วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เราจะแยกโรคทั่งสองได้อย่างไร : Parkinsons’s or Essential Tremor


July 28,2014

มีคนคนสูงอายุจำนวนไม่น้อย มีอาการสั่นระริกของมือทั้งสสอง,
ศีรษะ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย...ทำให้คนพบเห็นนึกถึงโรคๆ หนี่ง
คือ โรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคที่นอกจากไม่มีทางรักษาให้หายขาด
แล้ว ยังเป็นโรคที่มีการดำเนินไปเรื่อย ๆ โดยที่ส่วนใหญ่จะมีอาการ
สั่นระริกของกาย

แต่มีอีกภาวะหนึ่ง ที่มาด้วยลักษณะอาการสั่นระริกได้เช่นกัน นั้น
คือ essential tremor

คำถามมีว่า...
เราจะแยกคนที่มีอการสั่นระริกระหว่างโรค “Parkinson’s ” และ
“essential tremor” ได้อย่างไร ?

อาการสั่นระริกที่พบในคนนทีเป็นโรค “พาร์กินสัน” เป็นการสั่นใน
ระวหว่างหยุดพัก (resting tremor)... โดยเราจะพบเห็นอาการ
สั่นของมือเมื่อมืออยู่ในขณะพักผ่อน (completely rested) และ
อาการสั่นจะหายไปเมื่อมือถูกสั่งให้ทำงาน เช่น ให้หยิบของ

ส่วนในคนที่เป็น Essential tremor...
จะมีลักษณะตรงกันข้าม นั่นหมายความว่า เมื่อมือของคนที่เป็น
essential tremor ได้พักผ่อน อาการมือสั่นจะหายไป แต่
พอสั่งให้มือทำงาน เช่นให้จับถ้วยแก้ว...หรือมีการเคลื่อนไหว
อาการสั่นจะหายไป

อาการสั่นอันเกิดจาก Parkinson’s ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้น หรือมี
อาการมากที่ด้านใดด้านหนึ่งเสมอ
ส่วน Essential tremor ปรากฏว่า การสั่นของทั้งสองข้างจะเท่ากัน

คนที่เป็น essential tremor จะไม่มีอาการที่สำคัญ (เด่นชัด) เหมือน
คนที่เป็นโรค parkinson’s เช่น มีการเคลื่อนไหวช้า (bradykinesia),
กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (stiff muscle), ทำให้มีลักษณะการเคลื่อนไหว
คล้ายฟันเฟือง (cogwheel rigidity)

สาเหตุของโรคพารกินสัน จะแตกต่างจากโรค essential tremor...
โดยโรค “พาร์กินสัน” มีต้นเหตุมาจากสมองขาดสารสื่อประสาท ชื่อ
Dopamine

ส่วนสาเหตุของ essential tremor กลับไม่เป็นที่ทราบ แต่คิดว่ามัน
เป็นผลเนื่องมาจากความผิดปกติในคลื่นประสาท (distortion of
Neurological impulses) ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของสมอง ?
อย่างไรก็ตาม...เราไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จอธิบายได้ว่า ทำไมคนที่
เป็น essential tremor มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคพาร์กินสันใน
ช่วงหลังของชีวิต
   


     Credit: www.adoctorandanurse.com

ในคนที่เป็น essential tremor เมื่อแก่ตัวขึ้น อาการสั่นระริกจะเลวลง
ซึ่งอาจเป็นอาการเริ่มแรกของการเกิดโรค “พาร์กินสัน” ก็ได้
อย่างไรก็ตาม essential tremor ในคนแก่ ...อาการสั่นของมือ หละ
อาการสั่นของศีรษะ เป็นการสั่นแบบหยาบๆ ไม่สั่นเร็วเหมือนตอนแรก
(ลักษณะการสั้น – ช้า และหยาบ) ซึ่งทำให้หลายคนคิดว่า มันได้
กลายเป็นพาร์กินสัน แต่ตามเป็นจริง...มันยังเป็น essential tremor
ซึ่งมีอาการเลวลงเท่านั้นเอง !


http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/healthy_living/
essential_tremor_Parkinsons_3842-1.html

เมื่อเราเริ่มแก่ตัว...เรามักจะเป็นคนขี้หนาว ? Older and Colder -Why?

July 25, 2014

ท่านเคยสังเกตุบ้างหรือไม่ว่า...
เมื่อตอนหนุ่มเราสามารถอาบน้ำเย็นได้อย่างสบาย  แต่พอแก่ตัวขึ้นเรา
จะรูสึกว่า ทุกครั้งที่อาบน้ำเย็นจะรู้สึกหนาวสะท้าน พอถึงตอนกลางคืน
จะต้องห่มผ้าเสียหนาเตอะ ซึ่งตรงกันข้ามกับสมัยเป็นหนุ่ม...

คำถามมีว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

ความจริงมีว่า...

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น ปรากฏว่ามีเหตุผลอยู่สองสามประการ ที่ทำให้คน
สูงวัยอาจรู้สึกหนาวได้ง่ายกว่าปกติ  หรือไม่สามารถทนต่อความหนาวเย็น
ได็เหมือนคนหนุ่มทั้งหลาย

สาเหตุประการแรก เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ระบบการเผาผลาญของกาย
จะช้าลง ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายผลิตความร้อนได้ไม่พอเพียงกับ
ความต้องการ และไม่สามารถคงสภาพอุณหภูมของร่างกายให้คงไว้ที่
ระดับ 98.6 องศาฟาเรนไฮด์ได้

การมีโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ก็สามารถทำให้มีความไว
ต่ออากาศเย็นได้สูงขึ้น (increased sensitivity)  ทั้งๆ ที่โรคเบาหวานจะทำ
ให้ความรู้สึกของแขนหรือขาลดลงก็ตามที

สำหรับคนที่กินยาลดความดันโลหิตสูง บางกลุ่ม เช่น beta blockers ซึ่งยา
จะออกฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นช้าลง  สามารถทำให้การไหลเวียนของเลือดสู่
แขน หรือขาได้ลดลง..นั่นคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนสูงวัยมีความรู้สึกไว
ต่อความเย็นได้เพิ่มขึ้น

ยากลุ่ม  calcium channel blockers ออกฤทธิ์โดยการทำให้เส้นเลือดขยาย
ตัว  และเป็นเหตุทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนได้

การมีระดับไขมัน cholesterol ในกระแสเลือดสูง  สามารถทำให้การไหลเวียน
ของเลือดทั่วร่างกายลดลงได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนั้น การเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงาน้อยกว่าปกติ
(hypothyroidism)  และโรคในระบบเส้นเลือด และหัวใจ  จะทำให้คน
สูงอายุมีเนวโน้มที่ไม่ทนต่อความเย็นได้

จากความจริงที่เสนอมา
สามารถอธิบายได้ว่า  ทำไมเพื่อนพ้องผู้สูงวัยทั้งหลายจึงได้กลายเป็นคนขี้
หนาวไปตามๆ กัน  มันเป็นเช่นนั้นเอง...


อ้างอิง...

  • Johns Hopkins healthalerts.

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านมีปัญหาเรื่องนอน ? : A Sleep Study may Help

July 27, 2014

รู้ไว้ใช่ว่า...
ถ้าท่านมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ ท่านสามารถปรึกษาแพทย์ที่ทำหน้าที่
เกี่ยวกับการนอนหลับได้

ปัญหาเรื่องการนอนหลับ มีมากมาย เป็นต้นว่า:

นอนไม่หลับ หรือหลับแล้วไม่อยากตืน
 มีแรงกระตุ้นให้เคลื่อนไหวของขาทั้งสองในขณะนอน หรือขณะนั่ง
 ตื่นในตอนเช้าด้วยความรู้สึกอ่อนเพลีย จนไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจใดๆ ได้
 นอนกรน ซึ่งเป็นลักษณะอาการแสดงของ sleep apnea (การ
    หยุดหายใจเป็นพักๆ ขณะนอนลับ) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้หากไม่\
    ได้รับการรักษา

ปัญหาเกี่ยวกับการนอน...
แม้ว่ามันสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้อย่างรุนแรง เป็นต้นว่า ทำให้เกิด
ความบกพร่องทางสติ-ปัญญา (cognitive impairment), น้ำหนักตัวเพิ่ม
(weight gain), โรคหัวใจ และเบาหวาน (heart disease and diabetes)
แต่ก็ปรากฏว่า มีคนจำนวนไม่น้อยมีการมองข้ามปัญหาดังกล่าวไป
ไม่เห็นความสำคัญเท่าที่ควร

เกิดมีคำถามต่อไปว่า...
การศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับนะ...เขาทำกันอย่างไร ?

การตรวจการวินิจฉัยการนอนหลับ (sleep study)...
การเป็นการตรวจด้วยวิธีการต่างที่ออกแบบมา สำหรับบันทึกเหตุการณ์
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ ซึ่งนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่า อะไร
คือต้นเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ และช่วยให้แพทย์วางแผนช่วยให้คนไข้
สามารถนอนหลับในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม

ในการศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับ...
ผู้ป่วยจะต้องรับไว้ตรวจในโรงพยาบาล ซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับตรวจ
ครบ ห้องนอนที่สดวกสบาย...ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจะ
ทำการวางขั้วไฟฟ้า (electrodes) ที่บริเวณศีรษะ, หน้าอก และขา
ทั้งสองก่อนเข้านอน

จากขั้วทั้งสาม..เข้าสู่เครื่องบันทึก...
ซึ่งจะมีการบันทึกคลื่นของสมอง (brain waves), จังหวะการเต้น
ของหัวใจ (heart rhythm), การเคลื่อนไหวของลูกตา (eye movement)
และการหายใจ (breathing) ตลอดทั้งคืน

จากการศึกษา สามารถบอกให้ทราบว่า อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้านการนอน ซึ่งแพทยืสามารถพิจาณาตัดสินได้ว่า คนไข้ควรได้รับการรักษา
อย่างใด...ยา (medications), ใช้เครื่องช่วยหายใจ (breathing machine)
หรือปรึกษาจิตแพทย์ผู้ชำนาญการนอน (sleep psychologist)

สำหรับท่านที่มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ หรือ ปรึกษาแพทย์สาขาจิตวิทยา
ได้ตามอัธยาศัย

Ref.

  • Johnshopkinshealthalerts

เมื่อคนที่เรารักเป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s...): Focus on Slowing the Progression of Parkinson’s disease

July 24, 2014

เนื่องจากโรค “พาร์กินสัน” จัดเป็นโรคที่น่ากลัว
ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้วไม่มีทางหาย มีแต่จะเลวลงเรื่อย ๆ
มีการสั่นเทาทั้งร่าง, เคลื่อนตัวลำบาก, แข็งเกร็งไม่ผ่อนคลาย
เมื่อโรคได้ดำเนินไปถึงจุดหนึ่ง จะทำให้คนไข้เดินไม่ได้ พุด
จาด้วยความลำบาก...

ด้วเหตุนี้เอง จึงปรากฏว่า ทุกๆ วันจะมีนักวิจัยจำนวนมากมาย
ในทั่วทุกมุมโลกพยายามหาวิธีที่จะทำให้คนเป็นโรคดังกล่าว
สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น

นักวิทยาศาตร์ได้ทำการค้นคว้าโดยไม่เพียงแต่หวังลดอาการ
ของโรคเท่านั้น แต่ยังหาทางชะลอการดำเนินโรคพาร์กินสัน
ให้ช้าลงอีกด้วย ซึ่งปรากฏว่าผลที่ได้เป็นที่พอใจ...

นักวิจัยใน The National Institute of Health ได้มีส่วนเกี่ยว
ข้องกับคนไข้จำนวน 1,700 ราย ที่เข้าร่วมในโครงการณ์ที่มีชื่อ
ว่า Neuroprotection Exploratory Trial in Parkinson’s Disease
(NET-PD) โดยมีการทดสอบการใช้ยาต่าง ๆ โดยหวังว่า จะ
สามารถป้องกันประสาทสมองจากโรค (neurotprotective Effect)

จากการทดลองใช้ยากลุ่ม MAO-B inhibitor agent - rasagiline
ซึ่งเป็นสารที่สามารถบล๊อกการทำลายสารสื่อประสาท –dopamine
โดยหวังว่า มันจะสามารถชะลอการดำเนินของโรคพาร์กินสันลงได้
และผลที่ได้...แม้ว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ แต่ก็เป็นผลที่ได้
เป็นที่น่าพอใจ และเป็นเรื่องที่ต้องติดตามผลการทดลองกันต่อไป...

อย่างไรก็ตาม...
ในปัจจุบันนี้ แพทย์ทั้งหลายได้ใช้ยา MAO-B inhibitors เพื่อ
ลดอาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากโรคพาร์กินสันกัน

Ref. 

  • Johnshopkinshealthalerts

เมื่อเธอกลั้นปัสสาวะไม่อยู่! Urinary incontinence P 3 : continued

July 27, 2014

Continued...

ในการช่วยเหลือสตรีที่มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ...
นอกจากวิธี Biofeedback ยังมีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามาถทำให้
กล้ามเนื้ออุ้งชิงกรานแข็งแรงขึ้น คือ การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
(electrical stimulation) ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวด โดยการใช้
คลื่นกระแสไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

นอกจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแล้ว...
กล้ามเนื้อท้อง abdominal muscle) และกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก
(hip muscles) ก็มีส่วนสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกรานด้วย
เช่นกัน ซึ่งจำเป็นต้องบริหารกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่มให้แข็งแรง
โดยทำการร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegelm exercise)

เป็นภาวะที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ มีอาการแสดงเหมือนชื่อ...
นั้นคือ  เมื่อมีความต้องกายยากถ่ายปัสสาวะ...ต้องปล่อยสถานเดียว
และบ่อยครั้ง คนไข้ไม่สามารถเดินทางถึงห้องน้ำ...  ปัสสาวะถึงกับไหล
ออกมา ซึ่งเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกิน
(overactive bladder)

ส่วน Stess incontinence เป็นปัสสาวะเล็ด เป็นผลเนื่องมาจาก
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ...อ่อนแรง เป็นเหตุให้หูรูดของท่อ
ปัสสาวะไม่แข็งแรง   เป็นเหตุให้ปัสสาวะเล็ดลาดในทุกครั้งที่ความดัน
ในบริเว๊ณช่องท้องเพิ่มขึ้น เช่น เมื่อมีการยกของหนัก, หัวเราะ, ไอ 
หรือจาม เป็นต้น

ในการรักษา Urge incontinence อาจกระทำได้ด้วยการฝึกการขับถ่าย
(bladder-training therapy) ร่วมกับการทำ Kegel exercise

ในการฝึกกกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ  กระทำด้วยการบันทึกจำนวนน้ำ
ที่ดื่ม และจำนวนครั้งที่เดินเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายปัสสาวะ
นักกายภาพบำบัดจะตั้งเวลาสำหรับการขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งใช้เวลาเป็น
ตัวกำหนดในการเพิ่มระยะเวลาตั้งแต่มีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ   กับ
เวลาถ่ายปัสสาวะ  โดยการเพิ่มเวลาให้ยานานขึ้นด้วยการอั้นเอาไว้ ...


<< BACK

 Ref.

  • Johnshopkinshealthalerts

เมื่อเธอกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ Urinary incontinence ! P2

July 27, 2014

Continued...

สุภาพสตรีส่วนใหญ่  ซึ่งมีปัญหาเรื่องกั้นปัสสาวะไม่อยู่ (incontinence)
ต่างเคยได้ยิน หรือได้ลองบริหารกล้ามเนื้ออุงเชิงกราน – Kegel exercise
มาแล้ว  แต่ไม่ได้รับการฝึกอย่างถูกต้อง จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้รับดีเท่าที่ควร...

ในการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน นับเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร
ทั้งนี้เพราะ มันเป็นกล้ามเนื้อที่ซ่อนตัวอยู่ภายใน   ไม่สามารถจัดบต้องได้
ไม่เหมือนกล้ามเนื้อของแขน หรือขา  เช่น กล้ามเนื้อ  “bicep” 
ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียด (extend) และงอ (flex)ข้อศอกได้ตาม
ที่เราต้องการ

ในการช่วยสตรีที่มีปัญหา...
นักกายภาพบำบัดจะช่วยเธฮให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง 
ด้วยการใช้วิธี biofeedback

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยววิธี Biofeedback เป็นวิธีสร้าง
ภาพการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออุ่งเชิงกรานด้วยจิตของเรานั้นเอง...
ซึ่งกระทำได้โดยมีการวางขั้วของไฟฟ้า (electrodes) ไว้ที่ผิวหนังหน้า
ท้อง หรือผิวหนังบริเวณทวารหนัก หรือโดยใช้ขั้วไฟฟ้ามีลักษณะ
เหมือนกับผ้าอนามัยแบบสอด ( tampon) สอดเข้าไปในช่องคลอด

ภาพของการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะปรากฏบนจอคอมฯ
จากนั้น เป็นหน้าที่ของท่านเอง ที่ต้องบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ด้วยการสร้างภาพการทำงานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยให้กล้าม
เนื้อทำงานมากขี้น

พิจารณาดูแล้ว...จะเห็นว่า  การทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง
จะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อทางจิตดีๆ นี้เอง เป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลา
และอดทนอย่างสูง...


<< BACK    NEXT >> continued

เมื่อเธอกลั้นปัสสาวะไม่อยู่! Urinary incontinece P1


July 27, 2014

ถ้าท่านเป็นหนึ่งในคนจำนวนหลายร้อยล้าน...
ซึ่งทรมานจากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence) ท่าน
สามารถได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วย “กายภาพบำบัด”
โดยมีการประเมินว่า คนที่มีปํญหาดังกล่าว สามารถรักษาให้หายได้
เกือบทุกราย 

หลักสำคัญของกายภาพบำบัดสำหรับ4jltกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 
ไม่ว่าจะเป็น  Stress incontinence หรือ Urge incontinence คือ การบริหาร
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงการให้แข็งแรง  ซึ่งมีชื่อว่า Kegel exercises

ในรายที่เป็น stress incontinence....
ต้นเหตุของปัญหา คือ ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงนั้นเอง
ดังนั้น การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (kegel exercise) จึงเป็นหัวใจสำคัญ... 
แต่การบริหารกล้ามเนื้ออุ้่งเชิงกรานตามวิธี Kegel  สามารถนำมาใช้กับคนที่
ทรมานจาก Urge incontinence ได้เช่นกัน

คำถามมีว่า...
มันช่วยได้อย่างไรกัน ?

การที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor) เกิดการหดเกร็ง (contracting)นั้น 
มันช่วยให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ  ซึ่งมีการหดเกร็งสูง (overactive bladder) 
สงบลง  และยิ่งกล้ามเนื้ออุงเชิงกรานมีความแข็งเรงมากเท่าใด มันเป็นจะส่งสัญ
ญาณไปยังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ..ทำให้มันสงบลงได้

นั้นคือประโยชน์ที่พึงได้จากการฝึกการปริหาร Kegel...

NEXT >> continued

เมื่อท่านมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ ? : A Sleep Study may Help


July 27, 2014

รู้ไว้ใช่ว่า...
ถ้าท่านมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ ท่านสามารถปรึกษาแพทย์ที่ทำหน้าที่
เกี่ยวกับการนอนหลับได้

ปัญหาเรื่องการนอนหลับ มีมากมาย เป็นต้นว่า:

 นอนไม่หลับ หรือหลับแล้วไม่อยากตืน
 มีแรงกระตุ้นให้เคลื่อนไหวของขาทั้งสองในขณะนอน หรือขณะนั่ง
 ตื่นในตอนเช้าด้วยความรู้สึกอ่อนเพลีย จนไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจใดๆ ได้
 นอนกรน ซึ่งเป็นลักษณะอาการแสดงของ sleep apnea (การหยุดหายใจเป็น
   พักๆ ขณะนอนลับ) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษา

ปัญหาเกี่ยวกับการนอน...
แม้ว่ามันสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้อย่างรุนแรง เป็นต้นว่า ทำให้เกิด
ความบกพร่องทางปัญญา (cognitive impairment), น้ำหนักตัวเพิ่ม
(weight gain), โรคหัวใจ และเบาหวาน (heart disease and diabetes)
แต่ก็ปรากฏว่า มีการมองข้ามไปเสียเป็นส่วนมาก ไม่เห็นความสำคัญ
เท่าที่ควร

เกิดมีคำถามต่อไปว่า...
การศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับนะ...เขาทำกันอย่างไร ?

การตรวจการวินิจฉัยการนอนหลับ (sleep study)...
การเป็นการตรวจด้วยวิธีการต่างที่ออกแบบมา สำหรับบันทึกเหตุการณ์
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ ซึ่งนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่า อะไร
คือต้นเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ และช่วยให้แพทย์วางแผนช่วยให้คนไข้
สามารถนอนหลับในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม

ในการศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับ...
ผู้ป่วยจะต้องรับไว้ตรวจในโรงพยาบาล ซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับตรวจ
ครบ ห้องนอนที่สดวกสบาย...ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจะ
ทำการวางขั้วไฟฟ้า (electrodes) ที่บริเวณศีรษะ, หน้าอก และขา
ทั้งสองก่อนเข้านอน

จากขั้วทั้งสาม..เข้าสู่เครื่องบันทึก...
ซึ่งจะมีการบันทึกคลื่นของสมอง (brain waves), จังหวะการเต้น
ของหัวใจ (heart rhythm), การเคลื่อนไหวของลูกตา (eye movement)
และการหายใจ (breathing) ตลอดทั้งคืน

จากการศึกษา สามารถบอกให้ทราบว่า อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้านการนอน ซึ่งแพทยืสามารถพิจาณาตัดสินได้ว่า คนไข้ควรได้รับการรักษา
อย่างใด...ยา (medications), ใช้เครื่องช่วยหายใจ (breathing machine)
หรือปรึกษาจิตแพทย์ผู้ชำนาญการนอน (sleep psychologist)

สำหรับท่านที่มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ หรือ...
ท่านนสามารถปรึกษาแพทย์สาขาจิตวิทยาได้ตามอัธยาศัย



Ref.

  • Johnshopkinshealthalerts.

ถุงน่อง (Stockings) P2: Research on compression stocking For prevention blood clots

July 25,2014

Continued...


ในการใช้ถุงรัดขา (compression stocking)
ส่วนใหญ่เขานิยมใช้ถุงรัดขา (น่อง) ชนิดสั้น (knee-high stocking)
เพราะทำให้คนไข้รู้สึกสบาย  และสดวกต่อการใช้

ผลจากการวิจัยในคนไข้จำนวน 3,000 ราย ซึ่งรับไว้ในโรงพยาบาล
ด้วยภาวะสมองขาดเลือด (stroke)  ผุ้ป่วยได้ใส่ถุงน่องรัดขาอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ระหว่างชนิดสั้น (knee-high) และชนิดสูง (thigh-high stockings)
เป็นเวลนาน  30 วัน   และผู้ป่วยได้รับการตรวจด้วย ultrasounds สองครั้ง
เพื่อตรวจดูว่ามีก้อนเลือดเกิดขึ้นในเส้นเลือดของขาหรือไม่

ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า   กลุ่มที่ใส่ถุงรัดขาสูง Thigh-high stockings
เกิดมีก้อนเลือดในเส้นเลือดดำน้อยกว่ากลุ่มที่ใส่ถุงรัดขาระดับหัวเข่า
(Knee-high Stocking) ได้ถึง 2.5 % 

 แต่ในกลุ่มที่ใช้ถุงรัดขาสูง (thigh-high stockings) จะมี่ปัญหาเกี่ยวกับผิว
หนังได้มากกว่าชนิดถุงรัดต่ำระดับข้อเข่า

เนื่องจากผลของการศึกษา กระทำในกลุ่มคนที่มีจำนวนน้อย จึงเกิดมีปํญหา
ว่า ควรใช้ถุงรัดขาขนิดสั้น (knee-high stocking) หรือถุงรัดขาชนิดสูง
(thigh-high stockings)....ว่าชนิดใดจะได้ผลดี ?

ถ้าถุงรัดขา (thigh-high stockings) ไม่มีปัญหาเรื่องของผิวหนัง มันอาจ
เป็นชนิดที่ปลอดภัยสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดมี่ก้อนเลือดในเส้นเลือด
ดำ...

<< BACK

Ref.

  • Johnshopkinshealthalerts.

ถุงน่อง (Stockings) P1: Research on compression stocking For prevention blood clots


July 25,2014

มีคำถามว่า...
ถึงน่องรัดขา (compression stocking) สามารถป้องกันไม่ให้เกิด
มีก้อนเลือดในเส้นเลือด (blood clots) ได้จริงหรือ ?

คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถพบได้ในการวิจัย ซึ่งได้แนะนำดังนี้...

โดยทั่วไป ถุงน่องสำหรับรัดขา (compression stockings) จะใช้ป้องกัน
ก้อนเลือดในเส้นเลือดดำ (deep vein thrombosis) ที่จะเกิดในบริเวณขา 
ซึ่งจะเกิดภายหลังจากการทำผ่าตัด หรือภายหลังการเกิดภาวะสมอง
ถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke) โดยจะเกิดในรายที่มีความเสี่ยง
ต่อการทำให้เม็ดเลือดมีการจับตัวเป็นก้อน

ก้อนเลือดเมื่อเกิดในเส้นเลือดดำ (Deep vein thrombosis) ...
มันอาจเคลื่อนตัวไปยังปอด  หรือทำให้เกิดการอุดตัน เป็นภาวะที่เรา
เรียกว่า pulmonary embolism ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

ในคนไข้ที่ได้รับการรักษา  ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมีก้อนเลือดใน
เส้นเลือดดำ  ได้แก่การได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมของข้อสะโพก 
หรือข้อเข่า  หรือได้รับการรักษาภาวะสมองถุูกทำลาย  (stroke) จาก
การขาดเลือด    คนไข้กลุ่มนี้จะได้รับยาสำหรับป้องกันไม่ให้เกิดก้อน
ในเส้นเลือดดำ (deep vein thrombosis) เป็นเวลาหลายอาทิตย์
นอกจากนั้น แพทย์ยังแนะนำให้ใช้ถุงน่องรัดขา (compression Stocking) 
เพื่อช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีในบริเวณขาขึ้น

NEXT >>  continued

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านเป็นโรค “ขาอยู่ไม่สุข” (Restless legs syndrome) P3:The Challenge of Living With Restless Legs Syndrome

July 25, 2014

Continued

คำถาม:
เราจะรักษาภาวะขาอยู่ไม่สุข (RLS) ได้อย่างไร ?

ในคนที่เป็นโรคขาอยู่ไม่สุข (RLS)  ซึ่งมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย ถึง
ระดับรุนแรงพอประมาณ  สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ด้วยการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้น  เช่น  การอาบน้ำอุ่น, ออกกำลังกายด้วยการ
ปั่นจักรยานอยู่กับที่ก่อนนอน (before bed), หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ
 (cafeine), ไม่ดื่มแอลกอฮอล (alcohol) และไม่สูบบุหรี่ (nicotine)

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรค RLS ...
อย่างน้อย ๆ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางในระบบประสาท
(neurologist) ผู้ซึ่งมีความคุ้นเคยกับคนที่เป็นโรคดังกล่าว

เนื่องจากการเกิดโรคขาอยู่ไม่สุข (RLS) ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการขาด
ธาตุเหล็ก หรือทำให้อาการเลวลงโดยธาตุเหล็ก...การแนะนำให้คนไข้
กินธาติเหล็ก (ferrous sulfate) ในปริมาณที่เพียงพอ
และอย่าลืม... เมื่อให้ธาติเหล็ก (ferrous sulfate) แล้ว  ให้กิน viatmin C
ร่วมด้วย  เพราะไวตามิน C จะช่วยให้การดูดซึมธาติเหล็กได้ดีขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว...
ยา dopamineric drugs ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาคนเป็นโรค “พาร์กินสัน”
ได้ถูกนำมาใช้รักษาภาวะขาอยู่ไม่สุข (RLS) ปรากฏว่าได้ผลดี
โดยสารดังกล่าว จะเพิ่มระดับ dopamine ในสมอง  แต่หากใช้ในระยะยาว 
คนไข้มักเกิดมีอาการอันไม่พึงประสงค์ขึ้น โดยอาการขาอยุ่ไม่สุขเลวลง 
หรือเกิดขึ้นก่อนเวลาอัสควร เช่น เกิดในตอนกลางวัน 

ในกรณีดังกล่าว ท่านอาจกินยา dopaminergic drug ตัวอื่นแทน...
สามารถแก้ภาวะดังกล่าวได้

<< BACK

Johnshopkinshealthalerts

เมื่อท่านเป็นโรค “ขาอยู่ไม่สุข” (Restless legs syndrome) P2:The Challenge of Living With Restless Legs Syndrome

July 25, 2014

Continued..
ในการเอาชนะภาวะขาอยู่ไม่สุข...
จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าว  เพราะการเข้าใจโรคดังกล่าว
เป็นหนทางหนึ่ง  ซึ่งทำให้เราสามารถเอาชนะมันได้
.
คำถามมีว่า...Restless leg syndrome คืออะไร ?

Restless legs syndrome หรือขาอยู่ไม่สุข เป็นโรคของระบบประสาท
ซึ่งมีลักษณะของมัน ทำให้คนเป็นโรคดังกล่าวรู้สึกไม่สบาย
โดยตัวเขาไม่สามารถยับยั้ง  หรือควบคุมการเคลื่อนไหวขาของเขา
ได้เลย  มันมาพร้อมกับความเจ็บปวด และปลุกให้ตื่นจากการนอนหลับ
และสามารถรบกวนเพื่อนร่วมเตียงได้อย่างน่ารำคาญ

อาการที่เกิดมักจะเกิดในตอนเย็น และอาการจะเลวลงในตอนกลางคืน 
โดยจะเกิดในขณะที่คนเป็นโรคดังกล่าวพยายามที่จะนอนหลับ
แม้ว่า เมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการจะหายไปอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเขานั่ง
หรือล้มตัวลงนอน  อาการก็จะกลับคืนมา...

คนเป็นโรคขาอยู่ไม่สุข (RLS) สามารถเกิดจากโรคหลายอย่าง เช่น ภาวะ
ขาดเหล็ก (iron deficiency), โรคไตวาย (kidney failure),โรคปลายประ
สาท (periphaeral neuropathy) หรือเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์  แต่ส่วนใหญ่
เราไม่สามารถทราบว่า  อะไรคือต้นเหตุท่ำให้เกิดภาวะดังกล่าว

ผลจากการตรวจดูระดับ dopamine และระดับของ iron ในสมอง และใน
กระแสเลือด ปรากฏว่า  ต่ำกว่าระดัปกติ และธาตุเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการ
สังเคราะห์ “สารสื่อประสาท dopamine” 
ซึ่งเชื่อว่า ธาตุเหล็กมีบทบาทต่อการทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของขาอยู่ไม่สุข
 (RLS)

<< BACK     NEXT  >> continued

เมื่อท่านเป็นโรค “ขาอยู่ไม่สุข” (Restless legs syndrome) P1:The Challenge of Living With Restless Legs Syndrome

July 25, 2014

คำถามมีว่า...
ท่านจะมีชีวิตร่วมกับภาวะ “ขาไม่อยู่สุข” (Restless leg syndrome) ได้อย่างไร ?

คำว่า Restless legs syndrome หรือกลุ่มอาการขาไม่อยู่สุข” หมายถึง
ภาวะที่น่ารำคาญอันเกิดจากโรคทางระบบประสาท โดยการทำให้เกิด
การเคลื่อนไหวของขาอย่างฉับพลันแบบกระตุก  ซึ่งแต่ละครั้งที่มีการ
เคลื่อนไหวจะรู้สึกเจ็บปวดขาเป็นอย่างมาก

แม้ว่า การเคลื่อนไหวในภาวะขาอยู่ไม่สุข ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องไม่
ปกติธรรมดา แต่มันป็นเรื่องที่รุนแรง โดยสามารถเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ
ได้ถึง  10 – 19 %

เนื่องจากภาวะดังกล่าว มันเกิดขึ้นกับคน ซึ่งทำให้เขามีความรู้สึกว่า
ถูกบังคับให้มีการขับเคลื่อนขาของเขาในขณะพักผ่อน  โดยไม่สามารถ
ควบคุมได้  ซึ่งจะขัดขวางการนอนหลับ  ไม่สามารพักผ่อนได้ตามปกติ

ตามเป็นจริง...
ภาวะ  RLS สามารถทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับถูกขัดขวางได้รุนแรงกว่า
โรคนอนไม่หลับชนิดอื่นเสียอีก
ถือเป็นเรืองที่ทายสำหรับคนที่เป็นดรคดังกล่าว 
ว่า  เขาจะอยู่ร่วมกับภาวะดังกล่าวได้อย่างไร ?

NEXT >>

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis): ไม่ใช้เพียงแค่โรคผิวหนังเท่านั้น


July 25, 2014

โรคสะเก็ดเงิน หรือ Psoriasis ...
เป็นโรคที่ก่อให้เกดความทุกข์ทรมาน  ทำให้เสียโฉม  เป็นเหตุให้เธอไม่
สามารถนุ่งน้อยห่มน้อยเพื่อโชว์รูปร่างทรวดทรงให้ใครเห็นได้...

คนที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน  เราจะพบผิวหนังที่เป็นรอยโรค  มีลักษณะเฉพาะ
อันเกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่แห้งตายทับซ้อนกันเป็นผื่น
สีแดง และคันกระจายทั่วไป   โดยพบมากที่บริเวณผิวหนังด้านหลัง  และ
ส่วนอื่น ๆ ยของร่างกาย

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรัง  เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้วจะอยู่กับคนนั้นไป
ตลอดชั่วชั่วขีวิต   จัดเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
 (autoimmune disorder) โดยที่ระบบดังกล่าวมีการทำงานผิดปกติไป  

เมื่อคนเกิดเป็นโรคสะเก็ดเงิน  มีผิวหนังที่อักเสบและแห้งตายไปนั้น   จะพบว่า
มีระดับของ C-reactive protein ในกระแสเลือดสูง   โดยเป็นเครื่องบ่งชี้ หรือ
สัญญลักษณ์ที่บอกให้ทราบว่าร่างกายมีการอักเสบทั่วไป (systemic inflammation)

การที่ร่างกายมีการอักเสบทั่วไป (systemic inflammation) ปรากฏว่า  มีความ
สัมพันธ์กับโรคทางร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งภาวะต้านฮอร์โมน “อินซูลิน” 
(insulin resistance) และโรคเส้นเลือดแข็ง (atherosclerosis)

ผลกระทบอบ่างรุนแรง (Far-reaching effects):
มีผลของการวิจัย  ลงพิมพ์ใน JAMA Dermatology...เป็นการรายงาน
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคตสะเก็ดเงิน  กับการ
เกิดโรคอย่างอื่น ๆ  โโยทำการศึกษาในคนไข้โรคสะเก้ดเงิน  อายุระหว่าง
25 - 64  จำนวน  9,000 ราย...

โรคที่เกิดร่วมกับโรคสะเก็ดเงิน ที่พบได้บ่อยได้แก่:

 Other rheumatologic diseases such as rheumatoid arthritis
 Chronic obstructive pulmonary disease
 Heart attack
 Peripheral vascular disease
 Type 2 diabetes
 Kidney disease
 Mild liver disease
 Peptic ulcer disease

ผลจาการศึกษาในอดิต ได้รายเอาไว้ว่า โรคสะเก็ดเงินยังมีความสัมพันธ์
กับโรคอย่างอื่น ๆ เช่น Crohn’s disease, obesity, lymphoma, Metabolic syndrome 
และ multiple sclerosis

โดยเฉลี่ยคนทีเป็นโรคสะเก็ดเงินที่มีอาการุนแรง มักจะมีอายุสั้นกว่าคนที่ไม่เป็น
โรคดังกล่าวถึง 4 ปี (According to the National PsoriasiFoundation)

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/healthy_living/Psoriasis_6722-1.html

เมื่อเล็บเท้าเป็นเชื้อรา P2: How Do I Get Rid of a Toenail Fungus?

July 25,2014
Continued...

เมื่อเล็บของท่านเกิดอักเสบจากเชื้อรา...
เราสามารถรักษาโรคดังกล่าวให้หายได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา
ชื่อ   itraconazole  โดยท่านจะต้องกินยาดังกล่าวทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน

เพื่อความปลอดภัย...


ในกรณีที่ท่านเป็นโรคตับ หรือเป็นโรคหัวใจล้มเหลว...
ท่านไม่ควรใช้ยารับประทานชนิดที่กล่าวมา (itraconazole) แต่ให้ท่านหันไป
ใช้ยาต้านเชื้อราชนิดทา  ซึ่งมีลักษณะเหมือนน้ำยาทาเล็บของสตรี (topical 
lacquer) มีงชื่อว่า  ciclopirox (Penlac)

ยาชนิดนี้ (ciclopirox) อาจนำไปใช้ในรายที่เป็นไม่มาก— โดยที่เชื้อรายัง
ไม่กระจายไปกินรากของเล็บทั้งหมด (เป็นเพียงบาวส่วน)   อย่างไรก็ตาม 
ขอให้ทราบว่า ประสิทธิภาพของยาทาจะต่ำกว่ายาชนิดรับประทาน 
 ซึ่งบางที  ชนิดทา (tropical therapy) อาจไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมด

หลงจากได้รับการรักษาด้วยการใช้ยากินดังกล่าว...
ผิวหนังตรงบริเวณฐานของเล็บควรเลียบเป็นปกติ...บางทีอาจกินเวลานาน
เป็นปีกว่าจะหายสนิท (fungus free)

บางราย แม้ว่าจะได้รับการรักษาตามที่กล่าว แต่ปรากฏว่าไม่สามารถทำลาย
เชื้อราให้หมดสิน  ในกรณีเช่นนี้ ท่านเพียงแต่จัดการกับเล็บของท่านด้วยการ
ตัดเล็บเท้า เพื่อไม่ให้เล็บเท้าละคายเท้าของท่านได้
หรือท่านอาจได้รับการพิจารณาทำผ่าตัดเอาเล็บออกให้หมด

เมื่อเล็บเท้าของเราเป็น (อักเสบ) เชื้อรา...
มันสามารถก่อให้เกิดความรำคาญได้ไม่น้อย  หากไม่ได้รับการรักษา
เชื้อราจากเล็บเท้าสามารถแพร่กระจายไปยังที่อื่น

หากท่านเป็นโรคเบาหวาน  หรือโรคเส้นเลือด  ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษา
เล็บเท้าที่เป็นเชื้อรา  อาจลงเอยด้วยการเป็นแผลที่เท้า  เกิดอักเสบ
และอาจลงเอยด้วยการเสียเท้า หรือเสียขาได้่...


<< BACK

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/healthy_living/Treating-Toenail-Fungus_6273-1.html

โรคเชื้อราที่เล็บนิ้วเท้า ญ P1 : How Do I Get Rid of a Toenail Fungus?

July 25,2014

เมื่อเล็บเท้าของคนเราเป็นเชื้อรา ...โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นกับสุภาพสตรี
ด้วยแล้ว   ไม่ว่าขาของเธอจะสวยแค่ใหน  แต่ถ้าเล็บเท้าของเธอเกิดเป็น
เชื้อราด้วยแล้ว  เธอคงไม่สามารถโชว์เท้า หรือนิ้วเท้าของเธอให้ใคร
ได้เห็นอย่างแน่นอน...

ตามเป็นจริง...  การรักษาเล็บมือ และเล็บเท้าที่เป็นเชื้อรานั้นไม่ใช้เรื่องยาก 
ท่านเพียงแค่ไปพบแพทย์เท่าน้น

เมื่อเล็บเท้าถูกทำลายจากเชื้อรา...
เล็บของเธอจะถูกทำลาย—เล็บหนาขึ้น, เล็บเปราะ, สีของเล็บผิดเพี้ยนไป 
ซึ่งเป็นผลมาจากการอักเสบของเนื้อใต้เล็บ (nail bed) จากเชื้อรานั้นเอง

การรักษาเล็บที่เป็นเชื้อราที่ได้ผลดีที่สุด คือ การใช้ยาต้านเชื้อรา  (antifungal 
medicatios)   ชนิดรับประทาน เช่น  itraconaxole  (Sporanox) และ terbinafine 
(Lamisil) ซึ่งมีให้เรานำมาใช้รักษาคนไข้ได้

คนไข้จะต้องกินยาดังกล่าวทุกวัน เป็นเวลาสามเดือน  ยา itraconazole จะออก
ฤทธ์ด้วยการทำลายเชื้อราที่อยู่ในบริเวณเล็บของท่านได้จนหมดสิ้น

<< NEXT

เมื่อคนที่เรารักเป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s...): Focus on Slowing the Progression of Parkinson’s disease

July 24, 2014

เนื่องจากโรค “พาร์กินสัน” จัดเป็นโรคที่น่ากลัว โรคหนึ่ง
ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้วไม่มีทางหาย มีแต่จะเทรุดลงเรื่อย ๆ
มีการสั่นเทาทั้งร่าง, เคลื่อนตัวลำบาก, แข็งเกร็งไม่ผ่อนคลาย
เมื่อโรคได้ดำเนินไปถึงจุดหนึ่ง  เขาจะช่ยเหลือตัวเองไม่ได้  เดิน
ด้วยความลำบาก พูดจาด้วยความลำบาก...

โรคพาร์กินสัน  เป็นโรคทีี่ท้าทายโรคหนึ่ง จึงปรากฏว่า ทุกๆ วันจะมี
นักวิจัยทั่วทุกมุมโลกจำนวนมากมาย  ต่างพยายามหาวิธีที่จะทำให้
คนเป็นโรคดังกล่าวสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น

นักวิทยาศาตร์ได้ทำการค้นคว้า  โดยไม่เพียงแต่หวังลดอาการของ
โรคเท่านั้น   แต่ยังหาทางชะลอการดำเนินโรคพาร์กินสันให้ช้าลง
ซึ่งปรากฏว่าผลที่ได้เป็นที่พอใจ...

นักวิจัยใน The National Institute of Health ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคน
ไข้จำนวน 1,700 ราย ที่เข้าร่วมในโครงการณ์ที่มีชื่อว่า Neuroprotection 
Exploratory Trial in Parkinson’s Disease (NET-PD) 
โดยมีการทดสอบการใช้ยาต่าง ๆ โดยหวังว่า  จะสามารถป้องกัน
ประสาทสมอง (neurotprotective Effect) ไม่ให้ถูกทำลายจากโรค

จากการทดลองใช้ยากลุ่ม MAO-B inhibitor agent rasagiline
ซึ่งเป็นสารที่สามารถบล๊อกการทำลายสารสื่อประสาท –dopamine
โดยหวังว่า  จะสามารถชะลอการดำเนินของโรค PD ลงได้และผลที่ได้...
แม้ว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้  แต่ก็เป็นผลที่น่าพอใจ   และเป็นเรื่อง
ที่ต้องติดตามผลการทดลองกันต่อไป...

อย่างไรก็ตาม...
ในปัจจุบันนี้  แพทย์ทั้งหลายได้ใช้ยา MAO-B inhibitors เพื่อลดอาการ
อันเกิดจากโรคพาร์กินสันกัน

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/healthy_living
/Slowing-Parkinsons-Disease_6418-1.html

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคปากเบี้ยว (Bell’s Palsy) P2

July 23, 2014

โรคปากเบี้ยว (Bell's palsy) เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
โรคปากเบี้ยว หรือ Bell’s palsy เป็นผลเนื่องมาจากเส้นประสาท
ใบหน้า (facial nerve) ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมการทำงานของใบหน้า
ได้ถูกทำลายไป   โดยเราจะพบว่า เส้นประสาทดังกล่าวเกิดอักเสบ, 
บวม หรือถูกกดทับ

ซึ่งเราไม่ทราบเลยว่า  สาเหตุที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ ?
แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไวรัสที่มีชื่อว่า  Herpes Simplex ซึ่งเป็นตัวการ
ทำให้เกิดโรคเริม หรือโรค cold sore เป็นต้นเหตุทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย....
แต่ความเชื่อดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติ

จากสถิติของอเมริกา...  มีคนเป็นโรคปากเบี้ยวเกิดขึ้นถึง  30,000 -40,000
คนต่อปี (AAN) โดยเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุ    ส่วนคนที่มีอายุย่างเข้าสู่วัย 60 
โอกาสที่จะเป็นโรคปากเบี้ยวจะลดลง

นอกเหนือจากกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรืออัมพาติแล้ว   อาการของ
โรคปากเบี้ยว หรือ Bell’s palsy ยังประกอบด้วย:

 คิ้ว. หนังตา และมุมปากด้านหนึงจะหย่อนลงไป
 ความรู้สึกของใบหน้าหายไป
 น้ำลายไหลจากมุมปากที่หย่อนตัว
 กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก
 ปวดศีรษะ
 น้ำตาออกมากผิดปกติ
 ไมสามารถปิดเปลือกตาได้...เป็นเหตุให้ตาแห้ง
 ปากแห้ง
 ไม่สามารถรับรสอาหาร
 มีความไวต่อเสียง

<< BACK 

.johnshopkinshealthalerts.

โรคปากเบี้ยว (Bell’s Palsy) P1

July 23, 2014

หลายท่านคงเคยเห็นคนปากเบี้ยวมาก่อน   เพราะมันมีลักษณะ
ที่เห็นแล้วจะทำให้เรรจดจำโดยไม่รู้ลืม   ภาพที่เห็น...ใบหน้าด้านหนึ่ง
หย่อนลงตามแนวดิ่ง  อันเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง

ภาวะปากเบี้ยว...
ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะสั้นๆ  และหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

The American Academy of Neurology (AAN) ได้รายงานเอาไว้ว่า  คนที่เป็น
โรคปากเบี้ยว (Bell’s palsy) ไม่สามารถฟื้นตัวสู่สภาพเดิมได้ถึง 30 %  แต่หาก
ได้รับการรักษาในตอนแรกเริ่มด้วย steroids  คนไข้มีโอกาสฟื้นตัวสู่สภาพเดิม
ได้สูง

ใน November 2012 ...
หน่วยงาน AAN ได้เสนอรายงานเอาไว้ว่า  oral steroids เป็นยาหลักสำหรับ
รักษาโรคปากเบี้ยว  โดยให้ 3 วันแรกหลังเกิดอาการ  มีโอกาศหายเป็นปกติได้
สูง  อาจมีการเสริมด้วยต้านเชื้อไวรัส (antiviral drugs) ได้


ในรายที่ใช้ยา antiviral Medications เพียงอย่างเดียว ปรากฏว่า  ปรากฏว่า
อาการของคนไข้ไม่ดีขึ้น  ....

NEXT >>  continue.....

Vestibular Migraine P2: More Than Just a Headache

July 23, 2014

อาการต่าง ๆ ของ vestibular migraine จะพบว่า ในบางครั้ง
จะเหมือนกับโรคของหูภายใน (inner ears) เช่น Menier’s Disease,
 benign positional vertigo

ในการวินิจฉัยโรค vestibular migaine  แพทย์จะต้องแยกโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะ
ที่เกิดในคนสูงอายุ   ซึ่งอาจมีลักษณะคล้าย กับโรค Meniere's    และภาวะ
สมองขาดเลือด (stroke)   ซึ่งเราจำเป็นต้องแยกโรคต่าง ๆ ออกไปก่อนที่เรา
จะทำการวินิจฉัย vestibular migraine (migraine associated with verigo)

อาการของคนที่เป็น vestibular migraine จะเลวลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะ 
หรือมีการเปลี่ยนำแหน่งของร่างกาย  หรือถูกกระตุ้นด้วยแสงไฟ 

อาการวิงเวียนแบบสิ่งแวดล้อมหมุนรอบตัว (vertigo) สามารถเกิดขึ้น
ได้วนละหลายครั้ง หรือสองสามครั้งต่อปี แต่ละครั้งที่เกิดมีอาการนานตั้งแต่ 
 5 นาที  ถึงชั่วโมง   หรือาจนานถึงสามวัน  และในบางครั้ง จะกินเวลาเพียงไม่กี่นาที

ในการรักษาภาวะ vestibular migraine...
การรักษาจะเหมือนกับคนที่เป็น classic migraine และคนที่เป็น vertigo
ซึ่งยาที่ได้รับ จะเป็นยาที่ใช้รักษาอาการคลื่นไส้ และรักษาอาการ
Vertigo รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้เกิดอาการ

นอกจากนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการ vestibular migraine...
การนอนหลับพักผ่อนให้พอ, รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ,ออกกำลังกายให้สม่ำ
เสมอ  หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ไวน์แดง, และ แสงวูบวาน....
เป็นต้น


<<BACK


johnshopkinshealthalerts.

Vestibular Migraine P1: More Than Just a Headache

July 23, 2014

Vestibular migraine เป็นสาเหตุอันที่สอง ที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียน
ชนิดมีความรู้สึกเหมือนสิ่งแวดล้อมหมุน (vertigo) แต่มีบางครั้งทำให้เรา
ไม่สามารถวินิจฉัยมันได้   ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะการเกิด   vertigo เพียงอย่าง
เดียว  ไม่ปรากฏว่ามีอาการปวดศีรษะเลย   
โดยเราจะพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ทั้งหมด

ตามเป็นจริง มีคนไข้จำนวนไม่นอยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็น vestibular migraine 
แต่ได้รับการปฏิเสธว่าไม่ใช้   เพราะเขาไม่เคยปวดศีรษะแบบเต้นตุ่บ ๆ 
ซึ่งมักจะเกิดในคนที่เป็น migraine ทั่วไป

Vestibular migraines เป็นโรคของระบบการทรงตัว (vestibular system).... 
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหูช้นใน และสมอง   โดยมีบทบาทในการความคุมการเคลื่อน
ไหว และการทรงตัว

คนที่เป็นโรค vestibular migraine จะมีความทรมานจากความรู้สึกว่าม่ีสิ่งแวดล้อม
รอบตัวหมุน (vertigo) หรือรู้สึกวิงเวียน (dizziness)   ซึ่งอาจมีอาการอย่างอื่นเกิดร่วม
เป็นต้นว่า มีความไวต่อการเคลื่อนไหว,  มีความไวต่อเสียง และแสง;  
มีอาการคล่นไส้ – อาเจียน;  มีเสียงดังในหู;  มีการสูญเสียการได้ยินเสียงเป็นพักๆ;  
มีภาพเตือนล่วงหน้า  (visual aura)--- ตลอดรวมไปถึงมีอาการปวดศีรษะ
 ซึงเป็นลักษณะเฉพาะของโรค

Next >>  continued

เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกด (Carpal tunnel syndrome) : How to Relive the pain in Carpal tunnel syndrom

July 22, 2014

เมื่อเส้นประสาทที่บริเวณข้อมือถูกกด...
มีชื่อเรียกว่า median nerve palsy หรือ carpal tunnel syndrome
ซึ่งเกิดจากการใช้มือ  มีการเคลื่อนไหวข้อมือกันบ่อย ๆ เช่น การเล่นคอมฯ 
ทำสวน...สามารถทำให้แผ่นพังผืดที่บริวณข้อมือเกิดอักเสบ และบวม   และ
หนาตัวจนเป็นเหตุให้เส้นประสาท  ที่อยู่ใต้ต่อแผ่นพังผืดดังกล่าวถูกกด 
ทำให้เกิดอาการปวด และชาที่
บริเวณฝ่ามือ

หากเราสามารถรู้ว่า เส้นประสาททีบริเวณข้อมือถูกกดได้ตั้งแต่แรกเริ่ม 
ยิ่งทราบได้เร็วเท่าใดยิ่งเป็นการดีเท่านั้น    เพราะท่านสามารถป้องกันไม่ให้
เกิดปัญหาในระยะยาว เช่น สูญเสียความรู้สึกของนิ้วมือบางนิ้ว  (Numbness)
และทำให้กล้ามเนื้อหัวแม่มือเกิดการอ่อนแรงอย่างถาวรได้

เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นประสาทในบริเวณข้อมือถูกทำลายจนถึงขั้นสูญเสีย
ความรู้สึก  แลเกิดอ่อนแรงอย่างถาวร   ท่านสามารถป้องกันได้ด้วยการทำ
ให้ข้อมือของท่านมีความยืดหยุ่นสูง   สามารถทำให้ข้อมืองอไปมาได้โดยไม่ี
ติดขัด   และหลีกเลี่ยงจากการทำให้ข้อมือทำงานหนักเกิดควร 

ในการบริหารข้อมือ ...
ในการทำใ้หข้อมือเคลื่อนไหวนั้นประกอบด้วยการเกร็ง และคลายข้อมืออย่าง
ช้า ๆ   และห้ามกระทำในรายที่เกิดมีอาการช้า  และมีอาการปวดเกิดขึ้นแล้ว

วิธีการมีดังนี้:

 ใ้ห้ใช้มือด้านหนึ่งจับนิ้วมือทั้ง 4 นิ้วของมืออีกด้านหนึ่ง  ไม่ต้องแรงนัก จากนั้น
ทำให้ทำการดึงนิ้วให้มือแอ่นไปทางด้านหลังมือ (extend) อย่างช้า ๆ....นับ 10
แล้วปล่อย

ต่อไปให้จับหัวแม่มือ...ดึงลงอย่างนุ่มนวล จนท่านรู้สึกว่าหัวแม่มือ
ถูกดึงให้ยืดออก ...นับ 10 จากนั้นให้ปล่อยหัวแม่มือกลับเหมือนเดิม

ขั้นที่ 3 ให้กำมือให้แน่นที่สุดที่จะแน่นได้....นับ 10  แล้วปล่อยนิ้วให้คลายออก

สุดท้าย ให้ให้แยกน้วทั้ง 5 ออกจากกัน....>ทำการแยก...หุบน้ิ้วเข้าหากัน  เป็นจังหวะ
ทุกการเคลื่อนไหวที่กล่าวมา ให้ทำ 5 ครั้ง เสร็จแล้วให้ทำกับมือด้านครงกันข้าม

 ในท่ายืน หรือท่านั่งตัวตรง ให้ข้อศอกทั้งสองอยู่ชิดลำตัว...
ให้ยื่นแขนทั้งสองเหยียดตรง โดยให้แขนทั้งสองขนานกับพื้น
ฝ่ามือคว่ำ จากนั้นให้กำมือทั้งสอง แล้วหมุนมือที่กำในแนววง
กลม จากนั้นให้เหยียดนิ้วทั้งห้าในแต่ละข้างออก แล้วทำซ้ำ

การบริหารข้อมือ และมือดังกล่าว  ท่านสามารถกระทำตอนใหนก็ได้  อาจกระทำ
ในขณะหยุดพักจากการเล่นคอมฯ ก็ได้.....


johnshopkinshealthalerts.

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคกระดูกบาง (Osteopenia) : When Should You Treat Osteopenia?

July 21, 2014

ถ้าท่านเป็นโรคกระดูกบาง. (Osteopenia)
มันหมายความว่า ท่านมีโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในภายหลัง 
จึงเป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจกับเรื่องดังกล่าว...

ถ้าท่านเคยได้รับการตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD)
ท่านอาจได้รับทราบถึงค่าของ T score มาบ้างแล้วว่า
ถ้าค่า Tscore มีค่า -1 หรือสูงกว่า มันหมายความว่า ความหนาแนน
ของมวลกระดูก (BMD) มีค่าปกติ  ไม่เป็นโรค...

ถ้าค่าของ T score อ่านได้ -2 หรือน้อยว่า
มวลกระดูกของท่านบอกให้ทราบวว่า ท่านเป็นโรคกระดูกพรุน
(osteoporosis)

ถ้าค่าของ T score อยู่ระหว่าง -1 และ 2.5  
มันบงบอกให้ทราบว่า ท่านเป็นโรคกระดูกบาง (osteopenai)--ยังไม่เป็น
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) และไม่ใช้กระดูกที่มีความหนาแน่นปกติ

คำถามมีว่า...
ภายใต้ภาวะกระดูกบาง (osteopenia)...มีอันตรายหรือไม่ ?

ตามเป็นจริง กระดูกบาง (osteopenia) โดยตัวของมันเองไม่ใช้โรคเหมือน
กับโรคกระดูกพรุน มันพียงบ่งบอกว่า ความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำกว่า
ปกติเท่านั้น  และมันสามารถกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในตอนหลัง
หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหักได้

ปัญหาที่ควรพิจารณา คือ ถ้ากระดูกของท่านเป็นกระดูกบาง (osteopenia)
ท่านควรได้รับการรักษาด้วยยา  เพื่อทำให้กระดูกของท่านแข็งแรงชึ้นหรือไม่
 (bone-building medications)

การรักษาภาวะกระดูกบาง น่าจะสมเหตุสมผล
เพราะโรคกระดูกพรุนจะไม่เกิดในชั่วข้ามคืน และคนที่กระดูกบางอาจเป็น
โรคกระดูกพรุนเมื่อใดก็ได้  แต่ไม่ได้หมายความว่า  การที่กระดูกของท่านจะ
ต้องเปลี่ยนไปเป็นโรคกระดูกพรุนเสมอไป

จากเหตุผลดังกล่าว...
การใช้ยา bisophosphonates หรือสารทำหน้าที่สร้างมวลกระดูก
(bone-building medications) อาจนำมาใช้รักษาภาวะกระดูกบางได้
เพราะหากไม่รักษา มันอาจเปลี่ยนเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในภายหลัง

มีแพทย์บางท่านเห็นว่า  การรักษาภาวะกระดูกบาง (osteopenia) นั้น
เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลมากกว่าที่จะป้องกันไม่ให้เกิด
กระดูกแตกหัก   แต่ก็มีแพทย์หลายคนมีความคิดเห็นขั้ดแย้งกับความคิดเห็น
ดังกล่าว  โดยเชื่อว่า ภาวะกระดูกบางอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา

ไม่ว่าท่านจะรักษาภาวะกระดูกบาง (osteopenia) ด้วยยาหรือไม่...
สิ่งสำคัญที่ท่านจะต้องกระทำ คือ การรักษานั้นจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆ
ไป   โดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น เป็นคนสูงอายุ, 
คนที่มีไม่ค่อยออกกำลังกาย,  เป็นโรคเรื้อรัง   หรือใช้สารสะเตียรอยด์ติดต่อกัน
เป็นเวลานาน...

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด เป็นความีับผิดชอบของเราเอง
ที่จะต้องทำให้กระดูกของเราอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ --แข็งแรง โดยการ
ออกกำลังด้วยการลงน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ (wight-bearing) การเดิน, จอกกิ่ง..., 
ได้รับไวตามิน Dและแคลเซี่มในปริมาณที่เพียงพอ, และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่, 
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ดื่มกาแฟ เป็นต้น

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/back_pain_osteoporosis/
JohnsHopkinsBackPainOsteoporosisHealth_1051-1.html

เมื่อท่านรักษาอาการปวดหลังด้วการดึง...When Should You Treat Osteopenia?

July 21, 2014

สำหรับท่านที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง...

แม้ว่าการรักษาอาการปวดหลังด้วยการดึง (traction) เป็นวิธีการรักษา
อาการปวดหลัง ซึ่งถูกใช้มานานนับตั้งแต่สมัยโบราณก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า 
มีหลักฐานที่สนับสนุนวิธีดังกล่าวนั้นน้อยมาก

สำหรับคนที่ทรมานจากอาการปวดหลัง (back pain) ...
ส่วนใหญ่แล้ว  ปรากฏว่า อาการปวดหลังจะหายได้ได้เองอย่างรวดเร็ว 
โดยไม่เกี่ยวกับการรักษาว่าจะเป็นแบบใด   

ประมาณน้อยกว่า 5% ของคนปวดหลัง จะมีปัญหาทางด้านร่างกาย 
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาอย่างใกล้ชิด หรืออาจถึงกับได้รับการผ่าตัด

ถ้าอาการปวดหลังของท่านไม่ดีขึ้นภายใน 2 -3 วัน หลังจากการนอนพัก
หรืออาการปวดหลังเกิดซ้ำขึ้นมาใหม่  โดยมีอาการชา, หรือมีอาการปวดร้าว
ไปยังก้นหย่อน  หรือขา...ให้ถือว่า  มีอะไรบางอย่างที่สำคัญเกิดขึ้นกับท่าน 
ซึ่งท่านจะต้องไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยต่อไป

คำถาม...
ถ้าท่านมีอาการปวดหลัง...ท่านควรได้รับการดึง traction หรือไม่?

ข้อมูลจากวารสาร   Spine (Volume 31,page 1591):
ได้กล่าวถึงการใช้ traction สำหรับรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง
โดยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ (กรีก)จนกระทั้งถึงปัจจุบัน  แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัด
ว่า   การดึงหลังช่วยลดอาการปวดหลังได้จริง และนั้นเป็นข้อสรุป
ที่ได้จากการศึกษาทั้ง 24  ( studies) ในคนจำนวน 2,177 ราย
ซึ่งมีอาการปวดหลัง

ในปัจจุบันเขากล่าวว่า  การรักษาด้วยการดึง (traction) อย่างเดียว จะไม่ช่วย
ลดอาการปวดเลย  และการดึงหลัง (traction) ยังอาจทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้น 
และทำให้อาการทางประสาทเลวลง

ดังนั้น  หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการดึงหลัง...
หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น  ท่านต้องหยุดทันที !


http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/back_pain_osteoporosis
/JohnsHopkinsBackPainOsteoporosisHealthAlert_1780-1.html

เจ็บปวดบริเวณก้นกบ P2 : When Should You Treat Osteopenia?

July 20, 2014
Coninued

ถ้าท่านทรมานจากอาการปวดที่บริเวณก้นกบ 
ซึ่งมีสาเหตุจากบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบ มีวิธีการสำหรับนำไปใช้ เพื่อ
ช่วยเหลือตัวเองได้  ดังนี้:

 ให้ประกคน้ำแข็งประมาณ 15 – 20 นาที วันละ 4 ครั้ง โดยเฉพาะ
สองสามวันหลังจากได้รับยบาดเจ็บ

 ใช้ยาแก้ปวด เช่น acetaminophen หรือ NSAIDs เช่น ibuprofen

 อย่านั่งบนพื้นแข็ง ให้นั่งบนหมอนที่มีรูปร่างเหมือน donut ไม่ให้
กระดูกก้นกบกระทบกับพื้นแข็งได้  หากเป็นไปได้ ไม่ควารนั่งนาน

 เนื่องจากท้องผูกสามารถทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณก้นกบได้
ดังนั้น เราควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ดื่มน้ำให้มากๆ
และแพทย์อาจแนะนำให้ยาละบายอ่อน ๆ

 แช่น้ำอุ่น  และอาบน้ำอุ่น  สามารถลดอาการบวม และการอักเสบ
ลงได้

 ในรายที่มีอาการปวดอย่างรุนแรง แพทย์อาจให้ยาลดอาการปวด
และอาจใช้ยาชา และ สารสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณเจ็บปวด หรือ
ปรึกษานักกายภาพบำบัดทำการรักษาต่อ

บาดเจ็บที่บริเวณก้นกบ ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด

<< BACK

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/back_pain_osteoporosis
/JohnsHopkinsBackPainOsteoporosisHealthAlert_713-1.html

เจ็บปวดบริเวณก้นกบ P1: Trauma to the Tailbone


July 20, 2014

สำหรับท่านที่มีอาการปวดบริเวณก้นกบ....
ส่วนมากจะเกิดในคนสูงอายุ ที่หกล้มก้นกระแทกพื้น เป็นเหตุให้กระดูก
ก้นกบ (tailbone) กระแทกพื้นจนได้รับบาดเจ็บ

กระดูกก้นกบ
ตัวกระดูกก้นกบ...  โดยปกติจะประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมประสาน
เป็นชิ้นเดียวกัน   เป็นฐานของกระดูกสันหลัง มีชื่อให้เรียกว่า   coccyx
อาการปวดที่เกิดในชริเวณก้นกบ เรียก coccydynia
ซึ่งความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น มักมีต้นเหตุมาจากการหกล้มทำให้ปลายกระ
ดูกก้นกบกระแทกพื้น  โดยเราจะพบเห็นในผู้หญิงได้มากกว่า...

ปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เกิดอาการปวดที่ก้นกล ได้แก่ ข้ออักเสบ (arthritis),
กระดูกพรุน (osteoporosis), และจากการใช้ยา (corticosteroids)
นอกจากนั้น การเสียดสีของกระดูกก้นกบบ่อย ๆ   เช่นจากการนั่งปั่นจักรยาน 
มาราธอน  สามารถทำให้เกิดบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบได้

สำหรับกระดูกก้นกบเกิดการแตกหัก (fracture) จะพบได้น้อย
บาดเจ็บที่เกิด  ส่วนใหญ่จะเป็นการชอกช้ำ หรือเอ็น & พังผืดได้รับแรงกระแทก
ทำให้ยืดฉีดขาดไป   เป็นเหตุให้เกิดมีอาการปวดที่บริเวณก้อนกบ โดยเฉพาะ
จะเกิดขึ้นเมื่อนั่งลง   ไม่เพียงแค่นั้น แม้แต่การถ่ายอุจจาระ หรือร่วมกิจทางเพศ
ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่บริเวณก้นกบได้เช่นกัน

คนส่วนใหญ่ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดุกก้นกบ สามารถรักษาด้วยการดูแล
ตนเอง คนส่วนใหญ่บาดเจ็บที่เกิดกับกระดุกก้นกบ จะหายได้เอง ซึ่ง
อาจกินเวลานานหลายอาทิตย์ หรือนานหลายเดือน

NEXT  >> continued

โรคกระดุกพรุน กับการออกกำลังกาย :Is It Safe To Exercise With Osteoporosis?

July 20, 2014

สำหรับท่านที่สนใจในการเรียนรู้เรื่องการป้องกัน, วินิจฉัย,   และการรักษา
โรคกระดุกพรุน (osteoorosis) จะต้องทราบ...

เป้าหมายของการป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน คือ ช่วยป้องกันไม่ให้
เกิดกระดูกแตกหัก และเกิดอาการปวดหลัง  โดยเฉพาะในช่วงหลังของอายุขัย

ในการป้องกันดังกล่าว มีแนวทางให้ปฏิบัติ 3 แนงทางด้วยกัน  

1. ออกกำลังกาย (exercise)
2. รับอาหารทีมีคุณภาพเหมาะสม และ (proper diet)
3. ใช้ยารัษา (medication)
         
ปัญหาที่ชอบถามกัน คือ เมื่อเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว การออกกำลัง
กายยังปลอดภัยดีอยู่หรือ ?

จาก Johns Hop[kins ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า
แม้ว่าท่านจะมีโรค หรือเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วก็ตาม ท่านต้องออกกำลังกาย
ให้มากเข้าไว้ จะดีกว่าไม่ออกกำลังกาย

จากการออกกำลังกาย จะทำให้กระดูกตอบสนองต่อแรงที่มากระทำต่อกระดูก
สันหลังด้วยการเพิ่มมวลกระดุกให้ัมากขึ้น

ในกรณีที่ท่านเป็นโรคกระดุกพรุน...
เพื่อเป็นการสร้างมวลกระดูกให้เพิ่มขึ้น ท่านามารกระทำได้ด้วยการออก
กลังกายระดับพอประมาณ(moderate exercise) อย่างน้อย 6 เดือน
หากท่านหยุดออกกำลังกาย ความหนาแน่นของกระดูกก็จะหายไป

ในการออกำลังกายเพื่อเป้าหมายในการสร้างมวลกระดูก ประกอบด้วยการ
บริหารร่างกายด้วยการลงน้ำหนัก (weight-bearing exercice) เช่น เดิน (walking),
จอกกี่ง (jogging), การเต้นรำ (dancing), ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อทำให้
เกิดความแข็งแรง (strength training) เช่น ยกน้ำหนัก (lightweight Dumbbells), 
หรือใช้แผ่นยางต้านแรง ( resistant bands)

ในกรณีที่ท่านมีสภาพร่างกายอ่อนแอ  หรือมีกระดูกแตกหักอยูแล้ว ท่านควรปรึก
ษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด..ซึ่งเขาจะเป็นแนะนำวิธีการออกกำลังที่เหมาะสม
ให้แก่ท่านได้   ข้อสำคัญ. อย่าออกแรงมากไป  ให้หลีกเลี่ยงการบิดเอว (twisting), 
เวลาก้มอย่าให้งอที่ข้อสะโพก  แต่ให้งอดที่ข้อเข่าแทน

www.johnshopkinshealthalerts.com

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปวดหลัง และขา จากหมอนกระดูกระดับเอวแตก : Should You Have Surgery For Sciatica?


July 20, 2014

เมื่อหมอนกระดูกสันหลังแตก...>  กดประสาท..
ควรรับการผ่าตัดดีไหม ?

Sciatica หมายถึงอาการปวดขาอนมีสาเหตุมาจากหมอนกระดูกจากกระ
ดูกสันหลังแตก และเคลื่อนหลุดไปกดรากประสาท “ไซเอติค”
คนที่มาพบแพทย์ด้วย “ไซเอติกา” (sciatica) มักจะมีอาการปวดอ่อย่าง
รุนแรง พร้อมกับมีอาการปวดร้าวไปยังสะโพก (buttocks)...ลงไปยังต้น
ขา...สู่น่อง (calves) และลงสู่เท้า...
                 
ถ้าท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดหลัง และปวดขาจากหมอน
กระดุกแตก (sciatica)  ภายไลังจากได้รับการรักษาด้วยการพักผ่อน, ยา,
แล้วปรากฏว่า อาการของท่านไม่ดีขึ้น...

ปํญหาเกิดขึ้นว่า...
ท่านควรทำอย่างไรต่อไป  ควรทำการผ่าตัดดีไหม ?

ผลจากการศึกษาพบว่า...
การผ่าตัดภาวะหมอนกระดูกระดับเอวแตก  มีการกดทับเส้นประสาท  
สามารถทำให้อาการปวดหลัง และปวดขาหายไปอย่างรวดเร็ว  และใน
รายที่ได้รับการรักษารักษาด้วยวิธีไม่ผาตัด (non-surgical) ก็ได้iy[ผล
เช่นเดียวกัน

ในการศึกษาดังกล่าว...
นักวิจัยได้ทำการศึกคนไข้จำนวน 281 ราย ผู้ซึ่งเป็นโรคหมอนกระดูกแตก 
และมีการกดทับเส้นประสาท (sciatica) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 อาทิตย์ก่อน
ได้รับการผ่าตัดเอาหมอนกระดูกที่กดประสาทออก  หรือได้รับการรักษา
ด้วยวิธีอนุรักษ์ (non-surgical) โดยได้รับยาแก้ปวด  & และการบริหารร่างกาย

โดยเฉลี่ย กลุ่มคนไข้ที่ได้รบการผ่าตัด   อาการปวดขาจะดีขึ้นภายใน 4อาทิตย์  
ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัด จะใช้เวลานานถึง  12 อาทิตย์   แต่ภายใน
ระยะ 1 ปี   หลังการรักษา  ไม่ว่าจะได้รับการรักษาแบบใด  
ผลของการรักษาในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม  ปรากฏว่ามีอาการดีขึ้น 95 %

โดยสรุป...
ถ้าท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดขา หรือชาที่บริเวณขาจากหมอน
กระดูกระดับเอวแตก (ruptured disk)   ถ้าการรักษาด้วยยา, พักผ่อน และการ
บริหารร่างกายไม่สามารถทำให้ดีขึ้น...ท่านอาจพิจารณาเลือกใช้วิธีการผ่าตัด 
หรือหากท่านยังสามารถทนต่อไปได้   สามารถควบคุมอาการปวดได้ 
การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นสำหรับท่านก็ได้


www.johnshopkinshealthalerts.com

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ในชาย : Should Men Be Screened For Osteoporosis?

July 20, 2014

เป็นที่สังเกตุว่า...
เมื่อกล่าวถึงโรคกระดุกพรุน เรามักจะกล่าวถึงสภาพสตรีกันเสียเป็นส่วนใหญ่  
แล้ผู้ชายละ....ไม่ค่อยจะกล่าวถึงโรคกระดูกพรุนในผู้ชายเท่าใดนัก 

หน่วยงานที่มีชื่อว่า The National Osteoporosis Foundation
ได้แนะนำให้สภาพสตรีอายุ 65 หรือแก่กว่า ควรได้รับการตรวจค้นหา
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis)

นอกจากนั้น ยังมีการแนะนำให้ทำการตรวจในสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 65
ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น ได้รับสาร Corticosteroids 
หรือมีประวัติของครอบครัวว่า  เป็นโรคดังกล่าว  หรือในคนที่มีประวัติว่า 
ได้รับบาดเจ็บกระดูกสะโพกแตกหักมาไม่นาน

ไม่เคยมีคำแนะนำให้ทำการตรวจค้นหาภาวะกระดูกพรุนในผู้ชาย
แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญบางนาย แนะนำให้ทการตรวจคนหาโรคกระดูกพรุนใน
คนสูงอายุชายบางราย ( The Journal of the American Medical Assoiciation
(Volume 298, page 629) )

ในปัจจุบัน เราไม่แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรอง (screening) หาโรคกระดูกพรุนใน
คนสูงอายุชาย (USA)  แต่ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน    เขาควร
ได้รับการตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก  (BMD)  และ.ให้รับประทานยา
สำหรับป้องกัน และรักษาภาวะกระดุกพรุน   

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนในเพศชาย  ได้แก่:

 การใชสาร corticosteroids มานาน
 โรคเรื้อรังเช่น โรคไต, โรคปอด, โรคกระเพาะลำไส้
 ภาวะที่มีระดับ hormone เปลี่ยนแปลงไป,
 ระดับ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ,
 สูบบุหรี่จัด,
 ดื่มแอลกอฮอล์จัด,
 ไม่ได้รับสารแคลเซี่ยมเพียงพอ หรือขาดการบริหารร่างกาย...

www.johnshopkinshealthalerts.com

เมื่อหมอนกระดูกสันหลังแตก (herneated disk) :Is Surgery Your Best Option for a Herniated Disk?

July 20, 2014

เมื่อหมอนกระดูกสันหลังระดับล่างเกิดแตก (herniated disk)...
มีคำถามว่า....ควรได้รับการรักษาแบบใดดี  ระหว่างผ่าตัด (surgery)
และรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด (non-surgical) ?

ความจริงมีว่า...
ในช่วงหนึ่งของชีวิต   คนเรามีโอกาสเกิดมีอาการปวดหลังจากหมอนกระดูก
แตกได้ประมาณ  10 %  โดยหมอนกระดูกทีแตกมีการเลื่อนหลุดไปกดทับเส้น
ประสาทเข้า  ทำให้เกิดมีอาการปวดหลัง  และปวดร้าวไปยังสะโพ และขา...

มีนางคนโชคร้ายหน่อย  หมอนกระดูกที่แตกเคลื่อนหลุดไปกดไขประสาท 
(spinal cord)   หรือกดทับกลุ่มของประสาทที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม (cauda equina)
ซึ่งทำให้เกิดอาการไม่เพียงแต่อาการปวดหลัง แต่ทำให้เกิดอาการอย่างอ่ื่น
ด้วย  เช่น  แขนขาอ่อนแรง  ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระ
ได้

ถ้าท่านทีมีอาการปวดหลัง และขาอันเนื่องมาจากเหมอนกระดูกสันหลังส่วนล่าง
แตก (herniated disk) โดยเป็นมานานเกิน 6 อาทิตย์  ท่านอาจจำเป็นต้องได้รับ
การผ่าตัด (ตามคำแนะนำที่ได้จากการศึกษา ซึ่งลงตีพิมพ์ในวารสาร  The Spine
 (Volume 33, page 428)

ข้อสรุปดังกล่าว  เป็นผลจากการศึกษาในคนไข้จำนวน 1,244 ราย  ที่เป็นโรค
หมอนกระดูกแตก (herniated disk) อย่างน้อย 6 อาทิตย์ก่อนได้รับการผ่าตัดเอา
หมอนกระดูกแนกออก (discectomy)  หรือทำการรักษาด้วยยา และการบริหารร่างกาย

ผลจากการศึกษาด้วยการติดตามผลเป็นเวลา 2 ปี...
มีคนไข้จำนวน 775 ราย ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด (surgical Rx)
และอีก 416 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ, กายภาพบำบัด (non surgical)
ผลปรากฏวา  จากการรักษาท้งสองวิธี  อาการปวดปวดขาจะดีกว่าอาการปวดหลัง

กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด (surgical)  จะได้รับผลจากการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด 28 %
ส่วนพวกที่ไม่ได้รับการผ่าตัด (non-surgical) จะได้รับผลดีเพียง 18 %

โดยสรุป...
ถ้าท่านมีอาการปวดหลัง ปวดขาจากหมอนกระดุกแตก siciatica)
ซึ่งได้รับการยืนยันโดยเอกซเรย์ การรัษาด้วยการผ่าตัดจะดีกว่าการรักษาโดย
ไม่ต้องผ่าตัด

.johnshopkinshealthalerts.

ปวดหลังจากการนั่งขับรถ...: How to Avoid Back Pain When You Drive

July 20, 2014

สำหรับท่านที่มีอาการปวดหลังจากการนั่งขับรถ...
ท่านสามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ ด้วยการปฏิบัติตามข้อมูลต่อไปนี้...

ในการนั่งขับรถนต์ เป็นเวลานาน  ย่อมทำให้คนเราเกิดมีอาการปวดหลังปวด
เอวได้เป็นธรรมดา   จะปวดมาก  หรือปวดน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่นั่งขับรถว่า  
เขานั่งในท่าที่ถูกต้องหรือไม่....

ในคนที่มีอาชีพที่ต้องนั่งขับรถเป็นเวลานาน...
นอกจากจะมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อแล้ว  ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิด
ปวดหลังปวดคอ,  ปวดตามเส้นประสาทขาจากหมอนกระดูกระดับเอวแตก
ซึ่งเคลื่อนหลุดไปกดเส้นประสาทได้ (herniated disk)

ในเมื่อชีวิตของเราต้องดำเนินต่อไป...ทำอย่างไรจึงจะสามารถหลีกเลียงจาก
ภาวะอันไม่พึงประสงค์ตามที่กล่าวได้   คำตอบมีง่าย ๆ นิดเดียว  นั่นคือ 
ท่านต้องนั่งขับรถยนต์ในท่าที่ถูกต้อง 

ท่านั่งที่เหมาะสมสำหรับนั่งขับรถยนต์:
ผลจากการศึกษา   ซึ่งตีพิมพ์ใน วารสาร ชื่อ The Journal of Manipulative 
and Physiological therapeutics ได้แนะนำเอาไว้ว่า  หลังพิงของเบาะนั่ง
 (back seat) จะต้องอยู่ในแนว  90 องศากับพื้นราบ  ในขณะที่นั่งบนเบาะนั่ง
หัวเข่าจะต้องอยู่เหนือข้อสะโพกสะโพกเล็กน้อย  ศีรษะเอียงไปทางด้านหลัง
เล็กน้อย

ในขณะที่ท่านจับพวกมาลัย ข้อศอกให้วางบนที่เท้าแขน (arm rest)  โดยให้
มืออยู่ในตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกา (ไม่ใช้ 10 และ 2 นาฬิกา)
(ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ... air bag สามารถทำงานได้เต็มที่ไม่มีอะไรไปขัดขวาง)

นอกจากคำแนะนำดังกล่าว มีคำแนะนำเสริมดังนี้:

 เวลานั่งขับรถ...ท่านต้องแน่ใจว่า หลังของท่านจะต้องแนบชิดกับเบาะด้านหลัง
(back seat) ซึ่งอยู่ในท่าตั้งขึ้น และมีที่รองรับศีรษะ

 ใช้หมอนรองรับกระดูกสันหลังส่วนล่าง   และต้องทำให้คนนั่งขับรู้สึกสบาย

 ปรับที่นั่ง และพวงมาลัยให้รู้สึกสบาย  เวลานั่งขับไม่ต้องโน้มตัวไปยังพวงมาลัย

 ให้หยุดพักเป็นระยะ ออกจากรถพร้อมกับทำการยืดเส้นยืดสายทุกๆ
20 – 30 นาที

 ถ้าท่านเกิดมีอาการปวดหลังในขณะขับรถ ให้ประคบบริเวณเจ็บปวดด้วยความเย็น 
ด้วยการใช้ผ้าห่อน้ำแข็งวางไว้ในตำแหน่งระหว่างหลังและเบาะทางด้านหลัง 
หรืออาจประคบด้วยความาร้อน (สลับกัน) โดยใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาที

.johnshopkinshealthalerts

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคหมอนกระดูกสันหลังแตก : When a Herniated Disk Causes a “Back Attack”

July 19,2014

ช่วงหนึ่งของชีวิต...
เราจะพบว่า  ประมาณ 10% ของประชาชนจะเกิดอาการปวดหลังจาก
หมอนกระดุูกแตก ( herniated disk )  ซึ่งเราหมายถึง ส่วนกลางของหมอน
กระดูก โดยถูกบีบให้หลุดผ่านชั้นของเยื่อพังผืดที่มีรอยแตกออกมา...
และนั้นแหละ คือต้นเหตุของปัญหา...

ความจริงมีว่า...
หมอนกระดูก (disk) จะทำหน้าที่พยุง (support) น้ำหนักตัว 
เมื่อเวลาผ่านไปเยื้อพังผืดที่ห่อหุ้มหมอนกระดูกจะเกิดความเสื่อม  สึกหรอ 
และเกิดรอยฉีกขาดในระดับ ไมโครฯ  ในขณะเดียวกัน น้ำที่เป็นส่วนประกอบ
ของหมอนกระดูกก็จะค่อยๆ หายไป ทำให้หมอนกระดูกเกิดแห้งลงเรื่อยๆ 
เป็นเหตุให้หมอนกระดูกถูกดันให้ “ปูด” ออกมาทางด้านนอกได้ 
โดยผ่านบริเวณที่มีความอ่อนแอ

Symptoms :
หมอนกระดูกที่บริเวณกระดุกสันหลังส่วนล่างแตก เมื่อหลุดออกมาทางด้าน
นอกพังผืดที่ทำหน้าที่หุ้ม ไปกดเส้นรกประสาทเข้า  ไม่เพียงแต่ทำให้เกิด
อาการปวดหลัง   แต่มันยังทำให้เกิดอาการปวดในบริเวณของร่างกายที่ถูก
หล่อเลี้ยงโดยเส้นประสาที่ถูกกดอีกด้วย   นั้นคือ มีอาการปวดร้าวไปยังสะโพก 
และบริเวณขา

ตำแหน่งของหมอนกระดูกที่แตก จะพบได้มากสุดในระดับล่างสุดสองระดับ 
โดยพบได้ประมาณ 90 – 95 % ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับน้ำหนักมากที่สุด

จากอาการที่ปรากฏ   เราสามารถบอกได้ว่า ตำแหน่งของรอยโรคเกิดที่ตำ
แหน่งใด  ยกตัวอย่าง หมอนกระดูกแตกที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง
(lumbar disc) จะทำให้เกิดมีอาการปวด, ชา, หรืออ่อนแรงที่ขาด้านใดด้านหนึ่ง

อาการปวดอันเกิดจากหมอนกระดูกแตก  มักจะปรากฏอย่างฉับพลัน  หรืออาจ
เริ่มต้นด้วยอาการเสียวแปล๊บ หรือเหมือนถูกเข็มทิ่มตำก่อนที่จะมีอาการปวด
อย่างรุนแรง

ในบางรายอาการปวดที่บริเวณหลังอาจลดลง พร้อมกับอาการปวด, ชา,
และมีอาการอ่อนแรงที่บริเวณที่บริเวณขาด้านใดด้านหนึ่งเพิมึ้น
ตามเป็นจริง หมอนกระดูกที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง มักจะทำให้
เกิดอาการปวดร้าวไปยังขา

johnshopkinshealthalerts.

เมื่อเธอเป็นโรคกระดูกสันหลังคด (scoliosis) : Could It Be the Cause of Back pain ?


July 18,2014

ท่านอาจเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีอาการปวดหลัง...
และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว  มักจะเป็น กล้ามเนื้อหลังได้รับบาดเจ็บ
ถูกทำให้เปลี่ยนรูปร่าง (strains) , ฉีกขาด (sprains) หรือเกิดปั้น-หดเกร็ง (spasms) 
แต่มีสเหตหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังในคนวัยผู้ใหญ่ได้  นั้นคือ กรดูกสันหลัง
คด (scoliosis) ซึ่งเป็นลักษณะโค้งเว้าทางด้านช้าง (side-to-side curvature)

กระดูกสันหลังคด (scoliosis)...
เราเค คิดว่า กระดูกสันหลังคดเป็นความผิดปกติ (โรค) ที่พบได้เฉพาะในเด็ก  แต่
จากการสำรวจคนอะมริกันพบว่า  คนอายุมากกว่า 50 เป็นโรคกระดูกคดในระดับหนึ่ง 
โด พบว่า  คนที่มีอายุมากกว่า 60 พบได้ประมาณ 15 %   ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวด
หลังระดับล่าง   และดูเหมือนว่า จำนวนผู้ใหญ่ที่เป็นกระดูกสันหลังคดมีแนว
โน้มที่จะลอดพ้นสายตาไปได้บ่อย ๆ

ยกตัวอย่าง ผลจากการศึกษาในผู้ใหญ่จำนวน 1,300 ราย ผู้ซึ่งมีอาการปวดหลัง 
ได้รับการตรวจด้วย Magnetic resonacne imaging(MRI) จาก Johns Hopkins พบว่า 
 คนที่มีกระดูกสันหง 46 – 60 พบว่า  เขาเป็นโรคกระดูกสันหลังคดระดับล่างได้ 13 % 

ส่วนให่  เราจะไม่สามารถพบแต่ในกรณีที่สันหลังคด.(undetected scoliosis) โด เฉพาะ
รา ที.คดไม่มาก (11 – 20 degrees) มีถึง 67 %   และใรรายที่กระดูกสันหลังคดพอ
ประมาณ  โด คดมากกว่า 20 องศา ปรากฏว่าลอดสายตาไปได้ถึง 10 %...

กระดูกสันหลังคดทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 1.5 เท่า

สาเหตุของกระดูกสันหลังคดในผู้ใหญ่:
ในคนวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 เป็นโรคกระดูกสันหลังคด  มักมีต้นเหตุมาจากความ
เสื่อมจากอายุที่เพิมมากขึ้น เช่น กระดูกพรุน (osteoporois), กระดูกสันหลังยุบ
 (compression fractures),  โรคหมอนกระดูกเสื่อม (degenerative disc disease) 
และช่องกระดูกสันหลังแคบ (spinal stenosis)

โรคต่างๆ ที่กล่าวมา สามารถทำให้กระดูกสันหลังสูญเสียความแข็งแรงไป  และเพิ่ม
ความเสี่ยงต่อการทำให้กระดูกสันหลังมีความโค้งเว้าเพิมมากขึ้น

นอกจากนั้น กระดูกสันหลังคดอาจไม่ทราบสาเหตุ เราเรียกว่า...Idiopathic scoliosis 
โดยส่วนใหญ่จะเกิดในเด็ก   และความผิดปกติ (ความคด) จะเพิ่มมากขึ้น 
ซึงมากพอที่จะก่อให้เกิดอาการปวดหลังได้


www.johnshopkinshealthalerts.com

บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง สามารถช่วยลดอาการปวดคอได้ : How It Can Help ?

July 18,2014

กระดูกต้นคอ (Cervical spine)...
มีโอกาสเกิดโรคหลายอย่างคล้าย ๆ กับกระดูกสันหลังส่วนล่าง  เป็นต้นว่า 
 กล้ามเนื้อฉีกขาด (muscle strains),  กล้ามเนื้อปั้นหดเกร็ง (spasms)
โรคหมอนกระดูกเสื่อม (disc degneration) และเส้นประสาทถูกทำลาย
(denervation), ช่องกระดูกสันหลังตีแคบ (spinal stenosis)

มีรายงานว่า มีคนประมาณ 10 – 15 % มีโอกาสเกิดอาการปวดคอ  โดยเกิดขึ้น
ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต   ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดต้นคอจะปรากฏ
ในระยะสั้น ๆ  และหายได้เอง  หรือหายโดยการดูแลตนเอง...
มีบางรายอาจมีอาการรุนแรง ถึงขั้นไต้องไปพบแพทย์เพื่อการรักษา

ผลจากการศึกษาของ Health and Qualityl of Life Outcomes (Volume 8,
Page 46) ได้ชี้แนะให้เห็นความสำคัญของการบริหารกล้ามเนื้อคอให้
แข็งแรง (strength trainig) สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่
ทรมานจากอาการปวดคออย่างต่อเนื่อง

นักวิจัยได้ทำการศึกษาในสตรีจำนวน 180 รายที่เป็นโรคปวดต้นคอ
เรื้อรัง ซึ่งเข้าร่วมโครงการฝึกกล้ามเนื้อต้นคอให้แข็งแรง (strength
Training program) อาทิตย์ละสามคร้งเป็นเวลาหนึ่งปี

ผู้เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม:

 Strength-training group โดยให้ทำการบริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงด้วย
การให้ศีรษะดันมือ   โดให้คออยู่กับที่ – ไม่ต้องมีเคลือนไหวต้นคอ (isometric)
 Endurance-training group เป็นการบริหารกล้ามเนื้อด้วยวิธีการให้คอเคลื่อน
โด  มีเป้าหมา ให้เกิดความทนทาน (isotonic)

ผลจากการศึกษาพบว่า ในสตรีที่ทำการบริหารกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่ม ปรากฏว่า
มีคุณภาพดีกว่าระดับพื้นฐาน แต่ในรายที่ได้ทำการฝึกตามแบบ strength
Training จะได้ผลดีที่สุด ส่วนสตรีที่ทำการฝึกตามแบบที่มีการเคลื่อนไหว
คอ (neck-stretching) จะได้ผลต่ำกว่ากลุ่มแรก

โดยสรุป ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอเป็น
ประจำ อาจช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ปวดคอเรื้อรังดีขึ้น...


.johnshopkinshealthalerts.

ช่วยคนสูงอายุไม่ให้หกล้ม P2: Two Keys for preventions of Falls in Elderly

July 16,2014
contoinuec

เพื่อบรรลุเป้าหมายในการป้องกันไม่ให้คนสูงอายุหกล้ม...
ผู้ชำนาญการจาก The USPSTF ไม่สามารถบอกได้ว่า คนสูงอายุควรกิน
ไวตามิน D ในปริมาณเท่าใดจึงจะได้รับประโยชน์จากสารดังกล่าว 
แต่ผลที่ได้จากการศึกษาต่างกิน ไวตามิน D 800 IU / วัน และ  The Institute
Of Medicine แนะนำให้คนสูงวัยที่มีอายระหว่าง 51 – 70 ให้ใช้ไวตามิน D  600 IU
ต่อวัน และสำหรับคนที่มีอายุมากกว่านั้น (older) ให้ใช้ 800 IU ต่อวัน

นอกจากให้คนสูงอายุกิน ไวตามิน D แล้ว...
ผู้เชี่ยวชาญจาก The USPSTF ได้อ้างถึงหน่วยงาน Health and Human Services 
ซึ่งได้แนะนำให้คนสูงอายุทั้งหลายปฏิบัติดังต่อไปนี้:

 ให้ออกกำลังกายตามรูปแบบ แอโรบิค ในระดับความเข็มข้นพอประมาณ 
 เช่น เดินเร็ว  หรือออกกำลังการในน้ำ (water aerobics) อย่างน้อย 150 นาทีต่อ
หนึ่งอาทิตย์  หรือออกกำลังกายด้วยระดับเข็มข้นสูงขึ้น (vigorous activity) เช่น วิ่ง 
(running) หรือว่ายน้ำ (swimming) โดยใช้เวลาเพียง 75 นาทีต่อหนึ่อาทิตย์

 ออกกำลังกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง (Muscle strengthening  activities) 
เช่น การยกน้ำหนัก หรือเล่นโยคะ โดยเล่นอาทิตย์ละสองครั้ง
       
 ฝึกการทรงตัว (balance training) เช่น การบริหารการทรงตัว (balancing exrcises) 
หรือ การรำมวยจึน – Tai Chi

ในกรณีที่ท่านมีปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้ม...
ท่านควรเพิ่มจำนวนการออกกำลัง และเสริมด้วยการกินไวตามินดีทุกวัน
จะทำให้ท่านลดความเสี่ยงต่อการหกล้มได้

<< BACK


johnshopkinshealthalerts

ช่วยคนสูงอายุไม่ให้หกล้ม P1 : Two Keys for preventions of Falls in Elderly


July 16,2014

ถ้าท่านต้องการลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม...
ท่านจำเป็นต้องมีมาตรการสองอย่าง  เพื่อป้องกันไม่ให้คนสูงอายุหกล้ม
และเป็นการป้องกันกระดุกแตกหัก  นั้นคือ  ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
และเสริมด้วยการกินไวตามิน D

U.S. Preventive Services Task Force (USPSTF)ได้ทำการปรับคำแนะนำ
สำหรับการป้องกันไม่ให้คนสูงวัยที่มีอายุมากว่า 65   หรือแก่กว่าเกิดการหกล้ม
ซึ่งผู้ชำนาญการจากหน่วย USPSTF ได้ทำการศึกษาคนกลุ่มดังกล่าว

จผลจากการกินไวตามิน D และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ   หรือได้รับ
กายภาพบำบัดสามารถป้องกันไม่ให้คนสูงอายุเกิดการหกล้มได้   ที่เป็นเช่นนั้น
เป็นเพราะกรรมวิธีทั้งสอง  ไม่เพียงแต่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นเท่านั้น 
แต่ยังทำให้คนสูงอายุมีการทรงตัวดีขึ้น  สามารถลดอัตราการหกลมของ
คนสูงอายุได้
           
ผลของการศึกในคนสูงอายุ  ผู้ซึ้งกินไวตามิน D และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
สามารถลดอัตราการหกล้มได้ประมาณ  13 – 17 %

สำหรับคนซึ่งขาดไวตามิน D หรือมีความเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้น
จะได้รับประโยชน์จากการกิจกรรมทั้งสองอย่าง

Next>> continued

อาการ และอาการแสดงของโรคปวดหลัง P2 : Signs & Symptoms of Back Pain

July 13, 2014

Continued

ในการรักษาอาการปวดหลังให้ได้รับผลดี เราจำเป็นต้องทราบสาเหตุที่
ทำให้เกิดอาการดังกล่าว   ซึ่งมีเบาะแสบางอย่าง  เพื่อให้เราต้องตรวจสอบ 
และค้นหากันต่อไป:

ตำแหน่งของอาการปวด ?
(Where is the pain located ?)
อาการปวดที่เกิดขึ้น อยู่ที่บริเวณหลังส่วนล่าง หรืออาการปวดร้าวไปยังสะโพก
หรือร้าวไปยังขา ? เป็นอาการปวดที่บอกให้ทราบถึงภาวะเส้นประสาทอักเสบ

ความรุนแรงของอาการปวด ?
(How severe is the pain ?)
ยกตัวอย่าง มันเป็นอาการที่ปวดอย่างรุนแรง โดยทำให้คนไข้เคลื่อนไหวด้วย
ลำบากเพราะเจ็บปวด  หรือทำให้คนไข้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย

คำถามที่ท่านจะต้องตอบ คือ ท่านสามารถทำงานได้ตามปกติหรือไม่ ?
เมื่อท่านมีอาการปวดหลัง...ท่านออกกำลังได้ในระดับใด โดยเฉพาะการ
ก้ม-เงย และการบิดลำตัว   เช่น  การทำสวน หรือการเล่นกอล์ฟ์
(คำอธิบายของท่าน สามารถช่วยให้แพทย์ทราบสาเหตุของโรคได้)

อาการเจ็บปวดเกิดขึ้นเมื่อใด ?
( When did the pain begin ?)
ถ้าอาการปวดสัมพันธ์กับบาดเจ็บที่ได้รับ  หรือเกิดภายหลังอุบัติเหตุ
เราสามารถแยกจากโรคช่องกระดูกสันหลังตีบ แคบ (spinal stenosis) ได้
ได้ เพราะมันเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป

มีพฤติกรรมบางอย่าง  ทำให้อาการปวดหลังดีขึ้น หรือเลวลง ?
(What makes your back feel better or worse?)
ยกตัวอย่าง  เวลาที่ท่านนอนพักผ่อน อาการปวดหลังดีขึ้นหรือไม่ ?
เวลาโน้มตัวผูกรองเท้า มันทำให้อาการปวดหลังเลวลงหรือไม่ ?
(ลักษณะอาการปวดดังกล่าว อาจมีต้นเหตุจากหมอนกระดูกแตก (herniated disk)
ซึ่งอากจกดเส้นประสาทได้)

ท่านเคยปวดหลังมาก่อนหรือไม่ ?
(Have you had a prior episode of back pain?)
ถ้าท่านเคยปวดหลังมาก่อน คำถามที่ท่านต้องตอบ คือการรักษาที่ท่าน
ได้รับ...รักษาอย่างไร ? และผลเป็นอย่างไร?
(อาการปวดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน   อาจเป็นโรคเดิมที่เกิดซ้ำขึ้นอีก)

ท่านมีโรคประจำตัวอย่าอื่นหรือไม่ ?
(Do you have any other health problems?)
ยกตัวอย่าง ในกรณีที่มีน้ำหนักลด เบื่ออาหาร อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่า 
 เขาเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลังเป็นต้นเหตุให้กิดอาการ
ปวดหลังได้

นอกจากนั้น การเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism)  หรือโรค
กระดูกพรุน (osteoporosis) สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังได้

ท่านกินยาอะไร ?
(What medications do you take?)
มียาบางอย่างสามารถทำให้มวลของกระดุกสันหลังลดลง เช่น  สะเตียรอยดื์
(corticosteroids) และยารักษาอาการชักกระตุก (anticonvulsants)

ท่านดำเนินชีวิตอย่างไร ?
(What do you do for a living)
วิถีการดำเนินชีวิต และรูปแบบของการออกกำลังกายของท่าน อาจเป็นเหตุ
ให้เกิดบาดเจ็บแก่กล้ามเนื้อได้   ซึ่งมักจะพบได้ในรายที่ม่ีการออกแรงบางอย่าง
เป็นการเฉพาะได้

จากข้อมูลที่กล่าวมา ทานสามารถบอกได้ว่า  สาเหตุของอาการปวดหลังของท่าน
คือะไร...

<< BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

อาการ และอาการแสดงของโรคปวดหลัง P1: Signs & Symptoms of Back Pain

July 13, 2014

นอกจากโรคหวัด (common cold) แล้ว โรคปวดหลังจัดเป็นสาเหตุอันดับสอง
โชคดีที่คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปวดหลังสามารถหายได้เองถึง  90 %  ภายใน  6 อาทิตย์ 
โดยไม่ต้องทำการรักษา   หรือรักษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในรายที่ปวดหลัง  ซึ่งมีอาการนานมากว่า 6 – 8 อาทิตย์ มัก
จะมีการเปลี่ยนแปลงในกระดูกสันหลัง ซึ่งสมควรได้รับการตรวจจากแพทย์
เพื่อการรักษาที่เหาะสมต่อไป

เพื่อแยกโรคที่เป็นอันตรายชนิดอื่น ๆ ออกจากโรคปวดหลัง...
แพทย์จะสอบถามปัญหาต่าง ๆ เป็นต้นว่า การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของกาย
สามารถทำให้อาการปวดหายไปหรือไม่ ?    และหากมีการเคลื่อนไหวแล้ว
ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างไร ? เป็นต้น

เงือนงำบางอย่าง ที่สามารถบอกให้เราทราบถึงสาเหตุทำให้เกิดอาการ
ปวดหลังได้ โดยมีคำถามดังนี้:

 Where is the pain located?
 How Severity is the Pain
 When did the pain begin ?
 What makesyour back feel better or worse?
 Have you had a prior epidose of back pain?
 Did you have any other health problems?
 What medications did you take ?
 What do you do for your living ?

>> NEXT : continued

เมื่อท่านเป็นโรคปวดหลัง...ทำไมแพทย์จึงต้องฉีดยา ?P2 : Injection for Persistent low back pain: continued

July 16,2014

ในการฉีดยาเพื่อรักษา (injectionTherapy) อาการปวดหลังเรื้อรัง  
ไม่เหมาะกับคนที่มีโอกาสเลือดออกได้ง่าย  หรือ ในรายที่ได้รับยาต้านการจั
บตัวเป็นก้อน (anticoagulants)

นอกเหนือจากนั้น การรักษาด้วยการฉีดยา ไม่ควรกระทำในรายที่เป็นการ
อักเสบ  หรือรายทีี่เป็นมะเร็งบางชนิด เพราะสารสะเตียรอยด์สามารถทำ
ให้ระบบภูมิค้มกันอ่อนแอลงได้

การฉีดยาเข้ากระดูกสันหลัง  เพื่อลดอาการปวดหลัง  มีดังนี้:

Epidural Injection:

การฉีดสาร corticosteroids เข้าไปในบริเวณ epidural ของกระดุกสันหลัง
เป็นวิธีการหนึ่งที่มีการใช้กันบ่อยที่สุดสำหรับการรักษาด้วยการฉีดยา
(injection techniques)

วิธีการฉีดสารสะเตียรอยด์  ยาจะถูกฉีดเข้าไปใน epidural space   ซึ่งเป็นบริเวณ
ที่อยู่ะหว่างเยื่อหุ้มไขประสาท กับผิวด้านในของกระดูกสันหลัง

Facet joint:

ยารักษาจะถูกฉีดเข้าไปในข้อฟาเซท (facet joint) ที่สงสัยว่าเกิดการอักเสบ 
และเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการปวดหลัง   โดยที่ข้อดังกล่าวเป็นข้อเล็กๆ ที่อยู่ระหว่าง
กระดูกสันหลังแต่ละชิ้น (vertebae)  ซึ่งมีบทบาทในการทำให้กระดูกสันหลัง
สามารถเคลื่อนไหวในขณะที่มีการก้ม,  เงย,  และการบิดตัว

นอกจากการฉีดยาเข้าข้อฟาเซท (facet joint) เพื่อการรักษาแล้ว...
การฉีดยาเข้าไปในบริเวณดังกล่าว ยังถูกใช้เพื่อการวินิจฉัย  เพื่อหาตำแหน่งที่ทำ
ให้เกิดอาการปวดได้อีกด้วย

Nerve root:

เราจะพบรากประสาท (nerve root) ซึ่งออกจากไขประสาทตรงบริเวณ
ช่องระหว่างกระดูกสันหลัง  แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปยังเส้นประสาท
ที่คิดว่าเกิดการอักเสบ  ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

Trigger point:

Trigger point หมายถึงตำแหน่ง หรือจุดที่อยู่บริเวณกล้ามเนื้อ...เมื่อถูก “กด”
หรือถูก “สัมผัส” จะมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น และยาจะถูกฉีดเข้าจุดทีมีอาการ
เจ็บปวดดังกล่าว

ผลของการศึกษาในการฉีดยา เพื่อหวังผลในด้านการรักษา  พบว่า  ...
ประสิทธภาพจากการฉีดสารผสมของยาชา และสะเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณ
กระดูกสันหลัง   มีรายงานว่าไปกว่าการฉีดน้ำธรรมดา (placebo) 

เนื่องจากผลที่ได้จากการฉีดยา เป็นการบรรเทาอาหารปวดได้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น 
ดังนั้น จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะให้คนไข้ได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัด 
หรือเข้าโปรแกรมการบริหารร่างกาย   ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาผลที่เกิดจากความเค้น 
และความเครียดที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังได้

หมายเหตุ:
ความเค้น (stress) หมายถึงแรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่ของกระดุกสันหลัง

ความเครียด (strain) หมายถึงรูปร่างของส่วนของกระดุกสันหลังที่เปลี่ยนแปลงไป 
อันเป็นผลมาจากแรง หรือความเค้นที่มากระทำต่อหน่วยพื้นที่ของกระดูกสันหลัง

<< BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

เมื่อท่านเป็นโรคปวดหลัง...ทำไมแพทย์จึงต้องฉีดยา P 1 ? : Injection for Persistent low back pain

July 16,2014

เมื่อท่านทรมานจากอาการปวดหลังมาเป็นเวลานาน ...
สิ่งที่ท่านควรทราบเอาไว้ คือ  การรักษาภาวะดังกล่่าว  นอกจากยาเม็ดรับประทาน
แล้ว การฉี่ดยาใเข้าสู่ตำแหน่งที่เป็นต้นเหตุให้เกิดความเจ็บปวด  ก้เป็นอีกวิธีหนึ่ง

ในการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง...
สิ่งที่เราอาจได้รับ คือการบำบัดด้วยการฉีดยา (injection therapy)  ซึ่งอาจใช้ใน
รายที่อาการปวดหลังมานานเกินเดือน   โดยยาที่ท่านจะได้รับ  เป็นส่วนผสมของ
ยาชา (anaesthetic) และสารลดการอักเสบ  (corticosteroid)

เพื่อให้การฉีดยาสามารถให้ยาเข้าสู่ตรงตำแหน่งที่ต้องการ   แพทย์อาจต้องอาศัย
ภาพทางเอกซเรย์ –fluoroscopy หรือ CT scans   เพื่อช่วยบอกตำแหน่งว่า  
ปลายเข็มฉีดยาอยู่ตรงตำแหน่งที่ต้องการปล่อยยา

ตำแหน่งที่แพทย์ผู้ทำการรักษาใช้ฉิดกันเป็นประจำ ได้แก่:

 Epidural space
 Facet Joint
 Nerve root
 Trigger point

Next >> continued

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เรามไ่โอกาสทำให้เกิดโรคปวดหลังโดยไม่ตั้งใจ : Improving Posture to Prevent Back Pain

July 18, 2014

แต่ก่อนมา เราเคยเชื่อว่า การยืนตรงแบบทหารเกณฑ์- ที่มีการเชิดคาง 
 แบะหน้าอก  หลังส่วนล่างแอ่นไปทางด้านหลัง นั้น... ไม่ใช้ท่าทางที่ถูกต้อง 
เป็นท่าที่ไปเพิ่มแรงที่กระดูกสันหลัง และทำให้เกิดอาการปวด
หลังได้

ท่าที่ถูกต้อง คือเมื่อยืน หรือนั่ง เราจะต้องให้กระดูกสันหลังของเรา
มีแนวโค้งเว้า (curve) เป็นไปตามธรรมชาติ โดยจากกระดูกสันหลังส่วนคอถึง
ถึงกระดุูกระดับเอวมีลักษณะโค้งเว้าเหมือนตัว S

จากการวางท่าไม่ถูกต้องจนเป็นนิสัยที่ไม่ดี, ได้รับบาดเจ็บมาก่อน , หรือใส่รอง
เท้าที่ไม่เหมาะสม  ต่างสามารถทำให้แนวของกระดูกสันหลังผิดรูปไป
ซึ่งหมายความว่า รูปทรงของกระดุูกสันหลังจะไม่เป็นรูปตัว S

เมื่อกระดูกสันหลังอยู่ในท่าไม่เป็นธรรมชาติ  (poor posture) สามารถก่อให้
เกิดความเครียด (strain)ขึ้นกับกล้ามเนื้อ และเยื้อพังผืด  เป็นเหตุให้เพิ่มความ
เสี่ยงให้เส้นประสาทถูกบีบหรืออัด (nerve compression) ได้

วิธีง่ายๆ สำหรับการตรวจดูว่า   ในขณะยืนขึ้น  ท่าของเรา (posture) เป็นท่าที่
ปกติดีหรือไม่   ให้ยืนหันข้างเข้าหากระจกบานใหญ่   โดยให้คางขนานกับพื้น

ท่าทีเป็นปกติจะต้องเป็นอย่างนี้:
เส้นดิงที่ลากจากติ่งหู...ผ่านหน้าอกหน้าต่อไหล่ทั้งสอง ->.ผ่านกึ่งกลางข้อสะโพก...
-->ผ่านไปยังด้านหลังของกระดูกสะบ้า. _>ผ่านไปยังกระดูกข้อเท้า...

หรือ
ให้ยืนหันด้านหลังของลำตัวติดกำแพง โดยให้ซ่นเท้าของท่านชิดกับผนัง
ถ้าท้ายทอย, ไหล่ทั้งสอง, บั้นท้าย (แก้มก้น) และน่องของท่านแตะผนัง.... ถ้าท่าน
สามารถสอดมือของท่านผ่านช่องที่อยู่ระหว่างผนังผละหลังส่วนล่างได้....แสดงว่า
กระดุกสันหลังอยู่ในท่าดี(good posture) เป็นท่าที่ถูกต้องตามธรรมชาติ

การตรวจดูท่าของท่านในขณะนั่งว่า  เป็นท่าที่ดี  หรือถูกต้องหรือไม่...
ให้นั่งบนเก้าอี้ที่มีที่ไม่มีที่วางแขน (armless chair) หันด้านข้างเข้าหา
บานกระจกใบใหญ่   ถ้าเส้นดิ่งจาก “ติ่งหู” ผ่านหน้าอกไปยังจุดกึ่งกลางของข้อ
สะโพก... นั้นคือท่าที่ถูกต้อง

การปล่อยลำตัวงอ โดยมีไหล่ทั้งสองของท่านยื่นไปทางด้านหน้าลำตัว  เป็นเหตุ
ทำให้เกิดหลังโกง (kyphosis) สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
หากเป็นน้อย (Mild) สามารถแก้ไขได้ด้วยการบริหาร 
 หากเป็นมาก (severe) อาจจำเป็นต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด

ท่าทางในการทรงตัว (posture) มีความแตกต่างกันตามอายุ...
ในขณะที่คนเราแก่ตัวขึ้น และความสูงจะลดลง เพราะการเปลี่ยนแปลง
ของหมอนกระดูก ส่วนโค้งเว้าของกระดูกสันหลังส่วนล่างมีแนวโน้มที่จะตรงขึ้น 
เป็นเหตุให้ลำตัวส่วนบนโน้มไม่ทางด้านหน้า...ซึ่งถือเป็นปกติ

โดยสรุป...
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลัง  สิ่งแรกที่เราสามารถกระทำได้
คือ ปรับปรุงท่าทางของท่านให้ดี ไม่ว่าท่านจะอยู่ในท่าใด  นั่ง  เดิน  หรือเคลื่อนไหว
อย่าปล่อยให้หลังของท่านโค้งงอผิดรูป (bad posture) เป็นอันขาด

ข้อเตือนใจ...
ก่อนออกจากบ้าน ให้คิดในใจเสมอว่า ท่าทางของท่าน  ซึ่งเราหมายถึงแนวของกระ
ดูกสันหลังต้องเป็นธรรมชาติ โดยให้นึกถึงภาพของท่านในขณะยืนชิดผนัง โดยให้
ด้านหลังของศีรษะ (ท้ายทอย) ไหล่ทั้งสอง, สะโพก และน่องชิดผนัง และท่านสามารถ
สอดมือผ่านบั้นเอวได้....และ

ในทุกครั้งที่ท่านนั่ง  หรือเดิน  ให้นึกไว้ในใจเสมอว่า ลำตัวของท่านจะอยู่ในลักษณะ
เช่นที่กล่าวมาโดยตลอด   ถ้าท่านทำได้  ไม่เพียงแต่ทำให้บุคลิกภาพของท่านดีแล้ว
ยังทำให้ไม่เกิดอาการปวดหลังได้อีกด้วย


johnshopkinshealthalerts