วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina) Part 4: Treatment for Unstable Angina

March 18, 2014

ก่อนให้การรักษา...
แพทย์ผู้รับผิดชอบ  จำเป็นต้องทำการตรวจดูตำแหน่งการอุดตันเส้น
เลือดแดงของหัวใจ (coronary arteries) โดยการวิธีการตรวจที่เรียกว่า 
Cardiac Catheterization ซึ่งแพทย์ผู้ทำการตรวจจะทำการสอดใส่สายยาง
(catheter) ผ่านเส้นเลือดแดงที่บริเวณต้นแขน หรือขา...เข้าสู่เส้นเลือดแดง
ของหัวใจ (coronary arteries) 

ต่อจากนั้นจะมีการฉีดสารทึบแสงผ่านท่อยาง (catheter)

แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ที่มีความเร็วสูง  ซึ่งสารทึบแสงจะเดินทางผ่าน
เส้นเลือดแดงของหัวใจ   และสามารถบอกตำแหน่งของเส้นเลือดที่มี
การตีบแคบ หรือเกิดการุอดตันได้่

เมื่อตรวจพบตำแหน่งที่มีการอุดตันในเส้นเลือดแดง...
แพทย์จะบอกให้ท่านได้ทราบ   และท่านจะมีส่วนร่วมในการพิจารณา
เลือกวิธีการรักษาด้วยกัน:

1. Percutaneous coronary intervention (PCI)
หลังการสอดใส่ท่อยางเข้าไปในเส้นเลือดของหัวใจ จนพบตำแหน่ง
ตีบแคบ และอุดตันของเส้นเลือแล้ว  แพทย์จะสอดใส่สายท่อยาง  ซึ่งตรง
บริเวณปลายท่อได้ติดบอลลูนเอาไว้ ...เมื่อปล่อยให้ลูกบอลลูนขยายตัว จะทำ
ให้เส้นเลือดที่ตีบแคบขยายตัวออกพร้อมๆ กับขดลวดได้กางออก  ทำให้เส้น
เลือดขยายตัว  หลังจากนัั้น  เขาปล่อยให้บอลลูนแฟบลง  แล้วดึงท่อยางออก

2. Coronary artery bypass graft surgery.
ในบางราย การอุดตันหลอดเลือดของหัวใจอาจมีความรุนแรงจน
ไม่สามารถทำการขยายหลอดเลือด้วยบอลลูน และวางขดลวดได้
(PCI) ได้  จำเป็นต้องหันมาใช้วิธี coronary artery bypass....

การทำ coronary artery bypass....เป็นการทำให้เลือดไหล
เวียนสู่กล้ามเนื้อหัวใจซึ่งถูกตัดขาดจากเส้นเลือดอุดตัน โดยการผ่าตัด
การสร้างทางเบี่ยงของการไหลเวียนเลือด  .ให้อ้อมผ่านตำแหน่งอุดตัน
ของเส้นเลือดไปยังตำแหน่งที่ที่เลยการอุดตัน ....


<< BACK   P. 3: Symptoms of Stable Angina & Treatmnet

NEXT >>  P. 5 :Variant(Prinzmetal) Angina

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น