March 24, 2014
ในการตรวจคัดกรอง (Screening) หาค่าสารส่อมะเร็ง - PSA เพื่อพิจารณาว่า
คนที่ไดรับการตรวจ มีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่ ซึ่งผลจากการตรวจคัดกรอง
จะพบว่าค่าของ PSA สูงกว่าปกติ (≥ 4.0 ng/mL)
และก่อนที่จะทำอะไรต่อไป แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจ PSA ซ้ำ
เพื่อเป็นการยืนยันผลของการตรวจเลือดในครั้งแรก
หากผลที่ตรวจได้มีค่าสูงเหมือนเดิม แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจ PSA
พร้อมตรวจต่อมลูกหมากด้วยนิ้วมือ (DRE) อย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบดู
ความเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป
ถ้าผลการตรวจดูระดับของ PSA มีค่าสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือตรวจพบก้อน
ปรากฏในต่อมลูกหมาก (จากการตรวจด้วยนิ้วมือ (DRE).)..
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจอย่างอื่น ๆ เพื่อตรวจหาต้นเหตุของปัญหา
โดยการตรวจอย่างอื่น ๆ เช่น ทำการตรวจด้วยภาพ- transrectal ultrasound,
เอกซเรย์ (x-rays), หรือทำการตรวจด้วยกล้อง (cystoscope)
หากผลการตรวจ...พบว่า คนไข้อาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตัดเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากออกมาทำ
การตรวจ (biopsy) ด้วยการใช้เข็มเจาะเอาเนื้อจากต่อมลูกหมากหลาย ๆ
ตำแหน่ง โดยการใช้เข็มแทงผ่านเยื่อหุ้มต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
(transrectal biopsy) หรืออาจแทงผ่านผิวหนังระหว่างทวารหนัก
และลูกอัณฑะ (Transperineal biopsy)
ในการใช้เข็มเจาะเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลุกหมากไปทำการตรวจ
พยาธิแพทย์อาจใช้ “อัลตราซาวด์” เพื่อบอกตำแหน่งของต่อมลูกหมาก
แต่การตรวจด้วย “อูลต้าซาวด์” ไม่สามารถบอกได้ว่า คนเป็นมะเร็ง
ต่อมลูกหมากหรือไม่ ?
<< BACK P. 3: Prostatic specific antigen (PSA)
NEXT >> P.5 : What are some of the limitations and potential harms of
the PSA test for prostate cancer screening?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น