วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หยุดยาอย่างไร...ไม่ให้เป็นภัย P 24: A General guide to tapering medicine – Antiparkinson agents

June 29, 2014

ในคนไข้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน...
เราจะพบว่า คนไข้ส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อยา levodopa และ
ผลการใช้ยาดังกล่าว จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น

หลังจากการรักษาด้วยยาประมาณ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เราจะพบว่า
ประโยชน์ที่ได้จากยาจะลดลง ขณะเดียวกันโรคก็จะพัฒนาเปลี่ยน
แปลงไปในทางที่เลวลง พร้อมๆ กับมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

ในการใช้ยา levodopa จะถุูกจำกัดโดยภาวะแทรกซ้อนทางการเคลื่อน
ไหว (motor complications) และมีการเคลื่อนไหวโดยไม่สามารถ
ควบคุมได้ เรียก “dyskinesias”

หากเราลดยารักษาโรคพารกินสันอย่างแบบพลัน ...
คนไข้จะเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง,ไข้สูง ความดัน และชีพจรขึ้นๆ
ลง ๆ ตรวจเลือดจะพบ creatinine ในเลือดสูงมาก เราเรียกกลุ่ม
อาการดังกล่าวว่า neuroleptic malignant syndroms

แนวทางการหยุดยา...
ยาที่ใช้ในคนไข้พาร์กินสัน ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะมีความเสี่ยง
ต่อการเกิด neuroleptic malignant syndrome (small risk)

ขนาดของยาควรลดอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 4 อาทิตย์
เช่นยา Sinemt CR อาจให้ครั้งละครึ่งเม็ดได้

ผลข้างเคียงอันเกิดจากการหยุดยา (withdrawal effects):
ผลการหยุดยารักษาโรคพาร์กินสัน จะเกิดผลข้างเคียงด้วยการเกิด
ความดันลดต่ำ, โรคประสาท, เกิดลิ่มเลือดในปอด (pulmonery embolism), 
กล้าเนื้อแข็งเกร็ง (rigidity), สั่น (tremor), กลุ่มอาการ Neuroleptic 
malignant syndrome (ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง, ไข้สูง, หัวใจ
เต้นเร็ว, หายใจเร็ว, มีเหงือออกมากขึ้น, และ,มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพจิต

<< BACK

www.bpac.org.nz

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น