วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวทางเฉพาะในการหยุดยารักษา P 16 : Guidance for stopping medicine: Antihypertensives

June 28,2014

ยารักษาโรคความดันโลหิต มีโอกาสที่จะเกิดอาการถอนยาได้บ่อยที่สุด
โดยเฉพาะเมื่อมีการหยุดยาอย่างฉับพลัน อาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดมี
ความดันโลหิตปรากฏขึ้นมาได้อีก, หัวใจเต้นเร็ว  หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ,
หรือกระทั้งเกิดเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือด 

อาการอันเกิดหลังการหยุดยา สามารถทำให้โรคที่มีอยู่แล้วเลวลงได้
และเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว  เราจำเป็นต้องลดขนาดยาอย่างช้า ๆ 

แนวทางทั่วไปในการหยุดยาลดความดันโลหิต:
ยาลดความดันโลหิตทุกตัว  ควรหยุดยาด้วยการลดชนาดองยาให้ตำลง
ทุกเดือนโดยเฉลี่ย ต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือนกว่าจะหยุดยาได้
โดยสิ้นเชิง

ผลของการหยุดยา มีความแตกต่างกัน  โดยขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้ 
และภาวะของโรคที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น   ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ 
เช่น อาการบวมที่ข้อเท้า, น้ำหนักเกิน,ปวดศีรษะ, หัวใจเต้นเร็ว, 
ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น, หัวล้มเหลว หรือเจ็บหน้าอก 
 และกล้ามเนื้อตายจากการชาดเลือด

แนวทางในการหยุดยาความดันโลหิตในแต่ละชนิด:

 Beta Blockers:
การหยุดยา จำเป็นต้องค่อยๆลดลง เพื่อหลีกเลี่ยไม่ให้เกิดอาการหลังถอนยา
 ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกเลวลง

 Calciumchannel blockers:
การหยุดยาต้องค่อย ๆ ลดขนาดของยา และหากลดทันทีอาจทำให้เกิดเจ็บหน้า
อกขึ้นมากอีก ( exacerbate angina)

 Thiazides:
ในการหยุดยากลุ่ม diuretics การตัดขนาดของยาอาจไม่เหมาะในด้านปฏิบัติ 
 แต่อาจหยุดยาได้เลย หรือเปล่ียนเป็นยาตัวอื่นแทน
การหยุดยา อาจทำให้อาการเดิมกลับคืนมาได้อีก

 Angiotensin-converting enzyme inhibitors:
ให้พิจารณาหยุดยาด้วยการลดขนาดของยาลงอย่างช้าๆ
อาการถอนยาที่พบเห็น  ได้แก่อาการเดิมปรากฏขึ้น

<< BACK         NEXT >> P 17: Most Dangerous High Blood Pressure meds : Diuretics

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น