วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคกระดุกพรุน กับการออกกำลังกาย :Is It Safe To Exercise With Osteoporosis?

July 20, 2014

สำหรับท่านที่สนใจในการเรียนรู้เรื่องการป้องกัน, วินิจฉัย,   และการรักษา
โรคกระดุกพรุน (osteoorosis) จะต้องทราบ...

เป้าหมายของการป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน คือ ช่วยป้องกันไม่ให้
เกิดกระดูกแตกหัก และเกิดอาการปวดหลัง  โดยเฉพาะในช่วงหลังของอายุขัย

ในการป้องกันดังกล่าว มีแนวทางให้ปฏิบัติ 3 แนงทางด้วยกัน  

1. ออกกำลังกาย (exercise)
2. รับอาหารทีมีคุณภาพเหมาะสม และ (proper diet)
3. ใช้ยารัษา (medication)
         
ปัญหาที่ชอบถามกัน คือ เมื่อเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว การออกกำลัง
กายยังปลอดภัยดีอยู่หรือ ?

จาก Johns Hop[kins ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า
แม้ว่าท่านจะมีโรค หรือเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วก็ตาม ท่านต้องออกกำลังกาย
ให้มากเข้าไว้ จะดีกว่าไม่ออกกำลังกาย

จากการออกกำลังกาย จะทำให้กระดูกตอบสนองต่อแรงที่มากระทำต่อกระดูก
สันหลังด้วยการเพิ่มมวลกระดุกให้ัมากขึ้น

ในกรณีที่ท่านเป็นโรคกระดุกพรุน...
เพื่อเป็นการสร้างมวลกระดูกให้เพิ่มขึ้น ท่านามารกระทำได้ด้วยการออก
กลังกายระดับพอประมาณ(moderate exercise) อย่างน้อย 6 เดือน
หากท่านหยุดออกกำลังกาย ความหนาแน่นของกระดูกก็จะหายไป

ในการออกำลังกายเพื่อเป้าหมายในการสร้างมวลกระดูก ประกอบด้วยการ
บริหารร่างกายด้วยการลงน้ำหนัก (weight-bearing exercice) เช่น เดิน (walking),
จอกกี่ง (jogging), การเต้นรำ (dancing), ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อทำให้
เกิดความแข็งแรง (strength training) เช่น ยกน้ำหนัก (lightweight Dumbbells), 
หรือใช้แผ่นยางต้านแรง ( resistant bands)

ในกรณีที่ท่านมีสภาพร่างกายอ่อนแอ  หรือมีกระดูกแตกหักอยูแล้ว ท่านควรปรึก
ษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด..ซึ่งเขาจะเป็นแนะนำวิธีการออกกำลังที่เหมาะสม
ให้แก่ท่านได้   ข้อสำคัญ. อย่าออกแรงมากไป  ให้หลีกเลี่ยงการบิดเอว (twisting), 
เวลาก้มอย่าให้งอที่ข้อสะโพก  แต่ให้งอดที่ข้อเข่าแทน

www.johnshopkinshealthalerts.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น