วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประเด็นน่ารู้ในโรคเบาหวาน. P.12: Diabetes Medications

March 4, 2014

ในการรักษาโรคเบาหวาน...
เป็นที่ยอมรับกันว่า  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ถือเป็นส่วนหนึ่ง
ของการรักษาโรคเบาหวาน  ตลอดรวมไปถึงการักษาโรคความดันเลือดสูง 
และระดับไขมันคลอเลสเตอรอลผิดปกติ   ซึ่งแพทย์อาจสั่งยา
ให้แก่คนไข้โดยอาศัยความต้องการของร่างกายเป็นสำคัญ

การวางแผนการรักษาโรคเบาหวาน  อาจประกอบด้วย “อินซูลิน”,
หรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล หรือใช้ทั้งยาเม้ดลดน้ำตาล ร่วมกับใช้
ยาฉีด “อินซูลิน”

มีคนไข้จำนวนไม่น้อยอาจจำเป็นต้องได้รับยาหลายขนาน
(multiple drug therapy) โดยเฉพาะในรายที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และเส้นเลือด ซึ่งเกิดร่วมกับโรคเบาหวาน

การปฏิบัติตนตามคำแนะนำแพทย์ โดยกินยาตามแพทย์สั่ง
 ถือเป็นสิ่งสำคัPสำหรับการรักษา

อินซูลิน (Insulin)

ตับอ่อน (pancreas) จะสร้างฮอร์โมน ชื่อ insulin ซึ่งทำหน้าที่
ช่วยทำให้ต้ำตาล (glucose) จากกระแสเลือดเคลื่อนเข้าสู่เซลล์
หลังจากนั้น เซลล์จะใช้น้ำตาล “กลูโกส” ให้เป็นพลังงานต่อไป

ภายใต้ภาวะปกติ ตับอ่อนจะผลิตฮอรโมน “อินซูลิน” ในปริมาณ
พอดีกับความต้องการ ในคนไข้ที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง ตับ
อ่อน (pancreas) ไม่สามารถผลิต “อินซูลิน” ได้ ส่วนเบาหวาน
ประเภทสอง สามารถผลิต “อินซูลิน” ได้ แต่ร่างการไม่สามารถ
ใช้ “อินซูลิน” ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อเวลาผ่านนานเข้า...คนที่เป็นเบาหวานประเภทสอง
จะผลิตฮอร์โมน “อินซูลิน” ได้น้อยลง

แพทย์อาจสั่ง “อินซูลิน” ให้แก่คนไข้ที่เป็นเบาหวานทั้งประเภท 1 & 2
เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด...
ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ

ในปัจจุบันนี้ มี Insulin ให้เราได้นำไปใช้รักษาคนไข้กันหลายชนิด
ไม่ว่าท่านจะใช้ยาชนิดใด  ท่านจะต้องฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่เป็น
ไขมันใต้ผิวหนัง เพื่อให้ยาได้ซึมเข้าสู่กระแสเลือด

อินซูลินที่เราใช้รักษาโรคเบาหวาน จะมีความแตกต่างกันตามปัจจัย
หลายอย่าง  เป็นต้นว่า  การผลิดทำอย่างได้อย่างไร,  ออกฤทธิ์เร็วแค่ใด,
มีฤทธิ์สูงสุดเมื่อใด,  ออกฤทธิ์แค่ใหน ?  รวมไปถึงราคาของมัน
ที่เราควรทราบได้แก่:

o Rapid-acting insulin:
ออกฤทธิ์ในการทำงานภายใน 5 นาที หลังการฉีดยา ออกฤทธิ์
สูงสุดประมาณหนึ่งชั่วโมงให้หลัง โดยออกฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลา 2 – 4 ชั่วโมง

o Regular or short-acting insulin:
หลังจากฉีดยาเข้าสู่ไขมันมันติ้วหนัง มันจะเข้าสู่กระแสเลือด
ภายในเวลา 30 นาที ออกฤทธิ์ได้สูงสุด (peak) ในเวลา 2 – 4 ชม.
หลังฉีด และจะคงมัผลของการรักษานาน 3 – 6 ชม.

o Intermediate-acting insulin:
หลังจากฉีดยา มันจะเข้าสู่กระแสโลหิตภายใน 2 – 4 ชั่วโมง
ออกฤทธิ์สูงสุดภายใน 4 – 12 ชั่วโมง และออกฤทธิ์นานประ
มาณ 12 ถึง 18 ชั่วโมง

o Long-acting insulin:
ยาในกลุ่มนี้ หลังฉีดมันะเข้าสู่กระแสเลือดภายใน 6 – 10 ชม.
และจะมีฤทธิ์ในการทำงานนานประมาณ 20 – 24 ชั่วโมง

ในการเลือกใช้อินซูลิน...
แพทย์เขาเป็นคนพิจารณา (ร่วมกัยท่าน) ว่า ยาตัวใดเหมาะที่สุด
รวมถึงขนาด (dosage) ของยาเพื่อจัดการกับโรคเบาหวานของท่าน
โดยเหมาะสมกับวิถีชีวิตของท่าน

มีคนไข้บางราย ต้องฉิด “อินซูลิน” วันหนึ่ง 1 – 4 ครั้ง เพื่อควบคุมระดับ
น้ำตาลในกระแสเลือด   ซึ่งแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ ผู้รับผิดชอบ
กับการรักษาเบาหวาน จะเป็นคนแนะนำว่า  ท่านควรปฏิบัติตนอย่างไร...
ฉีดอย่างไร? และเมื่อใด ?

ผลข้างเคียงที่เกิดจาก “อินซูลิน”  คือ ระดับน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia)
และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (weight gain)

Oral Diabetes Medication
สำหรับท่านที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง  หรือเป็นเบาหวานระหว่าง
ตั้งครรภ์ (gestational diabetes)  แพทย์อาจสั่งยาเม็ดลดระดับน้ำตาลให้แก่ท่าน
 เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่าน

มียาเม็ดลดน้ำตาล 10 กลุ่ม (classes)...จำนวนน้อยกว่าจำนวนไม้ตีลูกกอล์ฟ
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาล สามารถใช้ร่วมกับ “อินซูลิน” ฉีด
หรือใช้ร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลกลุ่มอื่นได้
ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์จะทำหน้าที่พิจารณา...ว่าจะให้ท่านกินยาเม็ดลดน้ำตาล
ชนิดใด  หรื่อให้ร่วมกับยากลุ่มใหน โดยขึ้นกับความต้องการลดระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดของท่านเป็นสำคัญ

ยาเม็ดลดน้ำตาล... Metformin เป็นยาตัวแรก (first-line therapy)
ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ท่านใช้  โดยร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของท่าน
โดยเฉพาะในกรณีที่ท่านเป็นคนอ้วน...

นอกจากนั้น  แพทย์จะเป็นคนบอกท่านทราบว่า...
ท่านควรกินยาเม็ดลดน้ำตาลอย่างไร และหรือเมื่อใดถึงต้องฉีด “อินซูลิน”
รวมถึงคำแนะนำให้ท่านกินยาพร้อมกับอาหารหรือ ไม่ ?

<< BACK  P.11:  Prevention and Treatment Diabetes

์NEXT  >> P. 13: How does diabetes affect cholesterol ?



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น