March 3, 2014
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน...
จากสถิติของสหรัฐฯ รายงานเอาไว้ว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุของ
การเสียชีวิตในประชาชนของเขามากกว่า 230,000 รายต่อปี...
เป็นที่น่าตกใจที่พบว่า โรคดังกล่าวได้เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะแทรกซ้อน
โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบว่า ตนเองเป็นโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (non-modifiable risk factor
For type 2 diabetes)
มีปัจจัยเสี่ยงจำนวนไม่น้อย ซึ่งเพิ่มอันตรายต่อการเกิด "ภาวะก่อนเป็นโรค
เบาหวาน (prediabetes)" และเกิดเป็นโรค เบาหวานประเภทสองในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว เป็นเรื่องที่คนเราไม่สามารถควบคุมได้
เป็นต้นว่า:
o ประวัติครอบครัว (Family history)
ถ้าญาติของท่าน ซึ่งเป็นสายพันธ์เดียวกันเกิดเป็นโรคเบาหวาน
ท่านมีโอกาสที่จะเกิดเป็นเบาหวานได้สูง
o เชื้อชาติ หรือสายพันธ์ (Race or Ethinic background)
ถ้าท่านเป็นชนชาติอาฟกัน, เอเชียน, ชาวเกาะ... ต่างมีแนวโน้มที่จะเกิด
เป็นโรคเบหวานกัน
o อายุ (Age)
อายุยิ่งแก่มากขึ้น ท่านมีโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคเบาหวาน...
โดยทั้วไป เบาหวานประเภทสอง มักจะเกิดในวัยกลางคน (หลัง 45 ปี)
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันปรากฏว่า มีเด็ก และวัยรุ่นเริ่มเป็นโรคเบาหวาน
ประเภทสอง (ชาวอเมรกัน) กันมากขึ้น
o ประวัติการเกิดเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
(History of gestational diabetes)
ถ้าท่านมีประวัติว่าเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดลุูกมีน้ำหนัก
มากกว่า 9 ปอนด์ ท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยง (ที่เปลี่ยนแปลงได้) ที่ทำให้เกิดโรคเบหาวาน
(Modifiable Risk Factors for Type 2 Diabetes)
มีปัจจัยเหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ โดยเราไม่สามารถ
ควบคุมมันได้ แต่ในขณะเดียวกัน ยังปรากฏว่ามีปัจจัยอีกจำนวนหนึ่ง
ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
ย่อมสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน และสามารถทำให้
คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นด้วย
ปัจจัยที่คนเราสามารถควบคุมได้ ได้แก่:
• น้ำหนักเกิน / อ้วน (Overweight/obesity)
โรคเบาหวานจะพบในชายได้ประมาณ 50 % และพบในเพศหญิงประมาณ 70 %
ถ้าหากคนเรามีน้ำหนักตัวเกินปติ (optimal body weight) จะมีความเสี่ยงต่อ
การเกิ ดเบาหวานได้ถึง 20 %
หากคนเราสามารถลดน้ำหนักตัวลงได้ 5% ถึง 7% สามารถลดความเสี่ยง
ต่อการภาวะก่อนเป็นเบาหวานได้ครึ่งหนึ่ง และหากท่านสามารถลดน้ำหนักลง
ได้มาก ท่านยิ่งมีโอกาสลดความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานได้มากขึ้นตามส่วน
• การไม่ออกกำลังกาย (Physical inactivity)
คนที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน...มักจะไม่ค่อยออกกำลังกาย
ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ “ก่อนเป็นโรคเบาหวาน” และ
โรคเบาหวานประเภทสองได้สูง
ท่านเพียงแต่ออกกำลังกาย (แอโรคบิค) ระดับพอประมาณ 150 นาที / หนึ่งอาทิตย์
หรือ ออกกำลังอย่างหนักเพียง 90 นาที ต่อหนึ่งอาทิตย์ นอกจากจะทำให้ท่าน
มีสุขภาพดีแล้ว ท่านยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
และโรคหัวใจได้
• ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
มีรายงานว่า ความดันโลหิตสูงนอกจากจะทำลายระบบหัวใจ และ
เส้นเลือดแล้ว ยังมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคเหบาหวานด้วย
• ระดับไขมันคลอเลสเตอรอลที่ผิดปกติ
(Abnormal cholesterol (lipid) levels)
เมื่อใดก็ตามที่ท่านมีไขมันดี HDL cholesterol ต่ำ, ไขมันเลว LDL cholesterol สูง
และมี triglycerides สูง จะเพิมความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทสอง
ไม่แต่เท่าน้น มันยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และเส้นเลือดได้อีกด้วย
จะเห็นว่า การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการรักษาน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ
สามารถช่วยทำให้ระดับไขมันอยู่ในระดับปกติได้...และ
บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยา (medications) ช่วย
<< BACK P. 7::Why are people with diabetes at increase risk for CVD ?
NEXT >> P.9 :Symptoms, Diagnosis & Monitoring of Diabetes
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น