วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

ช่องประสาทไขส้นหลังตีบแคบ P. 8- Lumar spinal stenosis :: Surgical Treatment

March 28, 2014

ในการรักษาคนเป็นโรคช่องกระดูกตีบแคบ  ไม่สามารถทำให้อาการ
ปวดหลัง, ปวดขา,  และอื่นๆ ดีขึ้นด้วยวิธีการไม่ต้องผ่าตัด 
ก็จำเป็นต้องพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัด ต่อไป
              
การรักษาด้านศัลยกรรม (Surgical treatment)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis)  จะถูกเก็บไว้
สำหรับคนไข้ที่ไร้คุณภาพชีวิตจากอาการปวด และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
คนไข้จำนวนหนึ่งอาจเดินลำบากมาเป็นเวลาหนึ่ง  และนั้นคือเหตุ
ผลที่ได้รับการพิจารณาการผ่าตัด
                                      
ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังตามที่กล่าว...
มีทางเลือกให้ทำสองประการ นั้นคือ ผ่าตัดเอากระดูกสันหลังด้านหลัง
ออก (laminectomy) และทำให้กระดูกที่ได้รับการผ่าตัดเอากระดุกออก
นั้นให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง (spinal stenosis)  จึงอาจจำเป็นต้องทำ
ทำการยึดตึงด้วยโลหะ (instrumentation) และเชื่อมกระดูกให้ติดแข็ง

จากการผ่าตัดทั้ง laminecomy และ spinal fusion...
สามารถทำให้อาการปวดทุเลาลง  สำหรับท่านที่ได้รับการผ่าตัดได้รับ
ผลที่ไม่ดี  อย่าลืมบอกให้แพทย์ได้รับทราบ

Laminectomy. 

เป็นการผ่าตัดเอากระดูก (bone)ทางด้านหลังกระดุกสันหลังออก...
เป็นการผ่าตัดเปิดช่องกระดูกทางด้านหลัง  เรียกว่า laminectomy 
นอกจากนั้น  ยังมีการผ่าเอากระดุูกงอก (bone spurs) และพังผืดที่
หนาตัว  ซึ่งไปกดรากประสาทออกทิ้งไป

การผ่าตัดเอากระดูก และส่วนที่ไปกดประสาทออกทิ้ง  เราเรียกว่า
decompression

Spinal fusion.

ถ้ากระดกสันหลังมีการอักเสบ (arthritis) และทำให้ความแข็งแรง
ของกระดุกสันหลังหายไป (instability)  การผ่าตัดจำเป็นต้องทำ
ทั้ง decompression และ spinal fusion ร่วมกัน

Rehabilitation

หลังการผ่าตัด...
ท่านอาจจำเป็นต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลในระยะสั้น ๆ
ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับสุขภาพของท่านเอง  รวมถึงวิธีการผ่าตัดที่ท่านได้รับ
สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงดี  อาจกลับบ้านได้เร็ว

ในรายที่ทำการผ่าตัดเอาส่วนที่ไปกดประสาทออก (decompression) 
ไม่ทำอะไรมากกว่านั้น  ท่านอาจได้รับอนุญาติให้กลับบ้านภายใน 2 – 3 วัน  
แต่หากทำการผ่าตัดเชื่อมกระดูก (spinal fusion) ด้วย  ท่านอาจจำ
เป็นต้องอยู่นานหน่อย (นอนนานเพิ่มขึ้น 2 – 3 วัน)

หลังการผ่าตัด  ท่านอาจสรวมใส่อุปกรณ์พยุงหลัง (corset) และได้รับคำ
แนะนำให้เริ่มเดินให้เร็วที่สุดที่จะเร็วได้  ส่วนใหญ่จะได้รับกายภาพบำบัด เพื่อ
ทำให้กล้ามเนื้อของหลังแข็งแรง

หลังการผ่าตัด  และสามารถกลับสู่สภาวะปกติทำงานได้เหมือนปกติ
ภายในต 2 – 3 เดือน

ส่วนคนสูงอายุ  จำเป็นต้องได้รับการดูแล และให้การช่วยเหลือนานหน่อย  
และมักถูกย้ายไปยังหน่วยฟื้นฟูก่อนกลับบ้าน
  
อันตรายจากการผ่าตัด (Surgical risks)

ทุกการผ่าตัด  แม้ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็กต่างมีอันตรายทั้งนั้น
อันตรายที่ว่า  ได้แก่ มีเลือดออก (bleeding), อักเสบ (infection),
มีก้อนเลือดเกิดขึ้น (blood clot), และมีปฏิกิริยาต่อการดมยาสลบ
อย่างไรก็ตาม...อัตรายเหล่านี้มีได้น้อย

ในคนสูงอายุ  จะพบว่า  มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้สูง
นอกจากคนสูงอายุแล้ว  คนต่อไปนี้มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงเช่นกัน
เป็นต้นว่า  คนอ้วน, คนเป็นโรคเบาหวาน, สูบบุหรี่, หรือคนที่มีปัญหาด้าน
สุขภาพหลายอย่าง

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดสำหรัลช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ
ได้แก่:

o   ถุงหุ้มเป็นประสาท (dural sac) เกิดการฉีกขาด
o   กระดูกไม่เชื่อมติด (failure of bone fusion to heal)
o   อุปกรณ์ทีใช้ในการยึดตรึงกระดูกเคลื่อนหลุด (failure of
  Screws or rods)
o   เส้นประสาทฉีกขาด (Nerve injury)
o   ต้องรับการผ่าตัดซ้ำ
o   อาการไม่ดีขึ้น (Failure to relieve symptoms)
o   อาการกลับเป็นขึ้นมาใหม่ (return of symptoms)

ผลของการผ่าตัด (Surgical outcomes)

คำถามที่คนไข้โรคช่องกระดุกสันหลังตีบแคบมักถาม...
ผลของการผ่าตัดเป็นอย่างไร ?

โดยทั่วไป...
ผลของการผ่าตัดเอากระดูกสันหลังเพื่อลดการกดทับประสาท (laminectomy) 
ส่วนมากจะได้รับผลดี  ถึงดีมาก  และส่วนมาก  อาการปวดขาจะทุกเลาได้มากกว่า
อาการปวดหลัง   และส่วนใหญ่สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ


<<BACK    NEXT  >>


http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00329



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น