วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคกระดูกบาง (Osteopenia) : When Should You Treat Osteopenia?

July 21, 2014

ถ้าท่านเป็นโรคกระดูกบาง. (Osteopenia)
มันหมายความว่า ท่านมีโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในภายหลัง 
จึงเป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจกับเรื่องดังกล่าว...

ถ้าท่านเคยได้รับการตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD)
ท่านอาจได้รับทราบถึงค่าของ T score มาบ้างแล้วว่า
ถ้าค่า Tscore มีค่า -1 หรือสูงกว่า มันหมายความว่า ความหนาแนน
ของมวลกระดูก (BMD) มีค่าปกติ  ไม่เป็นโรค...

ถ้าค่าของ T score อ่านได้ -2 หรือน้อยว่า
มวลกระดูกของท่านบอกให้ทราบวว่า ท่านเป็นโรคกระดูกพรุน
(osteoporosis)

ถ้าค่าของ T score อยู่ระหว่าง -1 และ 2.5  
มันบงบอกให้ทราบว่า ท่านเป็นโรคกระดูกบาง (osteopenai)--ยังไม่เป็น
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) และไม่ใช้กระดูกที่มีความหนาแน่นปกติ

คำถามมีว่า...
ภายใต้ภาวะกระดูกบาง (osteopenia)...มีอันตรายหรือไม่ ?

ตามเป็นจริง กระดูกบาง (osteopenia) โดยตัวของมันเองไม่ใช้โรคเหมือน
กับโรคกระดูกพรุน มันพียงบ่งบอกว่า ความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำกว่า
ปกติเท่านั้น  และมันสามารถกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในตอนหลัง
หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหักได้

ปัญหาที่ควรพิจารณา คือ ถ้ากระดูกของท่านเป็นกระดูกบาง (osteopenia)
ท่านควรได้รับการรักษาด้วยยา  เพื่อทำให้กระดูกของท่านแข็งแรงชึ้นหรือไม่
 (bone-building medications)

การรักษาภาวะกระดูกบาง น่าจะสมเหตุสมผล
เพราะโรคกระดูกพรุนจะไม่เกิดในชั่วข้ามคืน และคนที่กระดูกบางอาจเป็น
โรคกระดูกพรุนเมื่อใดก็ได้  แต่ไม่ได้หมายความว่า  การที่กระดูกของท่านจะ
ต้องเปลี่ยนไปเป็นโรคกระดูกพรุนเสมอไป

จากเหตุผลดังกล่าว...
การใช้ยา bisophosphonates หรือสารทำหน้าที่สร้างมวลกระดูก
(bone-building medications) อาจนำมาใช้รักษาภาวะกระดูกบางได้
เพราะหากไม่รักษา มันอาจเปลี่ยนเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในภายหลัง

มีแพทย์บางท่านเห็นว่า  การรักษาภาวะกระดูกบาง (osteopenia) นั้น
เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลมากกว่าที่จะป้องกันไม่ให้เกิด
กระดูกแตกหัก   แต่ก็มีแพทย์หลายคนมีความคิดเห็นขั้ดแย้งกับความคิดเห็น
ดังกล่าว  โดยเชื่อว่า ภาวะกระดูกบางอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา

ไม่ว่าท่านจะรักษาภาวะกระดูกบาง (osteopenia) ด้วยยาหรือไม่...
สิ่งสำคัญที่ท่านจะต้องกระทำ คือ การรักษานั้นจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆ
ไป   โดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น เป็นคนสูงอายุ, 
คนที่มีไม่ค่อยออกกำลังกาย,  เป็นโรคเรื้อรัง   หรือใช้สารสะเตียรอยด์ติดต่อกัน
เป็นเวลานาน...

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด เป็นความีับผิดชอบของเราเอง
ที่จะต้องทำให้กระดูกของเราอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ --แข็งแรง โดยการ
ออกกำลังด้วยการลงน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ (wight-bearing) การเดิน, จอกกิ่ง..., 
ได้รับไวตามิน Dและแคลเซี่มในปริมาณที่เพียงพอ, และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่, 
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ดื่มกาแฟ เป็นต้น

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/back_pain_osteoporosis/
JohnsHopkinsBackPainOsteoporosisHealth_1051-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น