วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านเป็นโรคปวดหลัง...ทำไมแพทย์จึงต้องฉีดยา ?P2 : Injection for Persistent low back pain: continued

July 16,2014

ในการฉีดยาเพื่อรักษา (injectionTherapy) อาการปวดหลังเรื้อรัง  
ไม่เหมาะกับคนที่มีโอกาสเลือดออกได้ง่าย  หรือ ในรายที่ได้รับยาต้านการจั
บตัวเป็นก้อน (anticoagulants)

นอกเหนือจากนั้น การรักษาด้วยการฉีดยา ไม่ควรกระทำในรายที่เป็นการ
อักเสบ  หรือรายทีี่เป็นมะเร็งบางชนิด เพราะสารสะเตียรอยด์สามารถทำ
ให้ระบบภูมิค้มกันอ่อนแอลงได้

การฉีดยาเข้ากระดูกสันหลัง  เพื่อลดอาการปวดหลัง  มีดังนี้:

Epidural Injection:

การฉีดสาร corticosteroids เข้าไปในบริเวณ epidural ของกระดุกสันหลัง
เป็นวิธีการหนึ่งที่มีการใช้กันบ่อยที่สุดสำหรับการรักษาด้วยการฉีดยา
(injection techniques)

วิธีการฉีดสารสะเตียรอยด์  ยาจะถูกฉีดเข้าไปใน epidural space   ซึ่งเป็นบริเวณ
ที่อยู่ะหว่างเยื่อหุ้มไขประสาท กับผิวด้านในของกระดูกสันหลัง

Facet joint:

ยารักษาจะถูกฉีดเข้าไปในข้อฟาเซท (facet joint) ที่สงสัยว่าเกิดการอักเสบ 
และเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการปวดหลัง   โดยที่ข้อดังกล่าวเป็นข้อเล็กๆ ที่อยู่ระหว่าง
กระดูกสันหลังแต่ละชิ้น (vertebae)  ซึ่งมีบทบาทในการทำให้กระดูกสันหลัง
สามารถเคลื่อนไหวในขณะที่มีการก้ม,  เงย,  และการบิดตัว

นอกจากการฉีดยาเข้าข้อฟาเซท (facet joint) เพื่อการรักษาแล้ว...
การฉีดยาเข้าไปในบริเวณดังกล่าว ยังถูกใช้เพื่อการวินิจฉัย  เพื่อหาตำแหน่งที่ทำ
ให้เกิดอาการปวดได้อีกด้วย

Nerve root:

เราจะพบรากประสาท (nerve root) ซึ่งออกจากไขประสาทตรงบริเวณ
ช่องระหว่างกระดูกสันหลัง  แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปยังเส้นประสาท
ที่คิดว่าเกิดการอักเสบ  ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

Trigger point:

Trigger point หมายถึงตำแหน่ง หรือจุดที่อยู่บริเวณกล้ามเนื้อ...เมื่อถูก “กด”
หรือถูก “สัมผัส” จะมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น และยาจะถูกฉีดเข้าจุดทีมีอาการ
เจ็บปวดดังกล่าว

ผลของการศึกษาในการฉีดยา เพื่อหวังผลในด้านการรักษา  พบว่า  ...
ประสิทธภาพจากการฉีดสารผสมของยาชา และสะเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณ
กระดูกสันหลัง   มีรายงานว่าไปกว่าการฉีดน้ำธรรมดา (placebo) 

เนื่องจากผลที่ได้จากการฉีดยา เป็นการบรรเทาอาหารปวดได้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น 
ดังนั้น จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะให้คนไข้ได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัด 
หรือเข้าโปรแกรมการบริหารร่างกาย   ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาผลที่เกิดจากความเค้น 
และความเครียดที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังได้

หมายเหตุ:
ความเค้น (stress) หมายถึงแรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่ของกระดุกสันหลัง

ความเครียด (strain) หมายถึงรูปร่างของส่วนของกระดุกสันหลังที่เปลี่ยนแปลงไป 
อันเป็นผลมาจากแรง หรือความเค้นที่มากระทำต่อหน่วยพื้นที่ของกระดูกสันหลัง

<< BACK

www.johnshopkinshealthalerts.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น