass)
ซึ่งอาจเป็นมะเร็งได้
การใช้สารกัมมันตภาพรังษีตรวจ (scan) ต่อมไทรอดย์ สามารถบอกขอบเขต
ของก้อนเนื้องอก หรือมะเร็งที่อยู่ในต่อมไทรอยด์ได้ โดยก่อนทำสะแกนด์
แพทย์จะฉีดสารกัมมันตภาพรังษีในปริมาณน้อย ๆ ให้แก่ท่าน
ซึ่ง ส่วนมากจะเป็น technetium (Tc-99m) และสารดังกล่าว
จะไปรวมตัวอยู่ในต่อมไทรอยด์
นอกจากนั้น การทำสะแกนด์ด้วยเครื่อง scanner ยังสามารถใช้ตรวจสอบ
ส่วนต่าง ๆ ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งไม่จับสารไอโอดินได้ตามปกติได้อีกด้วย
และบริเวณที่ตรวจได้ (cold spots) อาจเป็นเนื้องอกธรรมดา หรือมะเร็ง...
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตรวจอย่างอื่นกันต่อไป
Biopsy- เป็นการศึกษาด้วยการเอาเนื้อเยื่อจากต่อมไทรอยด์มาทำการ
ตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์ (microscope) เพื่อให้แน่ใจว่า
ก้อนที่ตรวจพบนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ?
การเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ สามารถกระทำได้โดยการใช้เข็มเจาะ
ดูดเอาชิ้นเนื้อ....หรือทำการผ่าตัด...ตัดเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ
วิธีแรกเรียก needle biopsy และวิธีที่สองเรียก surgicalbiopsy
ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด แพทย์ทางพยาธิจะทำการตรวจเนื้อเยือ เพื่อ
มองหาเซลล์ที่เป็นมะเร็ง...
<< BACK P. 9 : Thyroid cancer diagnosis
NEXT >> P.11 : Thyroid Cancer Treatment
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น