July 20, 2014
เมื่อหมอนกระดูกสันหลังระดับล่างเกิดแตก (herniated disk)...
มีคำถามว่า....ควรได้รับการรักษาแบบใดดี ระหว่างผ่าตัด (surgery)
และรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด (non-surgical) ?
ความจริงมีว่า...
ในช่วงหนึ่งของชีวิต คนเรามีโอกาสเกิดมีอาการปวดหลังจากหมอนกระดูก
แตกได้ประมาณ 10 % โดยหมอนกระดูกทีแตกมีการเลื่อนหลุดไปกดทับเส้น
ประสาทเข้า ทำให้เกิดมีอาการปวดหลัง และปวดร้าวไปยังสะโพ และขา...
มีนางคนโชคร้ายหน่อย หมอนกระดูกที่แตกเคลื่อนหลุดไปกดไขประสาท
(spinal cord) หรือกดทับกลุ่มของประสาทที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม (cauda equina)
ซึ่งทำให้เกิดอาการไม่เพียงแต่อาการปวดหลัง แต่ทำให้เกิดอาการอย่างอ่ื่น
ด้วย เช่น แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระ
ได้
ถ้าท่านทีมีอาการปวดหลัง และขาอันเนื่องมาจากเหมอนกระดูกสันหลังส่วนล่าง
แตก (herniated disk) โดยเป็นมานานเกิน 6 อาทิตย์ ท่านอาจจำเป็นต้องได้รับ
การผ่าตัด (ตามคำแนะนำที่ได้จากการศึกษา ซึ่งลงตีพิมพ์ในวารสาร The Spine
(Volume 33, page 428)
ข้อสรุปดังกล่าว เป็นผลจากการศึกษาในคนไข้จำนวน 1,244 ราย ที่เป็นโรค
หมอนกระดูกแตก (herniated disk) อย่างน้อย 6 อาทิตย์ก่อนได้รับการผ่าตัดเอา
หมอนกระดูกแนกออก (discectomy) หรือทำการรักษาด้วยยา และการบริหารร่างกาย
ผลจากการศึกษาด้วยการติดตามผลเป็นเวลา 2 ปี...
มีคนไข้จำนวน 775 ราย ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด (surgical Rx)
และอีก 416 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ, กายภาพบำบัด (non surgical)
ผลปรากฏวา จากการรักษาท้งสองวิธี อาการปวดปวดขาจะดีกว่าอาการปวดหลัง
กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด (surgical) จะได้รับผลจากการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด 28 %
ส่วนพวกที่ไม่ได้รับการผ่าตัด (non-surgical) จะได้รับผลดีเพียง 18 %
โดยสรุป...
ถ้าท่านมีอาการปวดหลัง ปวดขาจากหมอนกระดุกแตก siciatica)
ซึ่งได้รับการยืนยันโดยเอกซเรย์ การรัษาด้วยการผ่าตัดจะดีกว่าการรักษาโดย
ไม่ต้องผ่าตัด
.johnshopkinshealthalerts.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น