July 19,2014
ช่วงหนึ่งของชีวิต...
เราจะพบว่า ประมาณ 10% ของประชาชนจะเกิดอาการปวดหลังจาก
หมอนกระดุูกแตก ( herniated disk ) ซึ่งเราหมายถึง ส่วนกลางของหมอน
กระดูก โดยถูกบีบให้หลุดผ่านชั้นของเยื่อพังผืดที่มีรอยแตกออกมา...
และนั้นแหละ คือต้นเหตุของปัญหา...
ความจริงมีว่า...
หมอนกระดูก (disk) จะทำหน้าที่พยุง (support) น้ำหนักตัว
เมื่อเวลาผ่านไปเยื้อพังผืดที่ห่อหุ้มหมอนกระดูกจะเกิดความเสื่อม สึกหรอ
และเกิดรอยฉีกขาดในระดับ ไมโครฯ ในขณะเดียวกัน น้ำที่เป็นส่วนประกอบ
ของหมอนกระดูกก็จะค่อยๆ หายไป ทำให้หมอนกระดูกเกิดแห้งลงเรื่อยๆ
เป็นเหตุให้หมอนกระดูกถูกดันให้ “ปูด” ออกมาทางด้านนอกได้
โดยผ่านบริเวณที่มีความอ่อนแอ
Symptoms :
หมอนกระดูกที่บริเวณกระดุกสันหลังส่วนล่างแตก เมื่อหลุดออกมาทางด้าน
นอกพังผืดที่ทำหน้าที่หุ้ม ไปกดเส้นรกประสาทเข้า ไม่เพียงแต่ทำให้เกิด
อาการปวดหลัง แต่มันยังทำให้เกิดอาการปวดในบริเวณของร่างกายที่ถูก
หล่อเลี้ยงโดยเส้นประสาที่ถูกกดอีกด้วย นั้นคือ มีอาการปวดร้าวไปยังสะโพก
และบริเวณขา
ตำแหน่งของหมอนกระดูกที่แตก จะพบได้มากสุดในระดับล่างสุดสองระดับ
โดยพบได้ประมาณ 90 – 95 % ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับน้ำหนักมากที่สุด
จากอาการที่ปรากฏ เราสามารถบอกได้ว่า ตำแหน่งของรอยโรคเกิดที่ตำ
แหน่งใด ยกตัวอย่าง หมอนกระดูกแตกที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง
(lumbar disc) จะทำให้เกิดมีอาการปวด, ชา, หรืออ่อนแรงที่ขาด้านใดด้านหนึ่ง
อาการปวดอันเกิดจากหมอนกระดูกแตก มักจะปรากฏอย่างฉับพลัน หรืออาจ
เริ่มต้นด้วยอาการเสียวแปล๊บ หรือเหมือนถูกเข็มทิ่มตำก่อนที่จะมีอาการปวด
อย่างรุนแรง
ในบางรายอาการปวดที่บริเวณหลังอาจลดลง พร้อมกับอาการปวด, ชา,
และมีอาการอ่อนแรงที่บริเวณที่บริเวณขาด้านใดด้านหนึ่งเพิมึ้น
ตามเป็นจริง หมอนกระดูกที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง มักจะทำให้
เกิดอาการปวดร้าวไปยังขา
johnshopkinshealthalerts.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น