July 18,2014
กระดูกต้นคอ (Cervical spine)...
มีโอกาสเกิดโรคหลายอย่างคล้าย ๆ กับกระดูกสันหลังส่วนล่าง เป็นต้นว่า
กล้ามเนื้อฉีกขาด (muscle strains), กล้ามเนื้อปั้นหดเกร็ง (spasms)
โรคหมอนกระดูกเสื่อม (disc degneration) และเส้นประสาทถูกทำลาย
(denervation), ช่องกระดูกสันหลังตีแคบ (spinal stenosis)
มีรายงานว่า มีคนประมาณ 10 – 15 % มีโอกาสเกิดอาการปวดคอ โดยเกิดขึ้น
ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดต้นคอจะปรากฏ
ในระยะสั้น ๆ และหายได้เอง หรือหายโดยการดูแลตนเอง...
มีบางรายอาจมีอาการรุนแรง ถึงขั้นไต้องไปพบแพทย์เพื่อการรักษา
ผลจากการศึกษาของ Health and Qualityl of Life Outcomes (Volume 8,
Page 46) ได้ชี้แนะให้เห็นความสำคัญของการบริหารกล้ามเนื้อคอให้
แข็งแรง (strength trainig) สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่
ทรมานจากอาการปวดคออย่างต่อเนื่อง
นักวิจัยได้ทำการศึกษาในสตรีจำนวน 180 รายที่เป็นโรคปวดต้นคอ
เรื้อรัง ซึ่งเข้าร่วมโครงการฝึกกล้ามเนื้อต้นคอให้แข็งแรง (strength
Training program) อาทิตย์ละสามคร้งเป็นเวลาหนึ่งปี
ผู้เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม:
Strength-training group โดยให้ทำการบริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงด้วย
การให้ศีรษะดันมือ โดให้คออยู่กับที่ – ไม่ต้องมีเคลือนไหวต้นคอ (isometric)
Endurance-training group เป็นการบริหารกล้ามเนื้อด้วยวิธีการให้คอเคลื่อน
โด มีเป้าหมา ให้เกิดความทนทาน (isotonic)
ผลจากการศึกษาพบว่า ในสตรีที่ทำการบริหารกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่ม ปรากฏว่า
มีคุณภาพดีกว่าระดับพื้นฐาน แต่ในรายที่ได้ทำการฝึกตามแบบ strength
Training จะได้ผลดีที่สุด ส่วนสตรีที่ทำการฝึกตามแบบที่มีการเคลื่อนไหว
คอ (neck-stretching) จะได้ผลต่ำกว่ากลุ่มแรก
โดยสรุป ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอเป็น
ประจำ อาจช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ปวดคอเรื้อรังดีขึ้น...
.johnshopkinshealthalerts.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น