วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จะหยุด (ยา) อย่างไรไม่ให้เกิดอันตราย...P11: How to stop medicine ?

June 26, 2014
ในการหยุดยารักษาโรคที่ปลอดภัย คือการปฏิบัติการที่ละขั้น...  
โดยมีกระบวนการณ์ที่สำคัญ 4 อย่าง ดังนี้:

1. รู้ว่ามีความจำเป็น หรือมีความต้องการหยุดยา
2. ลด หรือหยุดยาเพียงหนึ่งขนานในแต่ละครั้ง
3. ให้พิจารณาว่า ยาสามารถหยุดได้ทันที หรือหยุดโดยวิธีลดขนาดลง
    ที่ละขั้น
4. ตรวจสอบดูผลดี (benefit) หรือผลเสีย (harm) หลังจากหยุดยาแต่ละ
   ขนาน

รู้ว่ามีความจำเป็น หรือมีความต้องกายหยุดยา

 (Recognise the need to stop a medicine)

ทุกครั้งที่มีการนัดพบคนไข้ เพื่อการรักษาต่อเนื่อง...
สิ่งที่แพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องพิจารณา ได้แก่:
:

o คนไข้มีอาการผิดปกติอย่างใดหรือไม่ เช่น อาการอันไม่พึงประสงค์
(side effects) หรือ มีความกังวลใจอะไรเกี่ยวกับยารักษาที่เขาได้รับ

o ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

o ความชอบ หรือความพิงพอใจของคนไข้

o มียาตัวใหนบ้างที่สามารถให้คนไข้หยุด (กิน) ได้ ถ้าปรากฏว่ามียามาก
กว่าหนึ่งขนาน...ต้องพิจารณาต่อว่าจะหยุดตัวใดก่อน โดยอาศัยปัจจัย
ต่าง ๆ เช่น ยาที่มีโอกาสทำให้เกิดข้างเคียงได้สูง  หรือไม่มีข้อชี้บ่งที่ชัด
ว่า สมควรได้รับยาตัวนั้น ๆ

ในแต่ละครั้ง...ให้ลด หรือหยุดยาที่ละขนาน 
(Reduce or stop one medicine at a time):

การให้หยุดยาทีละขนานในแต่ละครั้ง  จะปฏิบัติได้ง่าย   เพราะหากมีปัญหา
อะไรเกิดขึ้น  จะทำให้เราสามารถทราบได้ว่า อะไร คือสาเหตุที่ทำให้เกิด
ปัญหา (อาการ) นั้น ๆ

หยุดยาด้วยวิธีการลดขนาดที่ละขั้นเป็นระยะ ๆ
(Taper medicines when appropriate)

เพื่อความเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ปรากฏว่ามียาหลาย
ขนาน   ซึ่งเราสามารถลดขนาด (taper...)  แต่เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า
ยาชนิดใดควรหยุดได้เลย   หรือตัวใหนควรค่อยหยุดด้วยการลดขนาด
ของยาลง   ในกรณีที่งสงสัย ควรหยุดแบบค่อย ๆ ลดขนาดของยา

มียาหลายชนิด...เริ่มต้นด้วยการลดยาลงครึ่งหนึ่ง
หลังจากนั้นให้ค่อยๆ ลดขนาดของยาลง จนกระทั้งถึงระดับที่คนไข้
ได้รับยาที่มีขนาดน้อยที่สุด หรือสามารถหยุดยาได้โดยสิ้นเชิง

โดยทั่วไป เราจะใช้เวลาในการลดขนาดของยา (taper)
แต่ในกรณีของยาที่ใช้ เกิดเป็นพิษ (toxicity) การลดขนาดของยาอาจต้อง
กระทำด้วยความเร่งรีบ  หรือหยุดยาอย่างฉับพลัน

เมื่อเริ่มลดขนาดของยา...
ให้สังเกตุว่า  มีอาการอะไรเกิดขึ้น  ซึ่งอาจเป็นตัวชี้บอกให้ทราบว่า  ควรทำ
การลดขนาดของยาลงอย่างช้า ๆ  เช่น การลดขนาดของยา PPI ในการ
รักษาอาการแน่นท้อง -  dyspepsia  เป็นต้น

ในกรณีที่เกิดมีอาการหลังการหยุดยา  คนไข้ไม่สามารถทนต่ออาการที่เกิด
ขึ้นได้    ในกรณีเช่นนี้อาจจำเป็นต้องหันกลับไปใช้ (กิน) ยาเหมือนเดิม 
 และหลังจากนั้น  ให้เริ่มลดขนาดยาใหม่...แต่กระทำอย่างช้า ๆ

ตรวจสอบผลดี (benefit) ผลเสีย (harm) หลังการหยุดยา:

ให้สังเกตุถึงการเปลี่ยนแปลงหลังการหยุดยา   หากปรากฏว่าไม่มีผลเสียใด ๆ  
แสดงว่าการหยุดยานั้นกระทำได้ถูกต้องแล้ว   ยกตัวอย่าง การหยุดยารักษา
โรคกระดูกพรุนด้วยา   bisphosphonate   ซึ่งได้รับการรักษามาเป็นเวลานาน 5 ปี 
ปรากฏว่า มีการลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดุูกแตกหักได้อีก 5 ปี เป็นต้น

หลังการหยุดยา  ถ้าปรากฏว่า  อาการเดิมกลับปรากฏขึ้นทั้งๆ ที่เป็นการหยุดยา
แบบค่อยๆ ลดขนาดของยาลง...  กรณีเช่นนี้อาจบอกให้ทราบว่า คนไข้ไม่
สามารถหยุดยาตัวดังกล่าวได้โดยสิ้นเชิง   ดังตัวอย่าง  คนไข้ต้องกินยา PPI 
ในขนาด 10 mg แทนที่จะเป็น 20 mg


<<BACK      NEXT> > P12 A general guide to tapering medicines

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น